Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประมวลรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนและการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมของชุมชนบ้านมณีพฤกษ์ ความรู้ด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน ความคิดเห็นที่มีต่อการท่องเที่ยวโดยชุมชน การให้การสนับสนุนของประชาชนในพื้นที่ต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านมณีพฤกษ์ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ จากครัวเรือนทั้งหมด 397 ครัวเรือน เลือกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 180 ครัวเรือน แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ไม่เป็นสมาชิกและกลุ่มที่เป็นสมาชิกการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านมณีพฤกษ์ จำนวน 145 ครัวเรือน และ 35 ครัวเรือน ตามลำดับ ผลการศึกษากลุ่มที่ไม่เป็นสมาชิกฯและกลุ่มที่เป็นสมาชิก มีคะแนนความรู้ด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน อยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 84.14 และร้อยละ 91.43 ตามลำดับ สำหรับความคิดเห็นต่อผลกระทบเชิงบวกจากการท่องเที่ยวโดยชุมชน กลุ่มที่ไม่เป็นสมาชิกฯ คิดว่าช่วยทำให้เกิดการพัฒนาพื้นที่ธรรมชาติให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว และกลุ่มที่เป็นสมาชิกฯ คิดว่าการท่องเที่ยวส่งผลให้พื้นที่ธรรมชาติบางส่วนได้รับการพัฒนาหรือปรับปรุงให้คงอยู่อย่างยั่งยืน สำหรับผลกระทบเชิงลบ กลุ่มที่ไม่เป็นสมาชิกฯ คิดว่ารายได้จากการท่องเที่ยวเป็นไปตามฤดูกาล และกลุ่มที่เป็นสมาชิกฯ คิดว่าก่อให้เกิดปัญหาขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลในชุมชน ในด้านการให้การสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านมณีพฤกษ์ กลุ่มที่ไม่เป็นสมาชิกฯ มีส่วนร่วมต่อเมื่อได้รับการเชิญชวนจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และกลุ่มที่เป็นสมาชิกฯ มีส่วนร่วมสนับสนุนด้านแรงงานและเวลา จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของชุมชนทั้ง 2 กลุ่ม พบว่าเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ ความรู้ด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนและการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติมีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมต่อการให้การสนับสนุนการท่องเที่ยว ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ ในส่วนของความคิดเห็นต่อผลกระทบเชิงบวกจากการท่องเที่ยวโดยชุมชน มีอิทธิพลทางตรงต่อการให้การสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านมณีพฤกษ์ ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 และความคิดเห็นต่อผลเชิงลบจากการท่องเที่ยวโดยชุมชนมีอิทธิพลตรงต่อการให้สนับสนุนการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านมณีพฤกษ์ ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01
This study aimed to examine the Community Based Tourism (CBT) management and natural resource and environmental management of Baan Maneepruek Community, CBT knowledge, opinions toward CBT, support for tourism development from the community, and path analysis. Among the total of 397 households in Baan Maneepruek Community, 180 households were selected as samples which were divided into 2 groups: non-member group consisting of 145 households and member group consisting of 35 households. The results reveled that both non-member group and member group demonstrated CBT knowledge at a high level at 84.14 percent and 91.43 percent, respectively. Regarding the positive opinions toward the CBT, non-member group thought that tourism assists to develop natural areas into tourist attractions accounting. Whilst, the members group viewed that tourism causes sustainable development and improvement of some natural areas, accounting. In regard to negative opinions toward CBT, non-member group considered that tourism income is seasonal, accounting, while member group thought that the community based tourism causes waste and sewage problems in the community, accounting. Regarding the support for tourism development by Baan Maneepruek Community, non-member group was inclined to participate when they were requested by involved people; however, member group was willing to support tourism both labor and time. Regarding the study of path analysis of both groups, the result demonstrated in the same direction. The CBT knowledge and natural resource and environmental management had direct and indirect influence on the support for tourism development by Baan Maneepruek Community at 0.01 and 0.05 significance level. In addition, positive opinions about CBT revealed direct influence on the support for tourism development by Baan Maneepruek community at 0.01 significance level. And negative opinions about CBT revealed direct influence on the support for tourism development by Baan Maneepruek community at 0.01 significance level.