การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในอาเซียน : การประยุกต์ใช้โมเดลสมการโครงสร้างการวิเคราะห์อภิมาน
The synthesis of research in quality of life on the elderly in Asean: using meta-analytic structural equation modeling
Abstract:
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจงานวิจัยเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในอาเซียน 2) เพื่อสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในอาเซียน โดยใช้การวิเคราะห์ อภิมาน และ 3) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบโมเดลสมการโครงสร้างการวิเคราะห์อภิมานคุณภาพชีวิตของ ผู้สูงอายุในอาเซียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ งานวิจัยเชิงสหสัมพันธ์และเชิงทดลอง ในรูปแบบของวารสารที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาตัวแปรคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุกลุ่มประเทศในอาเซียน ซึ่งตีพิมพ์ระดับนานาชาติเป็นภาษาอังกฤษและจัดทำโดยนักวิจัยชาวไทยและ/หรือชาวต่างชาติ ในฐานข้อมูลของสำนักการเรียนรู้ตลอดชีวิตพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังที่ตีพิมพ์ในระหว่าง เดือนมกราคม พ.ศ. 2549 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 ที่มีผลการวิจัยสมบูรณ์เพียงพอที่จะนำมา สังเคราะห์งานวิจัยด้วยการวิเคราะห์อภิมานและเป็นงานวิจัยที่ครอบคลุมงานวิจัยทางด้านการศึกษา ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านสังคมศาสตร์ และด้านมนุษยศาสตร์ จำนวน 108 เรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวกับคุณภาพชีวิต ของผู้สูงอายุในอาเซียน 2) แบบบันทึกข้อมูลงานวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ 3) แบบบันทึกข้อมูลงานวิจัย เชิงเปรียบเทียบ/ทดลอง และ 4) แบบประเมินคุณภาพงานวิจัยที่เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในอาเซียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ดังนี้ การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยเลขคณิต การวิเคราะห์ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน การหาค่าร้อยละ การวิเคราะห์ค่าดัชนีมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของ ค่าดัชนีมาตรฐานด้วยสถิติทดสอบกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน (t-test for Independent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) ด้วยสถิติทดสอบเอฟ (F-test) การวิเคราะห์การถดถอย พหุคูณ และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการสำรวจงานวิจัยเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในอาเซียนที่นำมาสังเคราะห์ทั้งหมด 108 เรื่องส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยของประเทศมาเลเซีย ตีพิมพ์ระหว่างปี พ.ศ.2555 - 2559 ตีพิมพ์ในฐานข้อมูล SpringerLink เป็นงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ สถานะของผู้จัดทำงานวิจัยหลัก ส่วนใหญ่เป็นอาจารย์/นักวิชาการ เป็นงานวิจัยที่มีเนื้อหาด้านปัจเจกบุคคล ศึกษากับกลุ่มตัวอย่างอายุ มากกว่า 60 ปีขึ้นไป กลุ่มตัวอย่างที่อาศัยอยู่ในบ้าน/ชุมชน มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อหาความสัมพันธ์ มีแบบแผนการวิจัยประเภทความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ไม่มีสมมติฐาน/ไม่ระบุสมมติฐาน มีวิธีการได้มาของกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการ Purposive มีการตรวจคุณภาพเครื่องมือด้วยการหาความเที่ยง ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล ใช้สถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัยมีจำนวนผู้วิจัยมีประมาณ 4 คน มีจำนวนตัวแปรตามประมาณ 3 ตัวแปร ส่วนตัวแปรต้นมีประมาณ 11 ตัวแปร จำนวนสมมติฐาน ที่ใช้ในงานวิจัย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.38 ข้อ มีจำนวนกลุ่มตัวอย่างน้อยที่สุด จำนวน 60 คน และมีจำนวน กลุ่มตัวอย่างมากที่สุด จำนวน 50,138 คน จำนวนรวมของเครื่องมีอมีประมาณ 2 ฉบับ ค่าดัชนีมาตรฐาน ของงานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.307 และคุณลักษณะงานวิจัยด้านคุณภาพ พบว่า ด้านการกำหนดปัญหาการวิจัย ด้านการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ด้านการรวบรวมข้อมูลและด้านการวิเคราะห์ข้อมูล การอภิปรายผล และการนำผลวิจัยไปใช้ประโยชน์ โดยรวมอยู่ในระดับดี 2. ผลการสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในอาเซียน โดยใช้การวิเคราะห์ อภิมาน พบว่า อิทธิพลของคุณลักษณะงานวิจัยด้านคุณภาพที่ส่งผลต่อค่าดัชนีมาตรฐาน อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ .05 ได้แก่ ด้านการกำหนดปัญหาการวิจัย ด้านการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และด้านการรวบรวมข้อมูล 3. ผลการพัฒนาและตรวจสอบโมเดลสมการโครงสร้างการวิเคราะห์อภิมานคุณภาพชีวิต ของผู้สูงอายุในอาเซียน พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเซิงประจักษ์ (X²=2.930, df = 2.00, X²/ df = 1.465, p = 0.231, GFI = 1.000, AG FI = 0.997, RMSEA = 0.008, RMR = 0.002) ตัวแปรด้านสังคมส่งอิทธิพลทางตรงต่อการสนับสนุนทางสาธารณสุข อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีค่าสัมประสิทธอิทธิพลเท่ากับ 0.764 ตัวแปรด้านสภาพแวดล้อมส่งอิทธิพลทางตรงต่อปัจเจก บุคคลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีค่าสัมประสิทธอิทธิพลเท่ากับ 0.695 ตัวแปรด้านสังคม สภาพแวดล้อม ปัจเจกบุคคล และการสนับสนุนทางสาธารณสุข ส่งอิทธิพลทางตรงต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในอาเซียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีค่าสัมประสิทธอิทธิพลเท่ากับ 0.120, 0.103, 0.414 และ 0.210 ตามลำดับ สังคมส่งอิทธิพลทางอ้อมต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในอาเซียนผ่าน การสนับสนุนทางสาธารณสุข อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีค่าสัมประสิทธอิทธิพลเท่ากับ 0.165 สภาพแวดล้อมส่งอิทธิพลทางอ้อมต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในอาเซียนผ่านปัจเจกบุคคล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีค่าสัมประสิทธอิทธิพลเท่ากับ 0.288 ซึ่งตัวแปรสาเหตุทั้งหมด ร่วมกันอธิบายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในอาเซียนได้ร้อยละ 71.90
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. สำนักหอสมุดกลาง
Email:
Lifelong@kmitl.ac.th
Role:
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
Role:
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม
©copyrights สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง