Abstract:
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพของสวนรุกขชาติปรุใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ในการเป็นแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้บริหารของโรงเรียนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ต่อความต้องการใช้ประโยชน์สวนรุกขชาติปรุใหญ่ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ รวมถึงเสนอแนะรูปแบบการพัฒนา โดยรวบรวมข้อมูลจากการสำรวจและประเมินศักยภาพโดยใช้แบบประเมินศักยภาพเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ แล้วใช้สมการถ่วงน้ำหนักวิเคราะห์ศักยภาพความเหมาะสมในการเป็นแหล่งเรียนรู้จากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 390 คน ครูกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ จำนวน 144 คน โดยใช้แบบสอบถาม และใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกสัมภาษณ์ผู้บริหาร 11โรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการประเมินศักยภาพพื้นที่ จำนวน 21 ตัวชี้วัดย่อย แบ่งเป็นปัจจัยด้านพื้นที่และทรัพยากรเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติพบว่ามีศักยภาพสูง และปัจจัยด้านการบริหารจัดการมีศักยภาพค่อนข้างต่ำ พื้นที่มีค่า คะแนนรวม 1.93 คะแนน จัดว่ามีศักยภาพค่อนข้างสูงในการรองรับกิจกรรมการเรียนรู้ และสามารถพัฒนาได้ เนื่องจากฐานต้นทุนทางทรัพยากรมีศักยภาพสูง ความคิดเห็นด้านความต้องการมาใช้ประโยชน์ในสวนรุกขชาติ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ซึ่งนักเรียนและครูมีความต้องการมาเรียนรู้ที่สวนรุกขชาติปรุใหญ่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.21 และ 3.10 ตามลำดับ ต้องการรูปแบบการสื่อความหมายแบบใช้คนประกอบกับคู่มือศึกษาธรรมชาติ ในรูปแบบกิจกรรมค่ายเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แบบค้างแรม 1 คืน เสนอแนะแนวทางพัฒนาเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสำหรับนักเรียนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา และพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในการเป็นวิทยากรสื่อความหมายธรรมชาติรวมถึงเตรียมกิจกรรมสร้างสรรค์และคู่มือศึกษา ธรรมชาติเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจและสร้างสำนึกดีด้านสิ่งแวดล้อมแก่เยาวชน
. The objectives of this study are 1) to assess the potential of Pruyai Arboretum to be a nature education site, 2) study opinions and needs of students, teachers, and school administrators regarding Pruyai arboretum as nature learning sites , 3) to propose development schemes for Pruyai arboretum to become nature education site. Site potential survey was performed by using the assessment form for nature education site developed in this study and data was analyzed by weighting score method. The opinion survey was carried out at eleven schools located in Muang District, Nakhon Ratchasima Province. Opinions and needs of 390 students and 144 teachers were collected by questionnaires, while in-depth interview was conducted with 11 school administrators. Data was analyzed by descriptive statistics. The results showed that the site potential for nature education was relatively high whereas the site administration score was low. However, the overall score was comparatively high with score 1.93from 3.0. These finding insisted that Pruyai Arboretum can be developed to be nature education site since the potential on resource aspect was high. Moreover, the study of teachers and students opinion and needs also revealed their strongly desire to learn nature and environment conservation at Pruyai Arboretum with score 3.21 and 3.10 respectively. They also needed in person interpretation together with self-nature learning manual. Thus, the development of Pruyai Arboretum to be nature education site was proposed emphasizing on nature education program for 1night, human capacity building for creating good interpreter at Pruyai Arboretum nature education site must be done as well as creative nature learning activities with nature learning manual should be provided.