Land use change in Pha Khao-Phuluang National reserve forest, a case study of Klongsai village, Wang Nam Khiao subdistrict, Wang Nam Khiao district, Nakhon Ratchasima province
Abstract:
การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาภูหลวง กรณี บ้านคลองทราย ตำบล วังน้ำเขียว อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งตั้งอยู่บริเวณรอยต่อของเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาภูหลวงและ เขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ โดยใช้วิธีการแปลข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียม Landsat ที่ถ่ายในปี 2530 2540 2550 และ 2560 รวมทั้งศึกษาเชิงวิเคราะห์แรงขับเคลื่อนเชิงนโยบายที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในช่วงดังกล่าว ผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในพื้นที่บ้านคลองทรายในช่วง 30 ปี (2530-2560) พบว่า พื้นที่ป่าไม้ลดลง 1,961.39 ไร่ (ร้อยละ 20.39 ของพื้นที่) พื้นที่เบ็ดเตล็ดลดลง 601.68 ไร่ (ร้อยละ 6.25) สวนทาง กับพื้นที่เกษตรกรรมที่เพิ่มขึ้น 1,698.16 ไร่ (ร้อยละ 17.65 ของพื้นที่) พื้นที่ชุมชนและพื้นที่แหล่งน้ำ เพิ่ม 137.30 และ 69.33 ไร่ (ร้อยละ 1.43 และ 0.72) ตามลำดับ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินเกิดขึ้นอย่าง ชัดเจนในช่วงปี 2530-2540 ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐบาลได้ประกาศยกเลิกสัมปทานทำไม้ป่าบกทั้งหมด ตั้งแต่ปี 2532 ทำให้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติส่วนใหญ่ที่เป็นป่าสัมปทานขาดการดูแลอย่างทั่วถึง ประกอบกับนโยบายปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่เริ่มต้นใน ปี 2535 ส่งผลให้มีการขยายตัวของพื้นที่ชุมชนและมีความต้องการพื้นที่ทำการเกษตรเพิ่มขึ้นเป็นอันมาก อย่างไรก็ดี หลังจากปี 2540 จนถึงปี 2560 พบว่า พื้นที่ป่าไม้กลับมีแน้วโน้มเพิ่มมากขึ้น ขณะที่พื้นที่การเกษตรและเบ็ดเตล็ดมีแนวโน้มลดลง อาจกล่าวได้ว่า นโยบายส่งเสริมการปลูกป่าภาคเอกชน ได้แก่ การออก พ.ร.บ. สวนป่า ในปี 2535 และโครงการส่งเสริมเกษตรกรปลูกป่าในช่วงก่อนปี 2540 มีส่วนเป็นแรงขับเคลื่อนทำให้พื้นที่ป่าหรือพื้นที่ที่มีเรือนยอดไม้ยืนต้นปกคลุมเพิ่มมากขึ้นในระยะต่อมาเป็นที่น่าสังเกตว่าการยกเลิกสัมปทานทำไม้ ใน ปี 2532 อาจมีส่วนทำให้พื้นที่ป่าบางแห่งกลายสภาพเป็นพื้นที่เสื่อมโทรมลงเนื่องจากขาดการดูแลและบำรุงรักษาจากผู้รับสัมปทาน ดังนั้น การบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ควรมีเป้าหมายที่ชัดเจนรวมถึงควรแก้ไขข้อบกพร่องในการดำเนินงานด้านป่าไม้ของรัฐในอดีตที่ยังไม่ครอบคลุมปัญหาด้านป่าไม้ทั้งหมดที่จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือ จากทุกภาคส่วน ทั้งยังมีความซ้ำซ้อนกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ที่ส่งผลทำให้นโยบายป่าไม้ ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
A study on land use change in Pha Khao-Phuluang National Reserve Forest was conducted. Khlongsai Village of Wang Nam Khiao Subdistrict, Wang Nam Khiao District, Nakhon Ratchasima Province was selected to be a study area. The village located in the buffer zone of Khao Yai National Park and Pha Khao-Phuluag NRF. The LANSAT satellite imageries taken in 1987, 1997, 2007 and 2017 were used for data interpreting. Analytical study on relevant forest policies, as driving forces of the changes, was investigated during the same period. Results revealed that during 1987-2017 (30 years) forest area of Khlongsai Village decreased by 1,961.39 rai or about 20.39% of village area and abandoned farm area decreased by 601.68 rai (6.25%). In contrast to the increase of agricultural area by 1,698.16 rai (17.65%), community area and water source area increased by 137.30 and 69.33 rai (1.43 and 0.72%), respectively. The trend of land use changes remarkably occurred during 1987-1997.In this period, 1989, the government declared logging ban for all terrestrial forest concessions causing most of the NRFs those were used to be concession forests to lack thorough supervision. Coupled with the policy of land reform for agriculture in the NRFs which started in 1992, resulted in the expansion of community areas and the demand for farming areas greatly increased. However, the forest area was found increasing during 1997-2007, and tended to increase until 2017. On the other hand, agricultural areas and abandoned farms tended to decline. The increases of forest area during these periods may be driven by the government policy to promote private sectors for planting trees, such as the issuance of the Forest Plantation Act in 1992 and the project to promote farmers for forest plantation that implemented several years before 1997. These, later, contributed to an increase in areas covered by canopy of perennial trees.It is worth noting that the abolition of the logging concession in 1989 may have contributed to the deterioration of some forest areas due to lack of care and maintenance from the concessionaire. Therefore, forest resource management should have clear goals and should address the deficiencies in the state's forestry operations in the past that did not cover all forest problems that requires cooperation from all sectors. It also hasoverlap with other natural resource management that has resulted in forest policy being less successful.