Abstract:
ในการศึกษาวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาหาคุณสมบัติทางฟิสิกส์และทางกล ของไม้สักตัดขยายระยะอายุ 15 และ 25 ปี โดยใช้วิธีทดสอบตามมาตรฐาน ISO (International Organization for Standardization) ได้ทำการทดสอบเนื้อไม้ที่ระดับความสูงแตกต่างกัน 3 ระดับ คือ โคนต้น ลำต้น และส่วนบน และวางแผนการทดลองแบบสุ่มซ้อน (Nested Designs) ผลการทดลองพบว่า ไม้สักตัดขยายระยะอายุ 15 ปี มีค่าความแข็งแรงโดยรวมสูงกว่า ไม้สัก ตัดขยายระยะอายุ 25 ปี อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นค่าแรงอัดตั้งฉากเสี้ยนและค่าความแข็ง ด้านสัมผัส โดยค่าคุณสมบัติทางฟิสิกส์เฉลี่ยของไม้สักตัดขยายระยะอายุ 15 ปี และ 25 ปี พบว่า มีค่าความหนาแน่น 635.12 และ 590.83 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ความถ่วงจำเพาะ 0.57 และ 0.53 การขยายตัวด้านรัศมีอยู่ที่ 2.98 และ 3.13 เปอร์เซ็นต์ การขยายตัวด้านสัมผัส 5.10 และ 5.38 เปอร์เซ็นต์ การขยายตัวตามปริมาตร 8.23 และ 8.69 เปอร์เซ็นต์ ค่าการหดตัวด้านรัศมีอยู่ที่ 2.89 และ 3.04 เปอร์เซ็นต์ การหดตัวด้านสัมผัส 4.84 และ 5.10 เปอร์เซ็นต์ การหดตัวตามปริมาตร 7.60 และ 7.98 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ค่าคุณสมบัติทางกลเฉลี่ย พบว่ามีค่าความต้านแรงดัด เท่ากับ 140.73 และ 130.08 เมกะปาสคาล มอดุลัสยืดหยุ่น เท่ากับ 12417.41 และ 13365.30 เมกะปาสคาล แรงอัดขนานเสี้ยน เท่ากับ 62.68 และ 60.19 เมกะปาสคาล แรงอัดตั้งฉากเสี้ยน เท่ากับ 28.94 และ 22.50 เมกะปาสคาล แรงเฉือนขนานเสี้ยน เท่ากับ 11.33 และ 10.78 เมกะปาสคาล ความแข็งด้านหน้าตัด 6.23 และ 4.94 กิโลนิวตัน ความแข็งด้านสัมผัส เท่ากับ 6.33 และ 5.04 กิโลนิวตัน ความแข็งด้านรัศมี 5.38 และ 4.23 กิโลนิวตัน ตามลำดับ ซึ่งค่าความแข็งแรงที่ระดับความสูงต่างกันมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
In this study, physical and mechanical properties of plantation thinned teak 15 and 25 years old were examined. The physical and mechanical properties were tested according to ISO standard. The specimens were tested at three different positions are the bottom, middle and top each position 120 cm in length and Nested designs were used for the analysis of variance. The results are compared to the strength of the wood from various positions. The results indicate that mechanical properties of 15 years old thinned teak were more valuable than 25 years old are not statistically significant unless the compression perpendicular to grain and tangential section hardness. The strength of each position were statistically significant. The average physical properties of thinned teak 15 and 25 years old found the density were 635.12 and 590.83 kg/m3 specific gravity were 0.57 and 0.53 the radial swelling were 2.98% and 3.13%, tangential swelling were 5.10% and 5.38%, volumetric swelling were 8.23% and 8.69%. The radial shrinkage were 2.89% and 3.04%, the tangential shrinkage were 4.84% and 5.10%, volumetric shrinkage were 7.60% and 7.98% respectively. The mechanical properties such as modulus of rupture were 140.73 and 130.08 MPa, modulus of elasticity were 12417.41 and 13365.30 MPa, compression parallel to grain were 62.68 and 60.19 MPa, compression perpendicular to grain are 28.94 and 22.50 MPa, shear strength were 11.33 and 10.78 MPa, longitudinal hardness were 6.23 and 4.94 kN, tangential hardness were 6.33 and 5.04 kN, radial hardness were 5.38 and 4.23 kN, respectively. The physical and mechanical properties of wood decreasing along with the stem height were statistically significant