Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของแพกโคลบิวทราชอลต่อการเจริญเติบโตและตัวชี้วัด การทนการขาดน้ำของไม้ระดับต่ำ 4 ชนิดสำหรับสวนกลางแจ้ง ได้แก่ ผกากรองเลื้อย [Lantana montevidensis (Spreng.) Briq.], เฟิร์นใบมะขาม [Nephrolepis cordifolia (L.) C. Presl] ว่าน กาบหอย (Tradescantia spathacea Sw.) และกระดุมทองเลื้อย [Wedelia trilobata (L.) Hitchc.] แบ่งเป็น 2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 ศึกษาผลของแพกโคลบิวทราชอลต่อการเจริญเติบโตและตัวชี้วัดแสดงลักษณะทนการขาดน้ำของไม้ระดับต่ำขณะได้รับน้ำตามปกติโดยให้แพกโคลบิวทราชอล ความเข้มข้น 0, 25, 50, 75 และ100 ppm วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวนสิ่งทดลองละ 5 ซ้ำ ปรับสภาพพืชในพื้นที่ทดลองเป็นเวลา 2 สัปดาห์โดยมีการให้น้ำทุกวัน จากนั้นให้แพกโคลบิวทราชอลที่ปริมาตร 40 มิลลิลิตรต่อกระถาง โดยใช้วิธีราดลงดินเพียงครั้งเดียว ให้น้ำต่อเนื่องทุกวันเป็นเวลา 7 สัปดาห์ การทดลองที่ 2 ศึกษาผลของแพกโคลบิวทราชอลต่อการทนการขาดน้ำและอายุการใช้งานของไม้ระดับต่ำภายใต้สภาวะขาดน้ำ (งดการให้น้ำ) ทำการทดลองที่แปลงทดลอง 1 ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ ตั้งแต่เดือน ธันวาคม 2561 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2562 จากการทดลองที่ 1 พบว่า แพกโคลบิวทราชอลส่งผลให้ ความสูงต้นของเฟิร์นใบมะขาม และความกว้างทรงพุ่มของกระดุมทองเลื้อยลดลง การให้แพกโคลบิวทราชอลความเข้มข้น 25 ppm ลดความหนาแน่นของปากใบในผกากรองเลื้อย และการใช้สารความเข้มข้น 25-75 ppm สามารถรักษาปริมาณน้ำในใบของว่านกาบหอยได้ดีกว่าชุดควบคุม และมีความแตกต่างทางสถิติ สำหรับการทดลองที่ 2 พบว่า แพกโคลบิวทราชอลไม่มีผลต่อการทนการขาดน้ำของผกากรองเลื้อย เฟิร์นใบมะขาม และกระดุมทองเลื้อย แต่แพกโคลบิวทราชอลความเข้มข้น 25 ppm ช่วยเพิ่มการทนแล้งของว่านกาบหอยได้ 1 วัน ในขณะที่ความเข้มข้น 25-75 ppm ช่วยให้กระดุมทองเลื้อยมีความสวยงามมากกว่าต้นที่ไม่ได้รับสาร
The objective of this research was to study the effect of paclobutrazol on growth and water-deficit tolerance of 4 low plants for outdoor gardens; Lantana montevidensis Spreng. Briq., Nephrolepis cordifolia (L.) C. Presl, Tradescantia spathacea Sw. and Wedelia trilobata (L.) Hitchc. This study was divided into 2 experiments. Experiment 1 was studied the effects of paclobutrazol on growth and water-deficit tolerance indicators. A completely randomize design was conducted with 5 replications per treatment. Plants were acclimatized in an experimental site for 2 weeks and irrigated every day. Paclobutrazol concentrations of 0, 25, 50, 75, and 100 ppm were applied at 40 ml of volume per pot by using soil-drench application. Irrigation was continually applied every day for 7 weeks. Experiment 2 was studied the effects of paclobutrazol on water-deficit tolerance indicators and the lifetime of plants under drought conditions. (No watering). The experiments were conducted at the 1st experimental field, Department of Horticulture, Faculty of Agriculture, Kasetsart University, Bangkok from December 2018 to February 2019. Experiment 1 showed that the height of N. cordifolia and the canopy width of W. trilobata were reduced by paclobutrazol application. The stomatal density of L. montevidensis was reduced by 25 ppm of paclobutrazol concentration. 25-75 ppm of paclobutrazol concentration could maintain relative water content in the leaves of T. spathacea. For experiment 2, it was shown that paclobutrazol did not affect L. montevidensis, N. cordifolia, and W. trilobata. But 25 ppm of paclobutrazol application could increase the water-deficit tolerance of T. spathacea by 1 day. While the 25-75 ppm concentration enhanced W. trilobata to be more beautiful than the untreated plants.