Abstract:
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโครงข่ายเส้นทางการท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาติ ขุนสถาน จังหวัดน่าน โดยการสำรวจรวบรวมข้อมูลภาคสนามเพื่อประเมินศักยภาพและจำแนก ช่วงชั้นโอกาสด้านนันทนาการของแหล่งท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติขุนสถานและแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง รวม 15 แห่ง และรวบรวมข้อมูลความต้องการของนักท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโครงข่ายการท่องเที่ยวโดยใช้แบบสอบถามนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ไปเยือนอุทยานแห่งชาติขุนสถาน จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย
ผลการศึกษาพบว่าในอุทยานแห่งชาติขุนสถานและพื้นที่ใกล้เคียงเป็นแหล่งท่องเที่ยวประเภทผจญภัย 8 แห่ง โดยน้ำตกลีหลวงมีศักยภาพสูงสุด รองลงมาได้แก่ เส้นทางศึกษาธรรมชาติดอยภูคา และน้ำตกตาดลี ส่วนที่เหลือเป็นแหล่งท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติทั่วไป 6 แห่ง โดยดอยแม่จอกมีศักยภาพสูงสุด รองลงมาคือสถานีวิจัยต้นน้ำขุนสถานและดอยเสมอดาว และแหล่งท่องเที่ยวประเภทการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอีก 1 แห่ง คือ โครงการหลวงขุนสถาน มีระดับศักยภาพค่อนข้างสูง ผลของการจำแนกช่วงชั้นโอกาสด้านนันทนาการพบว่า มีแหล่งท่องเที่ยวที่ให้ประสบการณ์แบบสันโดษ (P) จำนวน 2 แห่ง แบบกึ่งสันโดษไม่ใช้ยานยนต์ (SPNM) 5 แห่ง แบบกึ่งสันโดษใช้ยานยนต์ (SPM) 7 แห่ง และแบบชนบท (R) 1แห่ง ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวดังกล่าวสามารถนำมาพัฒนาเป็นโครงข่ายเส้นทางการท่องเที่ยวโดยเชื่อมโยงด้วยเส้นทางคมนาคมทางบกและรูปแบบการท่องเที่ยวที่สอดคล้องกันโดยโครงข่ายที่มีความเหมาะสมที่สุด คือ โครงข่ายเส้นทางการท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติขุนสถาน-อุทยานแห่งชาติศรีน่านซึ่งเป็นการท่องเที่ยวธรรมชาติทั่วไป และโครงข่ายเส้นทางท่องเที่ยวภายในอุทยานแห่งชาติขุนสถานซึ่งเป็นการท่องเที่ยวแบบผจญภัย
This research aimed to develop the tourism route network for Khun Sathan National Park in Nan Province. Data collection was carried out by field survey of 15 tourism sites to determine tourism resource potential and recreation opportunity spectrum (ROS). Additionally, questionnaire survey of 400 Thai tourists visiting Khun Sathan National Park was employed to collect tourist needs and other relevant information for tourism route network development. Data was analysed by descriptive statistics such as percentage and mean.
Regarding the tourism site potential, 8 sites should be developed for adventure tourism. Among them, the Lee Luang waterfall, Doi Phu Kha nature trail, and Tad Lee waterfall are the top three sites rated as relatively high potential for development. The other 6 sites should be developed as conventional nature tourism Among the top three sites, Doi Mae Jok, Research Unit of Khun Sathan head watershed, and Doi Samer Dao had rated as high potentials. Lastly, the Khun Sathan Royal project holding relatively high potential should be developed as ecotourism site. The results also found that the study sites offered various experiences ranging from 2 primitive (P), 5 semi-primitive non motorized (SPNM), 7 semi primitive motorized (SPM) and 1 rural (R) experiences. Those tourism sites, connected by mode of transportation and recreational experiences be able to form 2 appropriate tourism route networks that are the tourism route connecting Khun Sathan National Park and Sri Nan National Park offering the conventional nature tourism experience and the tourism route network within the Khun Sathan National Park offering the adventure experience.