Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสำรวจข้อมูลทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงกีฬาและสถานการณ์การท่องเที่ยวเชิงกีฬาของจังหวัดระยอง และ 2) เสนอรูปแบบการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการท่องเที่ยวเชิงกีฬาเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดระยอง การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ และข้อมูลเชิงปริมาณได้จากนักท่องเที่ยวเชิงกีฬา จำนวน 400 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม การประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ โดยการสนทนากลุ่มจากนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ด้านการจัดการท่องเที่ยวและกีฬา จำนวน 7 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. ทรัพยากรและสถานการณ์การท่องเที่ยวเชิงกีฬาของจังหวัดระยอง พบว่า จังหวัดระยองมีความพร้อมในการจัดการท่องเที่ยวเชิงกีฬาอยู่ในระดับดี นโยบายทางด้านการท่องเที่ยวและกีฬาถูกขับเคลื่อนอย่างตื่อเนื่องและได้ประโยชน์จากการถูกยกระดับให้เป็นพื้นที่เขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ จึงมีโอกาสที่ดีในการพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น แหล่งท่องเที่ยว การคมนาคมขนส่ง มีความร่วมมือในการพัฒนาสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวรูปแบบต่างๆที่หลากหลาย
2. ใช้กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงกีฬาเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดระยอง (สร้างมูลค่าเพิ่ม)ประกอบด้วย นโยบายแผนพัฒนาด้านการท่องเที่ยว สถานการณ์ท่องเที่ยวเชิงกีฬาของจังหวัด กระบวนการบริหารจัดการและการตลาด โดยมีปัจจัยความสำเร็จ คือ 1) การเลือกชนิดกีฬาที่เหมาะสมเพื่อสร้างความโดดเด่น 2) การร่วมทุนกับภาคเอกชน 3) สร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมของคนในท้องถิ่น และ 4) การจัดทำปฏิทินการท่องเที่ยวและการกีฬาให้มีความสอดคล้องกัน ปัจจัยเหล่านี้จะช่วยจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงกีฬา พัฒนาสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวเชิงกีฬาที่มีคุณภาพสู่นักท่องเที่ยว นำมาซึ่งรายได้และมูลค่าทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้น ข้อค้นพบจากการวิจัยครั้งนี้ จังหวัดระยองสามารถนำไปพิจารณาดำเนินการเพื่อให้เกิดการปฏิบัติอย่างเป็นรูปแบบ และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงกีฬาต่อไป
The purposes of this research were 1) To study and explore sports tourism resources and sports tourism situation in Rayong province and 2) Presenting a value creation model by sports tourism for Rayong province. Collect data from literature review. Quantitative data obtained from 400 tourists by accidental sampling by using a questionnaires. Qualitative data based on indepth interviews with 5 experts by random sampling by using an interview forms. Assessing the suitability and feasibility of the model by group discussions from experts in economics, tourism and sport, 7 persons. The research found that 1. Sports tourism resources and situations in Rayong province, found that Rayong province is well equipped to manage sports tourism at a good level. Tourism and sports policies are continuously driven and benefit from being upgraded to Easturn Economic Corridor (EEC). Therefore has a good opportunity to develop basic utilities such as tourist attractions, transportation. There is a cooperation in the development of tourism products and services.
2. Creating value added for sports tourism, consisting of policies, tourism development plans sports tourism situation of the province management and marketing processes with key success factors: 1) Choosing the right sport type to create uniqueness 2) Joint venture with the private sector 3) Building awareness and participation of local people and 4) Making travel and sports calendars to have consistency. These factors will help manage sports tourism resources. Develop quality sporting goods and services to tourists Bring higher income and economic value. The findings from this research Rayong province can be considered to be implemented in order to form practices and contribute to the development of sports tourism.