แจ้งเอกสารไม่ครบถ้วน, ไม่ตรงกับชื่อเรื่อง หรือมีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับเอกสาร ติดต่อที่นี่ ==>
หากไม่มีอีเมลผู้รับให้กรอก thailis-noc@uni.net.th ติดต่อเจ้าหน้าที่เจ้าของเอกสาร กรณีเอกสารไม่ครบหรือไม่ตรง

บทวิเคราะห์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา จังหวัดเพชรบูรณ์ ประเทศไทย
An Analyze on the Development of Geotourism in Phetchabun Province, Thailand

ThaSH: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์. วท.ม. (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพื้นพิภพ) 2563
Classification :.LCCS: G155.T35
ThaSH: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพื้นพิภพ -- วิทยานิพนธ์
ThaSH: การท่องเที่ยว -- เพชรบูรณ์ -- ธรณีวิทยา
ThaSH: ธรณีวิทยา -- เพชรบูรณ์
ThaSH: การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ -- เพชรบูรณ์
ThaSH: อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ThaSH: เพชรบูรณ์ -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว
Abstract: จังหวัดเพชรบูรณ์ตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความน่าสนใจหลายด้าน เช่น แหล่งธรรมชาติ เรื่องราวทางประเพณี วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ จึงเป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยวจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย ในบริบทการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา แหล่งธรรมชาติที่มีความสำคัญและโดดเด่นทางธรณีวิทยา เรียกว่า แหล่งธรณีวิทยา อาจรวมถึงมีความสำคัญทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ โดยการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาเป็นกิจกรรมที่นำพื้นฐานทางธรณีวิทยามาประยุกต์ใช้กับการท่องเที่ยว เพื่ออนุรักษ์หรือเพิ่มคุณค่าให้กับสิ่งแวดล้อมทางธรณีวิทยา รักษาสุนทรียภาพที่สวยงามของพื้นที่ ในขณะเดียวกันยังสามารถสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับชุมชนท้องถิ่นผ่านการสร้างอาชีพและการจ้างงาน โดยจังหวัดเพชรบูรณ์เป็นจังหวัดที่มีความหลากหลายทางธรณีวิทยาและมีแหล่งธรณีวิทยาหลายประเภท ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงระหว่างแผ่นอนุทวีปชาน-ไทยและอินโดไชนา เหมาะแก่การศึกษาด้านการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา งานวิจัยนี้ศึกษาลักษณะทางธรณีวิทยาของแหล่งธรณีวิทยาทั้งหมด 19 แหล่ง ประกอบด้วยแหล่งน้ำตก กุมภลักษณ์ หน้าผา ถ้ำ แท่งเสาหิน ซากดึกดำบรรพ์ และจุดชมทิวทัศน์ ซึ่งเกิดขึ้นจากกระบวนการทางธรณีวิทยาทั้งสิ้น เช่น การเปลี่ยนแปลงของแผ่นเปลือกโลก การผุพัง การกัดกร่อน และการพัดพา เป็นต้น โดยอธิบายลักษณะทางธรณีวิทยาของแต่ละแหล่ง ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวผ่านวิธีการวิเคราะห์แบบ SWOT และแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาจังหวัดเพชรบูรณ์ ผ่านการจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดการชุมชน การจัดการข้อมูล และการจัดการการตลาด รวมถึงการคัดเลือกแหล่งธรณีวิทยาเข้าสู่การจัดทำเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา โดยการให้คะแนนคุณค่า 6 ด้าน ได้แก่ ด้านธรณีวิทยา วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ สุนทรียภาพ การท่องเที่ยว เศรษฐกิจ และงานวิจัยทางธรณีวิทยา เนื่องมาจากการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาไม่เพียงแต่สนใจเฉพาะความเป็นธรณีวิทยาเท่านั้น ยังสนใจองค์ประกอบด้านอื่นด้วย คุณค่าแต่ละด้านข้างต้นจึงเป็นส่วนสำคัญ งานวิจัยนี้นับเป็นการตอบรับกระแสการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาและสร้างความตระหนักต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติได้เป็นอย่างดี
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สำนักหอสมุด
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: tdckulib@ku.ac.th
Role: อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก
Created: 2563
Modified: 2568-07-01
Issued: 2568-07-01
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
URL: https://www.lib.ku.ac.th/KUthesis/2563/natapan-pau-all.pdf
CallNumber: G155.T35 .ณ131
tha
©copyrights มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
RightsAccess:
ลำดับที่.ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูลจำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด
1 natapan-pau-all.pdf 28.58 MB
ใช้เวลา
0.016578 วินาที

ณฐพรรณ พวงยะ
Copyright 2000 - 2025 ThaiLIS Digital Collection Working Group. All rights reserved.
ThaiLIS is Thailand Library Integrated System
สนับสนุนโดย สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
328 ถ.ศรีอยุธยา แขวง ทุ่งพญาไท เขต ราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร. โทร. 02-232-4000
กำลัง ออน์ไลน์
ภายในเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 0
ภายนอกเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 538
รวม 538 คน

More info..
นอก ThaiLIS = 37,180 ครั้ง
มหาวิทยาลัยสังกัดทบวงเดิม = 22 ครั้ง
มหาวิทยาลัยราชภัฏ = 8 ครั้ง
สถาบันพระบรมราชชนก = 5 ครั้ง
หน่วยงานอื่น = 2 ครั้ง
มหาวิทยาลัยเอกชน = 1 ครั้ง
รวม 37,218 ครั้ง
Database server :
Version 2.5 Last update 1-06-2018
Power By SUSE PHP MySQL IndexData Mambo Bootstrap
มีปัญหาในการใช้งานติดต่อผ่านระบบ UniNetHelp


Server : 8.199.136
Client : Not ThaiLIS Member
From IP : 216.73.216.48