แจ้งเอกสารไม่ครบถ้วน, ไม่ตรงกับชื่อเรื่อง หรือมีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับเอกสาร ติดต่อที่นี่ ==>
หากไม่มีอีเมลผู้รับให้กรอก thailis-noc@uni.net.th ติดต่อเจ้าหน้าที่เจ้าของเอกสาร กรณีเอกสารไม่ครบหรือไม่ตรง

การกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟต์ในก๊าซชีวภาพโดยวิธีดักจับด้วยน้ำร่วมกับการดูดซับด้วยถ่านกัมมันต์
Removal of hydrogen sulfide in biogas by water scrubbing and activated carbon

ThaSH: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์. วศ.ม. (การจัดการวิศวกรรมและเทคโนโลยี) 2562
Classification :.LCCS: TP359.B48
ThaSH: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สาขาการจัดการวิศวกรรมและเทคโนโลยี -- วิทยานิพนธ์
ThaSH: ก๊าซชีวภาพ
ThaSH: ไฮโดรเจนซัลไฟด์
ThaSH: คาร์บอนกัมมันต์ -- การใช้ประโยชน์
ThaSH: การดูดซับ
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างอุปกรณ์กำจัดไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) ในก๊าซชีวภาพ โดยใช้ตัวดูดซับคือน้ำร่วมกับถ่านกัมมันต์ ใช้ท่ออะคริลิคที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 100 มิลลิเมตร และยาว 1,000 มิลลิเมตร การกำจัดแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยส่วนที่ 1 ใช้วิธีการดักจับไฮโดรเจนซัลไฟด์ด้วยน้ำ และส่วนที่ 2 ใช้การดูดซับด้วยถ่านกัมมันต์ โดยถ่านกัมมันต์ได้ทำการปรับปรุงประสิทธิภาพในการกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ทำการทดลองโดยการปรับเปลี่ยนค่าความเป็นกรดด่างของน้ำและความดันของก๊าซชีวภาพ และค่าเวลาในการกักเก็บก๊าซชีวภาพ เพื่อหาค่าที่เหมาะสมในการกำจัดไฮโดรเจนซัลไฟด์ได้ดีที่สุด โดยก๊าซชีวภาพ ที่ใช้ทดลองมีการปนเปื้อนของไฮโดรเจนซัลไฟด์ 494 ppm และค่ามีเทน 47-64% การทดลองแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 3 กรณี โดยกรณีที่ 1 ทำการปรับเปลี่ยนความดันของก๊าซชีวภาพก่อนเข้าอุปกรณ์กำจัดที่ 2 3 และ 4 บาร์ ค่าความเป็นกรดด่างของน้ำ 9 กรณีที่ 2 ทำการปรับเปลี่ยนความดันของก๊าซชีวภาพก่อนเข้าอุปกรณ์กำจัดที่ 2 3 และ 4 บาร์ และทำการปรับค่าความเป็นกรดด่างของน้ำที่ 7 8 และ 9 ตามลำดับ และกรณีที่ 3 ปรับค่าเวลาในการกักเก็บก๊าซชีวภาพ 30, 60, 120, 180, 240 และ 300 วินาที ตามลำดับ จากผลการทดลองพบว่าค่าความเป็นกรดด่างของน้ำเท่ากับ 9 และความดันของก๊าซชีวภาพ 4 บาร์คือค่าที่เหมาะสมที่สุดในการกำจัด โดยสามารถกำจัดไฮโดรเจนซัลไฟด์ได้สูงสุด 86.03% และเวลาในการกักเก็บก๊าซที่เพิ่มขึ้นยังส่งผลให้ประสิทธิภาพในการกำจัดเพิ่มสูงขึ้น แต่พบว่าในช่วงเวลาจาก 30-60 วินาที มีประสิทธิภาพในการกำจัดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากนั้นหลังจาก 60 วินาทีถึง 300 วินาทีความสามารถในการกำจัด ไฮโดรเจนซัลไฟด์เพิ่มขึ้นเล็กน้อย วิธีนี้เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่ใช้ในการบำบัดก๊าซชีวภาพเพื่อกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์และลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อเพิ่มปริมาณมีเทนให้สูงขึ้น This research aims to design and build hydrogen sulfide removal equipment in biogas by using water scrubbing and activated carbon. The removal equipment was constructed by acrylic pipe with a diameter of 100 mm, thickness of 3 mm and length of 1,000 mm. The equipment has 2 parts: Part 1: remove hydrogen sulfide by using water. Part 2: Adsorption with activated carbon, activated carbon has improved the efficiency by sodium hydroxideThe experiment was carried out by adjusting the pH of water, the pressure of biogas and gas retention time to find the optimum value for the removal of hydrogen sulfide. The experiment divided the analysis in 3 cases: Case 1 adjusting the pressure of the biogas before entering the removal device 2, 3 and 4 bars and the pH of water 9. Case 2 Adjust the pressure of the biogas before enter the removal equipment 2, 3 and 4 bars and adjust the pH value of water 7, 8 and 9 respectively. Case 3 adjust the gas retention time 30, 60, 120, 180, 240 and 300 seconds, respectively. From the results, it was found that the pH of water is 9 and the pressure of the biogas is 4 bars is the optimal removal efficiency of hydrogen sulfide, it can be eliminate hydrogen sulfide up to 86.03% and the increase of gas retention time also results in higher removal efficiency, but found that in the period from 30-60 seconds, the efficiency of removal increased rapidly, Then after 60 seconds to 300 seconds the efficiency of removal hydrogen sulfide increased slightly. This method is another way used to treat biogas to remove hydrogen sulfide gas and reduce carbon dioxide to increase the amount of methane.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สำนักหอสมุด
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: tdckulib@ku.ac.th
Role: อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก
Created: 2562
Modified: 2567-06-17
Issued: 2567-06-17
CallNumber: TP359.B48.ย19
tha
©copyrights
RightsAccess:
ลำดับที่.ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูลจำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด
1 yodphet-kho-all.pdf 3.61 MB
ใช้เวลา
0.02811 วินาที

ยอดเพชร โคตรลือชา
Title Contributor Type
สังคม ศรีสมพร
Title Creator Type and Date Create
Copyright 2000 - 2025 ThaiLIS Digital Collection Working Group. All rights reserved.
ThaiLIS is Thailand Library Integrated System
สนับสนุนโดย สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
328 ถ.ศรีอยุธยา แขวง ทุ่งพญาไท เขต ราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร. โทร. 02-232-4000
กำลัง ออน์ไลน์
ภายในเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 0
ภายนอกเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 2,320
รวม 2,320 คน

More info..
Database server :
Version 2.5 Last update 1-06-2018
Power By SUSE PHP MySQL IndexData Mambo Bootstrap
มีปัญหาในการใช้งานติดต่อผ่านระบบ UniNetHelp


Server : 8.199.136
Client : Not ThaiLIS Member
From IP : 216.73.216.149