Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเกณฑ์การประเมินสมรรถนะข้ามวัฒนธรรมของผู้ปฏิบัติงานด้านวัฒนธรรม คณะผู้วิจัยได้กำหนดวิธีดำเนินการวิจัยไว้ 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การสังเคราะห์ประเด็นแนวโน้มที่เป็นไปได้ของเกณฑ์การประเมิน ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การพิจารณา 2) การพัฒนากรอบการประเมินสมรรถนะข้ามวัฒนธรรมของผู้ปฏิบัติงานด้านวัฒนธรรมด้วยเทคนิคเดลฟายอิเล็กทรอนิกส์ และ 3) การวัดฉันทามติของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญโดยใช้ทฤษฎีรัฟเซตและจัดลำดับและน้ำหนักความสำคัญของด้าน และตัวบ่งชี้ ด้วยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า เกณฑ์การประเมินสมรรถนะข้ามวัฒนธรรมของผู้ปฏิบัติงานด้านวัฒนธรรม ประกอบด้วย 3 ด้าน 8 ตัวบ่งชี้ 80 เกณฑ์การพิจารณา ได้แก่ 1) ด้านเจตคติข้ามวัฒนธรรม 2) ตัวบ่งชี้ 20 เกณฑ์การพิจารณา) 2) ด้านทักษะสมรรถนะข้ามวัฒนธรรม (4 ตัวบ่งชี้ 40 เกณฑ์การพิจารณา) 3) ด้านความรู้ความเข้าใจทางวัฒนธรรม (2 ตัวบ่งชี้ 20 เกณฑ์การพิจารณา) สมรรถนะข้ามวัฒนธรรมแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ตั้งแต่ระดับที่ 1 (ควรปรับปรุง) ถึงระดับที่ 5 (สูงมาก) เมื่อวัดฉันทามติของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 19 คนโดยใช้ทฤษฎีรัฟเซต พบว่า ค่าคุณภาพของขอบเขตล่าง (Lower Approximation) (QL ≥ 0.75) ของด้านตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การพิจารณาทั้งหมด อยู่ระหว่าง 0.79 1.00 และเมื่อจัดลำดับของด้านและตัวบ่งชี้ของเกณฑ์การประเมินสมรรถนะของผู้ปฏิบัติงานด้านวัฒนธรรม ด้วยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ พบว่า ด้านเจตคติข้ามวัฒนธรรม มีน้ำหนักมากที่สุดเท่ากับ 0.6571 (66%) รองลงมาคือ ด้านทักษะสมรรถนะข้ามวัฒนธรรม มีน้ำหนักเท่ากับ 0.2746 (27%) และด้านความรู้และความเข้าใจทางวัฒนธรรม มีลำดับความสำคัญน้อยที่สุด คือ มีน้ำหนักเท่ากับ 0.0683 (7%) สรุปได้ว่า เกณฑ์การประเมินสมรรถนะข้ามวัฒนธรรมของผู้ปฏิบัติงานด้านวัฒนธรรมที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ประเมินสมรรถนะข้ามวัฒนธรรมของผู้ปฏิบัติงานด้านวัฒนธรรม
This research aims to develop of criteria for assessing Cross-cultural competence of cultural staff. The method of this research consists of 3 steps as the following; 1) Synthesis of potential trends in assessment criteria, indicators, and sub indicators 2) Development of a cross-cultural competence assessment framework for cultural staff with e-Delphi technique and 3) Measuring the consensus of expert groups using rough set theory and prioritizing and weighting the importance of components and indicators with analytic hierarchical process (AHP). The results were; The developed of the criteria for assessing Cross-cultural competence of cultural staff contained three components with 8 indicators. These were: 1) Cross-Cultural Attitudes (2 indicators, 20 sub indicators) 2) Cross-Cultural Skills (4 indicators, 40 sub indicators) and 3) Cultural Knowledge and Understanding (2 indicators, 20 sub indicators). They were categorized into five levels ranking for improve to very high performance. The measured the consensus of a group of 19 experts using rough set theory, it was found that the quality of the lower Approximation (QL ≥ 0.75) of all components indicators and sub indicators was between 0.79 1.00 and ranked the components and indicators of the criteria for assessing Cross-cultural competence of cultural staff using analytic hierarchical process (AHP), it was found that the cross-cultural attitudes has the highest weight equal to 0.6571 (66%), followed by cross-cultural skills with a weight of 0.2746 (27%) and cultural knowledge and understanding has the least priority, with a weight of 0.0683 (7%). It can be concluded that the developed of the criteria for assessing Cross-cultural competence of cultural staff are appropriate for use in assessing Cross-cultural competence of cultural staff.