แจ้งเอกสารไม่ครบถ้วน, ไม่ตรงกับชื่อเรื่อง หรือมีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับเอกสาร ติดต่อที่นี่ ==>
หากไม่มีอีเมลผู้รับให้กรอก thailis-noc@uni.net.th ติดต่อเจ้าหน้าที่เจ้าของเอกสาร กรณีเอกสารไม่ครบหรือไม่ตรง

Human resource analytics adoption framework for high-performance state-owned enterprises (HPSOEs)
กรอบการนำการวิเคราะห์ทรัพยากรมนุษย์ไปใช้ในองค์กรรัฐวิสาหกิจประสิทธิภาพสูง

LCSH: Administrative agencies -- Thailand -- Management
LCSH: Human capital -- Management
LCSH: Public administration -- Thailand
LCSH: Personnel management
Abstract: This study aims to develop the HR analytics (HRA) adoption framework for State-Owned Enterprises (SOEs) according to the Technology-Organization-Environment (TOE) framework. SOEs refer to a legal entity under the supervision of the respective ministry of the Royal Thai Government (RTG). Many SOEs are profitable from their undertakings and over half of all 35 SOEs serve as public infrastructure and utility providers. Nonetheless, personnel expense has been proportionally high while level knowledge, enthusiasm, and ability have been lacking. All the aforementioned have led to defective affecting SOEs' performance. Leading-edge organizations, on the other hand, have adopted a sophisticated method, widespread labeled 'HR analytics' or 'HRA', that has enabled organizational change via strategic HR. The literature review, nonetheless, found academic gaps making HRA an appropriate research topic in the modern management era. However, the strategic shift on HR management through HRA could be regarded as an extreme challenge for public entities particularly SOEs. The mixed-method research was then selected with triangulation. The qualitative study was conducted through the semi-structured interview and key informants' observation with 30 SOEs while the quantitative study was conducted through the survey with 56 SOEs. The findings showed that 19 SOEs were identified as High-Performance State-Owned Enterprises or HPSOEs, and they adopt HRA in an early-stage. Unexpectedly, the second-order structural equation modeling (SEM) findings showed that "Technological Competence" has a negative influence on "HRA Adoption Intention" and a positive influence on "Organization Readiness." Interestingly, "Organizational Readiness" and "Environmental Pressure" play a key role in influencing "HRA Adoption Intention." Notably, the "Environmental Pressure" has a stronger positive influence on "HRA Adoption Intention" than "Organization Readiness." Also, the findings of multigroup confirmatory factor analysis (MGCFA) showed that the HRA adoption intention model can be applied in SOEs context. Those findings were used to establish the HRA adoption framework for SOEs. Both academic and managerial knowledge are contributed to future studies and management practicality. In terms of the academic aspect, the HRA adoption intention model is valuable for further empirical research. Furthermore, the HRA adoption frameworks are beneficial to any HR professional or HR practitioner who plays the role of a policymaker or an enabler. In conclusion, this study develops and establishes the HRA adoption framework for SOEs in the early-stage, and the result of this study will push SOEs' intent to adopt HRA to gain competitive advantages and create added value for their respected organizations enabling them to become sustainable.
Abstract: การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากรอบการนำการวิเคราะห์ทรัพยากรมนุษย์ไปใช้ในองค์กรรัฐวิสาหกิจ ซึ่งพื้นฐานมาจากกรอบทฤษฎีเทคโนโลยี องค์กรและสภาพแวดล้อม (Technology-Organization-Environment: TOE) ด้วยองค์กรรัฐวิสาหกิจเป็นหน่วยงานในระดับกรมภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงต่าง ๆ ในรัฐบาลไทย และรัฐวิสาหกิจหลายแห่งจะมีความสามารถในการทำกำไร และเกินกว่ากึ่งหนึ่งขององค์กรรัฐวิสาหกิจ จำนวน 35 แห่ง เป็นหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ แต่งบประมาณด้านบุคลากรขององค์กรรัฐวิสาหกิจมีสัดส่วนที่สูงและพนักงานยังขาดการกระตือรือร้น และขาดการพัฒนาศักยภาพของตน ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพขององค์กรรัฐวิสาหกิจ แนวทางหนึ่งที่องค์กรชั้นนำเลือกใช้ในการแก้ไขปัญหา คือ การนำวิธีการที่ซับซ้อนมาใช้ในการวิเคราะห์ทรัพยากรมนุษย์ หรือ การวิเคราะห์ทรัพยากรมนุษย์ (HR Analytics: HRA) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงองค์กรผ่านกลยุทธ์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์ จากช่องว่างทางการศึกษาและวิจัยด้านการวิเคราะห์ทรัพยากรมนุษย์ ทำให้การวิเคราะห์ทรัพยากรมนุษย์เป็นหัวข้อวิจัยที่มีความเหมาะสมในยุคการบริหารสมัยใหม่ อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ ด้วยการวิเคราะห์ทรัพยากรมนุษย์มาใช้ ถือได้ว่าเป็นความท้าทายอย่างยิ่งสำหรับองค์กรภาครัฐโดยเฉพาะองค์กรรัฐวิสาหกิจ ผู้วิจัยจึงได้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed-Method Research ) และการตรวจสอบสามเส้า (Triangulation) เพื่อทำให้ผลวิจัยมีความน่าเชื่อถือ ประกอบด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและการสังเกตผู้ให้ข้อมูลสำคัญในองค์กรรัฐวิสาหกิจ จำนวน 30 แห่ง และการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้การสำรวจผ่านแบบสอบถามกับองค์กรรัฐวิสาหกิจ จำนวน 56 แห่ง ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าองค์กรรัฐวิสาหกิจ จำนวน 19 แห่ง เป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพสูง (High-Performance State-Owned Enterprises: HPSOEs) และเริ่มมีการนำการวิเคราะห์ทรัพยากรมนุษย์มาใช้ในระยะเริ่มต้น ส่วนผลการวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้างลำดับที่สอง (Second-Order Structural Equation Modeling: SEM) พบว่า "ความสามารถทางเทคโนโลยี" ส่งผลเชิงลบต่อ "ความตั้งใจในการนำมาใช้" และส่งผลเชิงบวกต่อ "ความพร้อมขององค์กร" อีกผลการวิเคราะห์ที่น่าสนใจ คือ "ความพร้อมขององค์กร" และ "แรงกดดันด้านสิ่งแวดล้อม" ส่งผลต่อ "ความตั้งใจในการนำมาใช้" โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "แรงกดดันด้านสิ่งแวดล้อม" ส่งผลในเชิงบวกต่อ "ความตั้งใจในการนำมาใช้" มากกว่า "ความพร้อมขององค์กร" นอกจากนี้ ผลจากการทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของแบบจำลองสมการโครงสร้าง โดยการวิเคราะห์ปัจจัยยืนยันหลายกลุ่ม (Multigroup Confirmatory Factor Analysis: MGCFA) แสดงให้เห็นว่าแบบจำลองนี้ สามารถนำไปใช้ในบริบทขององค์กรรัฐวิสาหกิจทั้ง 56 แห่ง ข้อค้นพบนี้นำมาใช้ในการพัฒนากรอบการนำการวิเคราะห์ทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นการสร้างองค์ความรู้ทั้งเชิงวิชาการและเชิงบริหาร โดยแบบจาลองนี้จะมีคุณค่ากับงานวิจัยเชิงประจักษ์ในอนาคต และยังเป็นประโยชน์ต่อผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ปฏิบัติงานที่มีบทบาทเป็นผู้กำหนดนโยบาย หรือผู้ริเริ่มเทคโนโลยีและนวัตกรรม สรุปได้ว่า การศึกษานี้ เป็นการพัฒนากรอบการนำการวิเคราะห์ทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรรัฐวิสาหกิจในระยะเริ่มต้น และผลการศึกษาจะผลักดันให้องค์กรรัฐวิสาหกิจนำการวิเคราะห์ทรัพยากรมนุษย์ไปใช้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรของตน และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันเหนือองค์กรอื่น ท้ายที่สุดองค์กรนั้นจะกลายเป็นองค์กรแห่งความยั่งยืน
Mahidol University. Mahidol University Library and Knowledge Center
Address: NAKHONPATHOM
Email: liwww@mahidol.ac.th
Role: Thesis Advisors
Role: Thesis Advisors
Role: Thesis Advisors
Created: 2020
Modified: 2025-04-17
Issued: 2025-04-17
eng
©copyrights
RightsAccess:
ใช้เวลา
0.015453 วินาที

Suchittra Pongpisutsopa
Title Contributor Type
Sotarat Thammaboosadee
Title Creator Type and Date Create
Somkiat Wattanasirichaigoon
Title Creator Type and Date Create
Descriptive and predictive data mining models for sepsis and septic shock patients treatments
มหาวิทยาลัยมหิดล
Sotarat Thammaboosadee;Somkiat Wattanasirichaigoon;Supaporn Kiattisin
Sakulrat Khunsoongnoen
วิทยานิพนธ์/Thesis
A two-stage text-to-emotion depressive disorder screening assistance from online community text ‪
มหาวิทยาลัยมหิดล
Sotarat Thammaboosadee;Somkiat Wattanasirichaigoon;Taweesak Samanchuen
Supawit Marerngsit
วิทยานิพนธ์/Thesis
Human resource analytics adoption framework for high-performance state-owned enterprises (HPSOEs)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Sotarat Thammaboosadee;Somkiat Wattanasirichaigoon;Taweesak Samanchuen
Suchittra Pongpisutsopa
วิทยานิพนธ์/Thesis
Taweesak Samanchuen
Title Creator Type and Date Create
Copyright 2000 - 2025 ThaiLIS Digital Collection Working Group. All rights reserved.
ThaiLIS is Thailand Library Integrated System
สนับสนุนโดย สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
328 ถ.ศรีอยุธยา แขวง ทุ่งพญาไท เขต ราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร. โทร. 02-232-4000
กำลัง ออน์ไลน์
ภายในเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 0
ภายนอกเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 2,495
รวม 2,495 คน

More info..
Database server :
Version 2.5 Last update 1-06-2018
Power By SUSE PHP MySQL IndexData Mambo Bootstrap
มีปัญหาในการใช้งานติดต่อผ่านระบบ UniNetHelp


Server : 8.199.132
Client : Not ThaiLIS Member
From IP : 216.73.216.149