Effect of substitution of dietary fish meal and soybean meal by fermented soybean meal on growth performance, and the occurrence of aggregated, transformed microvilli (ATM) in Pacific white shrimp (Litopenaeus vannamei)
Abstract:
การใช้กากถั่วเหลืองหมักทดแทนปลาป่น และกากถั่วเหลืองในอาหารกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei) ในห้องปฏิบัติการ โดยใช้กุ้งขาวระยะโพสลาร์วา 12 เลี้ยงในถังไฟเบอร์กลาสที่ความหนาแน่น 60 ตัว/ถัง แบ่งการทดลองเป็น 8 กลุ่ม (กลุ่มละ 4 ซ้ำ) ได้แก่ กลุ่มที่ใช้ปลาป่น 20% (กลุ่มควบคุมเชิงบวก) กลุ่มที่ใช้กากถั่วเหลืองทดแทนปลาป่นที่ระดับ 15%, 20%, 25% และ 100% (กลุ่มควบคุมเชิงลบ) กลุ่มที่ใช้กากถั่วเหลืองหมักทดแทนปลาป่นที่ระดับ 15%, 20% และ 25% เลี้ยงกุ้งเป็นเวลา 60 วัน ผลการศึกษาพบว่ากุ้งที่เลี้ยงด้วยกากถั่วเหลืองหมัก 25% มีอัตราการรอดตายหลังจากทดสอบด้วยเชื้อ V. parahaemolyticus ที่เป็นสาเหตุของโรคขี้ขาว และการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันสูงกว่ากลุ่มการทดลองอื่นอย่างมีนัยสำคัญ (P <0.05) ได้แก่ ปริมาณเม็ดเลือดรวม กิจกรรมการกลืนกินสิ่งแปลกปลอม เอนไซม์ prophenol oxidase และsuperoxide dismutase จากผลการศึกษาจึงเลือกสูตรกากถั่วเหลืองหมัก 25% เพื่อศึกษาต่อในระดับฟาร์ม การศึกษาในระดับฟาร์มศึกษาในพื้นที่ความเค็มต่ำ (จังหวัดราชบุรี) และพื้นที่ความเค็มปกติ (จังหวัดระยอง) แบ่งกลุ่มการทดลองเป็น 2 กลุ่ม (กลุ่มละ 4 ซ้ำ) ได้แก่ กลุ่มที่กุ้งได้รับอาหารเม็ดสำเร็จรูป โปรตีน 38% (กลุ่มควบคุม) และกลุ่มที่ได้รับกากถั่วเหลืองหมัก 25% ทำการศึกษาเป็นเวลา 20 วัน ผลการศึกษาพื้นที่ความเค็มต่ำพบว่ากุ้งที่เลี้ยงด้วยกากถั่วเหลืองหมัก 25% มีน้ำหนักเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (P <0.05) มีประสิทธิภาพการใช้อาหาร และมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่สูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม การศึกษาทางพยาธิสภาพของตับกุ้ง พบว่ากุ้งในกลุ่มที่ได้รับกากถั่วเหลืองหมัก 25% มีความสมบูรณ์ของเซลล์ตับดีกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ในขณะที่พื้นที่ความเค็มปกตินั้นให้ผลการทดลองที่แตกต่างออกไป เนื่องจากฟาร์มมีการระบาดของโรคขี้ขาวมาก่อน ดังนั้นผลจึงไม่มีความแตกต่างระหว่างน้ำหนักเฉลี่ย ประสิทธิภาพการใช้อาหาร และการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของกุ้ง อย่างไรก็ตามการศึกษาลักษณะพยาธิสภาพของตับกุ้งจากบ่อที่แสดงอาการขี้ขาว แสดงให้เห็นว่ากุ้งที่เลี้ยงด้วยกากถั่วเหลืองหมัก 25% มีความสมบูรณ์ของเซลล์ตับดีกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ดังนั้นผลการศึกษาในครั้งนี้พบว่าการใช้กากถั่วเหลืองหมัก 25% ในสูตรอาหารสามารถนำมาใช้ปรับปรุงสุขภาพของกุ้ง และป้องกันโรคขี้ขาวในฟาร์มกุ้ง
Fermented soybean meal (FSBM) was used as a replacement for fishmeal (FM) and soybean meal (SBM) in the diet ofPacific white shrimp (Litopenaeus vannamei) under laboratory conditions. Post larvae 12 were stocked into fiberglass tanks at a density of 60 PL/tank. This experiment consisted of 8 treatments (4 replications/treatment) including a diet containing 20% FM (positive control), a diet containing FM replacement with SBM at 15, 20, 25 and 100% (negative control), and a diet containing FM replacement with FSBM at 15, 20 and 25%. Shrimp were fed for 60 days. The result revealed that shrimp fed with 25% of FSBM had a significant higher (P<0.05) survival rate after being challenged with V. parahaemolyticus causing White feces syndrome (WFS) and immune responses including the total haemocyte count, the phagocytic activity, the prophenol oxidase and superoxide. From this result, we selected 25% FSBM for further studied at farm level. Two shrimp farms located in low salinity area (Ratchaburi province) and coastal area (Rayong province) were selected. Two treatment groups were studied (4 replications/group) including the control group which shrimp were fed with commercial pelleted feed (38% protein), and the treatment group which shrimp were fed with 25% of FSBM. The feeding trail was conducted for 20 days. The result from the low salinity area showed that shrimp fed with 25% FSBM had a significantly higher (P<0.05) average increased weight, higher feed utilization and immune responses compared with the control group. The histological study of the hepatopancreas (HP) of shrimp revealed that the shrimp fed with 25% FSBM showed better conditions of the HP compared with the control group. While, the result from the coastal area was different because the studied farm had WFS outbreak before studying. There was no difference between the average increased weight, and the feed utilization and immune responses of shrimp. However, the histology of the HP of shrimp from the white feces ponds showed that shrimp fed with 25% FSBM had better conditions of the HP compared with the control group. The results showed that 25% of FSBM can be used to improve the health of shrimp and prevent WFS in shrimp farm.