ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ COVID-19 กรุงเทพมหานคร
Organization :
สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน ภาควิชําการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Abstract:
การวิจัยแบบพรรณนาเชิงทำนายนี้ เพื่อศึกษาพฤติกรรมป้องกันการกลับเป็นซ้ำ และปัจจัยที่มีอิทธิพลของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ประยุกต์ PRECEDE-PROCEED เป็นกรอบแนวคิด กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 148 ราย ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอนจากชุมชนในกรุงเทพมหานคร เครื่องมือรวบรวมข้อมูล คือ 1) ลักษณะประชากร 2) ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน 3) ความรอบรู้ด้านสุขภาพ 4) การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการกลับเป็นซ้ำ 5) การเข้าถึงบริการสุขภาพ 6) การสนับสนุนทางสังคม และ 7) พฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองซ้ำเครื่องมือที่ 3-7 มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา .80, 1.00, .80, .80 และ .92 ตามลำดับ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค .96, .78, .76, .73 และ .73 ตามลำดับ วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัย ผู้ป่วยมีพฤติกรรมป้องกันการกลับเป็นซ้ำระดับมาก (Mean 73.62 ± 8.46) อายุ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการกลับเป็นซ้ำ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ การเข้าถึงบริการสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคมจากอาสาสมัครสาธารณสุข เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อพฤติกรรมป้องกันการกลับเป็นซ้ำ สามารถร่วมอธิบายได้ ร้อยละ 45.20 (adjR2 = .452) เพื่อให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมป้องกันที่เหมาะสม ควรส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ กํารรับรู้โอกําสกลับเป็นซ้ำ การเข้าถึงบริการสุขภาพ โดยคำนึงถึงอายุของผู้ป่วย และเพิ่มพูนความสามารถแก่อาสาสมัครสาธารณสุข
ห้องสมุดมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
Email:
nmu_library@nmu.ac.th
Role:
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Role:
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
BibliograpyCitation :
วารสารเกื้อการุณย์ ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2566 หน้า 283-297
©copyrights มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช