Abstract:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริโภคอาหารจากปศุสัตว์อินทรีย์ โดยวิเคราะห์ลักษณะประชากรศาสตร์ ความรู้ การรับรู้คุณค่าและทัศนคติของผู้บริโภคต่อการตั้งใจบริโภคอาหารจากปศุสัตว์อินทรีย์ในโรงแรมและร้านอาหาร เพื่อประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการสร้างกลยุทธ์ทางการตลาด ดำเนินการสำรวจข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานและการสำรวจข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามปลายปิดกับผู้บริโภคชาวไทยและชาวต่างชาติที่มีประสบการณ์การบริโภคอาหารในโรงแรมหรือร้านอาหารในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ผลการวิเคราะห์ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยและชาวต่างชาติส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วง 23-40 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยส่วนใหญ่มีรายได้ระหว่าง 20,001-30,000 บาท และประกอบอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ส่วนผู้ตอบแบบสอบถามชาวต่างชาติส่วนใหญ่มีรายได้ระหว่าง 301- 600 เหรียญสหรัฐและประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ผลการศึกษาระดับความรู้และความเข้าใจต่ออาหารจากปศุสัตว์อินทรีย์ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามชาวต่างชาติส่วนใหญ่มีความรู้อยู่ในระดับสูง ในขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยส่วนใหญ่มีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง โดยยังขาดความรู้ด้านเครื่องหมายที่ใช้รับรองและความแตกต่างระหว่างกระบวนการเลี้ยงสัตว์แบบระบบทั่วไป ระบบปล่อยและระบบอินทรีย์มากที่สุด ตามลำดับ สำหรับผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านการรับรู้และทัศนคติต่อการตั้งใจบริโภคอาหารจากปศุสัตว์อินทรีย์ในโรงแรมและร้านอาหาร พบว่ามีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับการรับรู้คุณค่าด้านอรรถประโยชน์และด้านอารมณ์สำหรับผู้บริโภคชาวต่างชาติ กรณีผู้บริโภคชาวไทย พบว่าการตั้งใจบริโภคอาหารจากปศุสัตว์อินทรีย์มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับการรับรู้คุณค่าด้านต้นทุน และทัศนคติด้านการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสัตว์ แต่มีความสัมพันธ์ในเชิงลบกับทัศนคติด้านความไม่หลากหลายของผลิตภัณฑ์และราคาที่สูงเกินไป
This research aims to reveal organic livestock foods consumption by examining the demographic, knowledge, value perception and attitude of Thai and Foreign consumers towards purchase intention on organic livestock foods in foodservice business in order to create an effective marketing strategy. Qualitative data was gathered by in-depth interviews with the stakeholders of the organic livestock food supply chain. Quantitative data was collected by a questionnaire survey with 400 Thai and foreign consumers who experienced a meal in the foodservice business. The demographics showed that Most respondents were 23-40 year olds and obtained a bachelor's degree. The majority of Thai was a government officer with monthly income THB 20,0001 - 30,000 while foreigner was a company employee with monthly income USD 301 - 600. Regarding knowledge level, the result showed that foreigners had higher knowledge about organic livestock foods than Thai consumers. The certification labels and differentiation among non-organic, free-range and organic livestock systems were most wrong perceived. In addition, the relationship between factors affecting organic livestock foods consumption and purchase intention on organic livestock foods were investigated. It was shown that there were positive relationships between functional and emotional value perception and purchase intention of the foreigner. Thai consumers had a positive relationship between cost value perception and purchase intention. However, there was a negative relationship between the attitude of Thai consumers toward no variety of organic livestock foods, high price and purchase intention on organic livestock foods