Abstract:
การวิจัยเรื่องการรับรู้คุณค่าของนักท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวในจังหวัดนครพนม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อการตัดสินใจเดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดนครพนม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยว 3) เพื่อศึกษาการรับรู้คุณค่าของนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวในจังหวัดนครพนมกลุ่มประชากร เป้าหมายคือ กลุ่มนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวในจังหวัดนครพนม โดยการสำรวจจากข้อมูลสถิติ นักท่องเที่ยวประจำปี 2560 มีจำนวนโดยประมาณ 1,074,937 คน โดยจะใช้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น จำนวน 400 คน โดยการใช้ สูตรการคำนวณหากลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีของ Taro Yamane จากประชากรทั้งหมดจำนวน 1,074,937 คน ที่ระดับความเชื่อมั่น 5 เปอร์เซ็น หรือ 0.05 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วยการแจงแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) การวิเคราะห์ด้วยค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) , สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานทางสถิติ ประกอบด้วย การทดสอบวิธีทางสถิติ ค่า t-test และค่า F-test ชนิดการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA)และ สถิติที่ใช้ในการทดสอบค่าสถิติ ค่าค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ประกอบด้วยการวิเคราะห์ถดถอยอย่างง่ายและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันมีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวที่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติขณะที่การรับรู้คุณค่าของนักท่องเที่ยวด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ (B = 0.128) ตามด้วยด้านธรรมชาติ (B = 0.207) และด้านการเกษตร (B = 0.288) มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจมาท่องเที่ยวในจังหวัดนครพนม
The purposes of the research were:1) to study the opinions of tourists on decision making on traveling in Nakhon Phanom; 2) to investigate the demographic factors affecting tourists decision-making 3) to study the perceived value of tourists visiting Nakhon Phanom province. In this research, the focus target population included the tourists visiting Nakhon Phanom. According to a survey of 2560 visitor statistics, the number is estimated at 1,074,937. The sample size was 400 of tourists determined through Taro Yamane's formula from the total population of 1,074,937, at the confidence level of 5 percent or 0.05. The instrument used for data collection was a five-point scale questionnaire. Statistics used in data analysis were descriptive statistics, including frequency, percentage, mean, and standard deviation (SD). The statistical hypothesis test consisted of t-test, F-test and one-way ANOVA. In addition, Pearson correlation coefficient analysis consisted of simple regression and multiple regression analysis. The finding revealed that different demographic factors produced different effects on tourists decision-making on visiting Nakhon Phanom At the statistical significance level, while the perceived value of tourists in the physical environment (B = 0.128) followed by the natural aspect (B = 0.207) and agriculture (B = 0.288) influencing the decision to travel in the province Nakhon Phanom.