The development of home economics subject for promoting the students' creative thinking by following guilford's structure of intellect model for Matthayomsuksa 6 students at Sarawittaya school
Abstract:
วัตถุประสงค์การวิจัยครั้งนี้เพื่อ 1) พัฒนารายวิชาการงานอาชีพเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ตามทฤษฎีโครงสร้างสติปัญญาของกิลฟอร์ด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสารวิทยา 2) ศึกษาผลการพัฒนารายวิชาการงานอาชีพเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ตามทฤษฎีโครงสร้างสติปัญญาของกิลฟอร์ด ด้านการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรายวิชาการงานอาชีพ การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/11 โรงเรียนสารวิทยา ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 41 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้วิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รายวิชาการงานอาชีพเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ตามทฤษฎีโครงสร้างสติปัญญาของกิลฟอร์ด ประกอบไปด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ 4 หน่วยการเรียนรู้ และแบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการงานอาชีพเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ตามทฤษฎีโครงสร้างสติปัญญาของกิลฟอร์ด 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนารายวิชาการงานอาชีพเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ตามทฤษฎีโครงสร้างสติปัญญาของกิลฟอร์ด สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) รายวิชาการงานอาชีพเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ตามทฤษฎีโครงสร้างสติปัญญาของกิลฟอร์ด ประกอบไปด้วยคำอธิบายรายวิชา โครงสร้างรายวิชา และแผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 4 หน่วยการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ 3 ลักษณะ คือ ความคิดยืดหยุ่น ความคิดละเอียดลออ และความคิดริเริ่ม 2) นักเรียนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 41 คน มีผลการประเมินความคิดสร้างสรรค์โดยรวมผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ทุกคน นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 80 จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 68.29 และมีนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 31.71 และนักเรียนมีความคิดเห็นต่อรายวิชาการงานอาชีพเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ตามทฤษฎีโครงสร้างสติปัญญาของกิลฟอร์ดโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.70 และ S.D. = 0.56)
The objectives of this research were to develop home economics subject for promoting the students creative thinking by following Guilford's Structure of Intellect Model and to study the results of using the developed home economics lessons in the points of promoting the students creative thinking, home economics achievement and the students opinions toward studying the developed home economics lessons. This research is quasi-experimental design. The samples of this research were 41 students of Matthayomsuksa 6 by using the cluster random sampling at Sarawittaya School in the first semester of the academic year 2020. The research tools consisted of 4 units of lesson plan, creative thinking skill assessment form in every single unit lesson, the paper test for assessing the students creative thinking and the questionnaire for gaining the students opinion toward studying with the developed home economics lesson plans. The duration of experiment was for 20 hours. The data were analyzed using percentage (%), mean ( ), and the standard deviation (S.D.) analysis. The research result showed that: 1) The home economics subject for promoting the students creative thinking by following Guilford's Structure of Intellect Model included course description, course structure and 4 unit plans which promote the students creative thinking skills in 3 dimensions including with flexibility, elaboration, and originality. 2) All students achieved the assessment of creative thinking skill over 70 percent. There are 28 students approached the high score for 80 percent or 68.29 percent, but there are 13 students did not pass or 31.71 percent. The overall of students opinion toward the home economics subjects for promoting the students creative thinking by following Guilfords structure of intellect model reached the most level as = 4.70 and S.D. = 0.56