Abstract:
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์และการจัดการของป่าในป่าชุมชนป่าเขาอังคาร ด้วยวิธีสัมภาษณ์ตัวแทนครัวเรือนจำนวน 210 ครัวเรือน หรือร้อยละ 45.55 ของครัวเรือนทั้งหมดใน 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 1, 12 และหมู่ 14 ของตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งอยู่ในรัศมี 5 กิโลเมตรจากป่าชุมชนป่าเขาอังคาร ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก 4 ราย และสำรวจสังคมพืชซึ่งเป็นแหล่งผลิตของป่าชุมชนป่าเขาอังคาร ด้วยวิธีวางแปลงตัวอย่างขนาด 10×20 เมตร จำนวน 8 แปลง ในพื้นที่เก็บหาของป่าวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อคำนวณค่าสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่าประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 49.05 ของครัวเรือนตัวอย่าง ใช้ประโยชน์ป่าชุมชนป่าเขาอังคารโดยเก็บหาของป่าเพื่อการดำรงชีพและสร้างรายได้เสริมของป่าที่เก็บหาแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทแรก อาหาร ประกอบด้วย เห็ด 20 ชนิด พืช 9 ชนิด สัตว์ 1 ชนิด โดยมีช่วงฤดูและเวลาในการเก็บหาแตกต่างกันออกไป ประเภทที่สอง วัสดุใช้สอย เป็นดินภูเขา ไฟสำหรับนำมาใช้ทำสีย้อมผ้าซึ่งสามารถเก็บหาได้ตลอดทั้งปีลักษณะสังคมพืชที่เป็นแหล่งผลิตของป่ามีสภาพเป็นป่าเต็งรัง สำรวจพบพรรณไม้ยืนต้น 31 ชนิด ไม้ชนิดสำคัญ ได้แก่ รัง แดง และ มะกอกเกลื้อน มีค่าดัชนีความสำคัญ (IVI) เท่ากับ 93.025, 22.428 และ 12.163 ตามลำดับ ศักยภาพในการทดแทนตามธรรมชาติมีแนวโน้มต่ำเนื่องจากปริมาณลูกไม้และไม้หนุ่มของไม้ชนิดสำคัญ ดังกล่าวมีจำนวนน้อยมากหรือแทบไม่มีเลย ในการจัดการป่าชุมชน คณะกรรมการป่าชุมชนได้กำหนดกฎระเบียบและข้อตกลงขึ้นเพื่อควบคุมการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน รวมถึงการป้องกัน ดูแลรักษา และฟื้นฟูป่าชุมชนให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งราษฎรที่เก็บหาของป่าส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 97 เห็นด้วยกับกฎระเบียบที่กำหนดขึ้น และกว่าร้อยละ 96 เห็นด้วยกับข้อตกลงดังกล่าว
This research aimed to study the utilization and management of non-timber forest products (NTFPs) in the Pakhao Angkarn Community Forest (PACF). Two hundred and ten household representatives or 45.55% of all households in 3 villages, namely Moo 1, 12 and Moo 14 of Charoen Suk sub-district, Chaloem Phra Kiat district, Buri Rum province were interviewed using a semi-structure questionnaire. These villages located within a radius of 5 kilometer from the PACF. Four key informants in these villages were in-depth interviewed. Plant community within the PACF, as source of NTFPs, was surveyed. Eight sample plots sized of 10×20 meter were set in the forest harvesting areas. All plants were recorded and all trees were measured. A software package was used for data analysis, descriptive statistic values were calculated. The results showed that about a half (49.05%) of the respondents utilized the PACF by collecting various NTFPs for their livelihoods and for generating extra income. The products they collected was divided into 2 types. First, foods consisted of 20 kinds of mushrooms, 9 species of plants, 1 species of animals. Period and time of collection of each product were varied. Second, other material, namely volcanic clay, used for dyeing fabric which can be collected throughout the year. Plant community in the PACF was a deciduous forest. There were 31 species of perennial plants. The most common species were Shorea siamensis Miq., Xylia xylocarpa (Roxb.) W. Theob. var. kerrii (Craib & Hutch.) I. C. Nielsen. and Canarium subulatum Guillaumin (IVI = 93.025, 22.428 and 12.163 respectively). The potential for natural regeneration was rather low due to lacking of seedling and sapling of the tree species. Regarding to community forest management, the PACF Committee has established rules and regulations to control use of the community forests. They included various measures for protection, utilization and restoration of the community forest. More than 97 percent of the NTFPs collectors agreed with the rules and more than 96 percent agreed with the regulations