Influences of fertilizer application, plant spacing and cutting height for machine harvest on growth, biomass yield, energy composition of tarramba leucaena in saline soil and their biomass pellet production
Abstract:
งานวิจัยนี้ศึกษาการปรับปรุงดินทราย เค็มและมีค่าความเป็นกรดโดยใช้เถ้าร่วมกับปุ๋ยชนิดต่างๆ ในการปลูกกระถินยักษ์ การจัดการความสูงการตัดและระยะปลูกเพื่อรองรับการใช้เครื่องจักรเก็บเกี่ยว การแปรรูปกระถินยักษ์ร่วมกับฟางข้าวและใบอ้อยเพื่อการผลิตชีวมวลอัดแท่งที่ผ่านมาตราฐาน ทำการทดลองแปลงทดลอง ต.เก่างิ้ว อ.พล จ.ขอนแก่น ระหว่างวันที่ กันยายน 2560 มีนาคม 2563 โดยแบ่งออกเป็น 3 การทดลอง ได้แก่ การทดลองที่ 1 เปรียบเทียบการใช้เถ้าจากโรงไฟฟ้าชีวมวลร่วมกับปุ๋ยชนิดต่างๆ ในการปรับปรุงดินทราย เค็มและมีค่าความเป็นกรดในแปลงปลูกกระถินยักษ์ วางแผนการทดลองแบบ RCBD จำนวน 4 ซ้ำ ปัจจัยที่ศึกษา คือ รูปแบบการให้ปุ๋ยและเถ้าที่แตกต่างกัน 4 รูปแบบ ผลการทดลองพบว่า แปลงใช้เถ้า 2 ตันต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยคอก 1 ตันต่อไร่ให้ค่าความสูง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น น้ำหนักแห้งลำต้นและน้ำหนักแห้งรวมสูงสุด การทดลองที่ 2 เปรียบเทียบระยะปลูกและความสูงของการตัดภายใต้การจำลองการใช้เครื่องจักรเก็บเกี่ยว วางแผนการทดลองแบบ Split Plot in RCBD จำนวน 4 ซ้ำ ปัจจัยหลัก คือ ความสูงการตัด 3 ระดับ ปัจจัยรอง คือ ระยะปลูก 4 ระยะ ผลการทดลองพบว่า ความสูงการตัดที่ 5 ซม. มีอัตราการรอดชีวิตหลังการเก็บเกี่ยวในปีที่ 1 ต่ำกว่าความสูงการตัดที่ 15 และ 25 ซม. จากพื้นดิน ขณะที่การเจริญเติบโต ผลผลิตชีวมวล องค์ประกอบทางเคมีและสมบัติเชิงพลังงานของกระถินยักษ์ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ขณะที่การปลูกระยะ (50x50)x150 ซม. ให้ความสูง น้ำหนักแห้งใบ น้ำหนักแห้งกิ่งก้าน น้ำหนักแห้งลำต้น และน้ำหนักแห้งรวมสูงสุด การทดลองที่ 3 เปรียบเทียบคุณสมบัติของชีวมวลอัดแท่งจากการผสมวัตถุดิบต่างชนิดกัน วางแผนการทดลองแบบ CRD จำนวน 4 ซ้ำ ปัจจัยที่ศึกษาคือ อัตราส่วนผสมวัตถุดิบจากกระถินยักษ์ ฟางข้าวและใบอ้อยที่แตกต่างกัน 9 สูตร ผลการทดลองพบว่าชีวมวลอัดแท่งจากกระถินยักษ์ 100%, กระถินยักษ์ 75% ร่วมกับฟางข้าว 25% และกระถินยักษ์ 75% ร่วมกับใบอ้อย 25% ผ่านมาตรฐานชีวมวลอัดแท่งของยุโรป (EN 14961-1)
The research was to determine how to improve sandy saline and acidic soil by using ash in combination with other types of fertilizer for leucaena plantation, optimum plant cutting height and spacing for machine harvest and biomass pellet formulas which met critical standard from leucaena wood, rice straw and sugarcane leaf. The experiment conducted in Kaongiw, Phon district, KhonKaen, Thailand. There were 3 experiments. The first experiment was influence of ash from biomass powerplant in combination with fertilizers on leucaena production under sandy saline and acidic soil with RCBD experimental design. There were 4 replications and 4 treatments which were mixed fertilizers. The results showed that leucaena under mixing 2 t rai1 of ash with 1 t rai1 of farm manure treatment had the biggest stem diameter, highest stem and total greatest dry matter. The second experiment was influence of cutting height and plant spacing for machine harvest on leucaena production under sandy saline and acidic soil using Split plot in RCBD with 4 replications. The main plot was 3 levels of cutting height and sub plot was 4 plant spacings. The results show that the highest plant survival rate showed in the cutting height since 15 cm. from the ground, while plant growth, total dry matter, chemical composition and energy properties did not difference. For the spacing (50x50) x150 cm. gave the highest (p< 0.05) plant height, leaf, branch, stem, and total dry matter. The third experiment was comparison of biomass pellet properties from leucaena wood combined with rice straw or sugarcane leaf for renewable energy by using CRD design with 4 replications. Factor was mixing of material for biomass pellet for 9 formulars. The result showed that pellets from 100% leucaena, 75% leucaena wood mixed with 25% rice straw and 75% leucaena wood mixed with 25% sugarcane leaf passed the Europe biomass pellet standard (EN 14961-1).