แจ้งเอกสารไม่ครบถ้วน, ไม่ตรงกับชื่อเรื่อง หรือมีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับเอกสาร ติดต่อที่นี่ ==>
หากไม่มีอีเมลผู้รับให้กรอก thailis-noc@uni.net.th ติดต่อเจ้าหน้าที่เจ้าของเอกสาร กรณีเอกสารไม่ครบหรือไม่ตรง

รายงานวิจัยเรื่องการประยุกต์ใช้วงจรเดมมิ่งในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวชุมชนบ้านเนินหอม
การประยุกต์ใช้วงจรเดมมิ่งในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวชุมชนบ้านเนินหอม
An application of deming cycle for tourism management in Ban Noenhom

Organization : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. คณะบริหารธุรกิจและอุตสาหกรรมบริการ
Email : thichakornk@bas.kmutnb.ac.th

Organization : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. คณะบริหารธุรกิจและอุตสาหกรรมบริการ
Email : premsiree.s@bas.kmutnb.ac.th
keyword: PDCA.
ThaSH: การท่องเที่ยวโดยชุมชน -- ไทย -- ปราจีนบุรี
Classification :.LCCS: G155.T5
; วงจรคุณภาพ
ThaSH: วิสาหกิจชุมชน -- ไทย -- ปราจีนบุรี
; วงจรเดมมิง
ThaSH: การจัดการธุรกิจชุมชน -- ไทย -- ปราจีนบุรี
ThaSH: นักท่องเที่ยว -- ไทย -- ทัศนคติ
ThaSH: ความพอใจของผู้บริโภค
ThaSH: การท่องเที่ยว -- การวางแผน
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการการท่องเที่ยวของชุมชนเนินหอม โดยประยุกต์ใช้วงจรเดมมิ่ง ผู้ให้ข้อมูลหลักแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ประชาชนในตำบลเนินหอมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการการท่องเที่ยว จำนวน 8 คน ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ผู้นำวิสาหกิจชุมชน และ 2) นักท่องเที่ยวอาสาสมัคร จำนวน 30 คน ทำการคัดเลือกจากนักท่องเที่ยวที่สนใจเป็นอาสาสมัคร อายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป เครื่องมือที่ใช้วิจัย คือ แบบการประชุมกลุ่มย่อย และแบบสอบถาม ทำการทดสอบคุณภาพของเครื่องมือ ด้วยค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ค่าดัชนีภาพรวม 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลวิจัย พบว่า ด้านการวางแผน (plan) ชุมชนจะดำเนินการตามเส้นทางการท่องเที่ยวที่ได้พัฒนาขึ้น และวางแผนฟื้นฟูกิจกรรมเน้นด้านวัฒนธรรม มอบหมายผู้เกี่ยวข้องประสานงานปรับปรุงภูมิทัศน์สำหรับรองรับนักท่องเที่ยว ด้านการปฏิบัติงาน (do) การวางแผนและการปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามแผน ชุมชนจึงได้ปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ด้านการติดตามผล (check) การจัดกิจกรรมการท่องเที่ยว พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ยกเว้นด้านความเหมาะสมของเส้นทางการท่องเที่ยวอยู่ในระดับมาก สำหรับปัญหาที่พบจากการรับนักท่องเที่ยว คือ ห้องน้ำ และที่นั่งพักสำหรับนักท่องเที่ยวมีไม่เพียงพอ ป้ายบอกทางแหล่งท่องเที่ยวยังไม่ชัดเจน วิทยากรชุมชนยังขาดเทคนิคการบรรยาย และความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวในการชมการสาธิต ผลจากการสนทนากลุ่มย่อย ได้มีข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง (act) คือ ทำการประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวใช้ห้องน้ำของวัด หรือใช้ห้องน้ำของกลุ่มที่มีความพร้อมก่อนที่จะท่องเที่ยวในกลุ่มต่อไป จัดทำเก้าอี้โดยใช้วัสดุจากธรรมชาติในท้องถิ่น ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำป้ายบอกทางแหล่งท่องเที่ยว ใช้โปสเตอร์บอร์ด มาช่วยในการบรรยายให้แก่นักท่องเที่ยว จัดพื้นที่สำหรับนักท่องเที่ยวนั่งชม แยกจากการสาธิตของชุมชนเพื่อป้องกันความปลอดภัย ผลการวิจัยในครั้งนี้ทำให้ชุมชนได้ทดลองรับนักท่องเที่ยวจริง เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และทราบแนวทางการปรับปรุงเพื่อรับนักท่องเที่ยวครั้งต่อไป เพื่อจะได้จัดเป็นทำเป็นมาตรฐานและขยายผลเชิงพาณิชย์
Abstract: This research was qualitative and quantitative, aimed at studying the tourism management of the Ban Noen Hom community by employing the Deming cycle. The key respondents came into 2 categories: 1) relevant people of Tambon Noen Hom to tourism management, 8 cases, 2) pilot voluntourists 30 cases were taken from interested tourists over the age of 20. The research instruments were a focus group and a questionnaire. They were tested for the tool’s quality with the Item-Objective Congruence Index (IOC), an index as a whole of 0.98. Data analysis used content analysis and descriptive statistics; frequency, percentage, and average. As a result, plan, the community carried out according to improved travel routes. Enhancing activities focused on culture. The relevant people on assignment coordinated for accommodating tourists. Do, arrangements, and operations didn’t go according to plan. Hence, this community made the change to deal with arising situations. Check by tourism activities, generally, the results were at the highest level, except the appropriateness of travel routes was at a high level. The problems of receiving tourists were insufficient toilets and resting areas, the unclear sign of tourism locations, poor presenting techniques by the community guides, and tourist safety while seeing a demonstration. Act, the focus group came up with suggestions for improvement, act. They were; communicating with tourists to use the toilet of a temple or ready group before moving to the next group, making tourist resting seats out of local natural materials, coordinating with relevant agencies to the sign of tourism locations, applying a poster or board to support the presentation, and setting demonstration area as a safety measure. As a consequence of this research, the community had piloted receiving real tourists, hence the recognition of problems and approaches to coming of tourists. These brought about standardization and commercialization in tourism.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. สำนักหอสมุดกลาง
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: library@kmutnb.ac.th
Role: ผู้ให้ทุน
Created: 2565
Modified: 2567-09-12
Issued: 2567-09-12
งานวิจัย/Research report
application/pdf
tha
©copyrights มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
RightsAccess:
ลำดับที่.ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูลจำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด
1 B17658676.pdf 6.62 MB19 2025-06-03 15:49:32
ใช้เวลา
0.018179 วินาที

ทิชากร เกษรบัว
Title Contributor Type
รายงานการวิจัยแนวทางการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนเนินหอมเพื่อส่งเสริมการตลาดของธุรกิจโรงแรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ทิชากร เกษรบัว;เปรมสิรี สุขเปรมปรี
งานวิจัยนี้อยู่ภายใต้โครงการสนับสนุนทุนขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมาย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ประจำปีงบประมาณ 2564.
งานวิจัย/Research report
รายงานวิจัยเรื่องการประยุกต์ใช้วงจรเดมมิ่งในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวชุมชนบ้านเนินหอม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ทิชากร เกษรบัว;เปรมสิรี สุขปรีเปรม
งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจากคณะบริหารธุรกิจและอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
งานวิจัย/Research report
งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจากโครงการวิจัยทั่วไป คณะบริหารธุรกิจและอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
Title Creator Type and Date Create
Copyright 2000 - 2025 ThaiLIS Digital Collection Working Group. All rights reserved.
ThaiLIS is Thailand Library Integrated System
สนับสนุนโดย สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
328 ถ.ศรีอยุธยา แขวง ทุ่งพญาไท เขต ราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร. โทร. 02-232-4000
กำลัง ออน์ไลน์
ภายในเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 0
ภายนอกเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 690
รวม 690 คน

More info..
นอก ThaiLIS = 35,335 ครั้ง
มหาวิทยาลัยสังกัดทบวงเดิม = 22 ครั้ง
มหาวิทยาลัยราชภัฏ = 8 ครั้ง
สถาบันพระบรมราชชนก = 5 ครั้ง
หน่วยงานอื่น = 2 ครั้ง
มหาวิทยาลัยเอกชน = 1 ครั้ง
รวม 35,373 ครั้ง
Database server :
Version 2.5 Last update 1-06-2018
Power By SUSE PHP MySQL IndexData Mambo Bootstrap
มีปัญหาในการใช้งานติดต่อผ่านระบบ UniNetHelp


Server : 8.199.133
Client : Not ThaiLIS Member
From IP : 216.73.216.48