Abstract:
การปลูกและตกแต่งภูมิทัศน์ด้วยต้นไม้ภายในอาคารสถานที่ต่าง ๆ มีการใช้ดินผสมทั่วไปเป็นวัสดุปลูกหลัก แต่มักพบปัญหาการยุบตัวและอัดแน่นของดิน การระบายน้ำและอากาศไม่ดี ส่งผลต่อการเจริญของรากและต้นพืช การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติที่เหมาะสมของวัสดุปลูกอัดเม็ดเพื่อใช้ปลูกไม้ประดับภายในอาคารและศึกษาการเจริญเติบโตและอายุการใช้งานเพื่อการวางประดับภายในอาคารของพืชปลูกในวัสดุปลูกชนิดใหม่ แบ่งเป็น 2 การทดลอง คือการทดลองที่ 1 ทำวัสดุปลูกอัดเม็ดจากส่วนผสมของไดอะตอมไมต์ : ขุยมะพร้าว : ดินเหนียว ในอัตราส่วน 2 :1 :7, 4 :1 :5, 6 :1 :3 และ 8 :1 :1 นำไปเผาที่อุณหภูมิ 600 และ 900 องศาเซลเซียส ตามลำดับ และนำไปทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีที่เหมาะสม และการทดลองที่ 2 เลือกวัสดุปลูกอัดเม็ดจากการทดลองที่ 1 มาเป็นวัสดุปลูก โดยเปรียบเทียบกับการใช้ดินผสมปกติ และดินผสมร่วมกับวัสดุปลูกอัดเม็ดอัตราส่วน 1 :1 เพื่อดูการเจริญเติบโตและความสวยงามเพื่อการวางประดับภายในอาคารของเขียวหมื่นปีและเดหลี ทำการทดลองระหว่าง เมษายน 2561 ถึง มิถุนายน 2562 ณ ภาควิชาพืชสวน ห้องปฏิบัติการภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และห้องปฏิบัติการภาควิชาศิลปอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง จากผลการทดลองที่ 1 พบว่า วัสดุปลูกอัดเม็ดอัตราส่วน 8 :1 :1 ที่ 900°C มีความพรุนรวม ความจุในการอุ้มน้ำ และการดูดซึมน้ำมากที่สุด เท่ากับ 54.68 % 38.33 % และ 87.52 % ตามลำดับ การสลายตัวในน้ำเฉลื่ยน้อยที่สุด 0.31 % มีคุณสมบัติทางเคมี เช่น pH EC และ CEC เหมาะสม ไม่เป็นพิษต่อพืช ซึ่งสามารถใช้เป็นวัสดุปลูกสำหรับปลูกพืชในอาคาร และในการทดลองที่ 2 พบว่าการใช้วัสดุปลูกอัดเม็ดปลูกเพียงอย่างเดียวสามารถทำให้ต้นพืชเจริญเติบโตได้ตลอดอายุช่วงการปลูกตั้งแต่เริ่มจนสิ้นสุดการทดลองเมื่อเทียบกับการใช้ดินผสมปกติและดินผสมร่วมกับวัสดุปลูกอัดเม็ด ระดับคะแนนเฉลี่ยของการประเมินคุณภาพความสวยงามเพื่อการวางประดับภายในอาคารของทั้งเขียวหมื่นปีและเดหลีอยู่ในช่วงที่ใช้งานได้ตลอด 8 สัปดาห์
Indoor planting often finds a problem of compacted soil with worse drained water and worse exchange gas affecting the growth of roots and plants. The objective of this study was to investigate the suitable properties of pellet growing media for interior ornamental plants and to study the growth and lifespan of the interior decoration of plants grown in new planting materials. Two experiments were divided. Experiment 1, diatomite: coir dust: clay were mixed in 4 ratios (2:1:7, 4:1:5, 6:1:3, and 8:1:1) and then burned at 600 and 900° C respectively. Suitable physical and chemical properties were recorded. Experiment 2, pellet growing media from experiment 1 was selected as planting material. Pellet growing media, mixed soil and mixed soil with pellet growing media in ratio 1:1 were compared for growth of Chinese Evergreen and Peace Lily. Both experiments were conducted from April 2018 to June 2019 at the Department of Horticulture, the Department of Soil Science, Faculty of Agriculture, Kasetsart University including the Department of Industrial Design, Faculty of Architecture, King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang. From experiment 1, the result showed that diatomite: coir dust: clay (8:1:1) ratio at 900°C was suitable for interior ornamental plants because the maximum of total porosity, water containing capacity and water absorption were 54.68%, 38.33%, and 87.52% respectively, less slake (0.31%) and suitable of chemical properties, such as pH, EC and CEC did not toxic to both plants. It could be used as planting material for interior ornamental plants. The second experiment was found that the use of only pellet growing media could make the plant growth throughout the growing period from the beginning until the end of the experiment. The average score of the beauty for the interior decoration of Chinese Evergreen and Peace Lily could growing during 8 weeks when compared with only mixed soil and mixed soil with pellet growing media