แจ้งเอกสารไม่ครบถ้วน, ไม่ตรงกับชื่อเรื่อง หรือมีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับเอกสาร ติดต่อที่นี่ ==>
หากไม่มีอีเมลผู้รับให้กรอก thailis-noc@uni.net.th ติดต่อเจ้าหน้าที่เจ้าของเอกสาร กรณีเอกสารไม่ครบหรือไม่ตรง

การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ของกรมชลประทานโดยการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรม

Organization : ผู้วิจัย
keyword: การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
; กรมชลประทาน
Abstract: ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของกรมชลประทาน 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของกรมชลประทาน และ 3. เพื่อนำเสนอการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำกรมชลประทาน โดยการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรม ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.991 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 392 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคนและการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของกรมชลประทาน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (x̅= 4.22) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการอยู่ภายใต้กรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้านการพัฒนาอย่างองค์รวม ด้านการมีความเป็นเอกภาพ ด้านมีความเป็นเครือข่าย ด้านการมีลักษณะของสหวิทยา และด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยมีการพัฒนาองค์กรให้เกิดความยั่งยืน รวมทั้งกำหนดยุทธศาสตร์ และวัตถุประสงค์อย่างชัดเจน เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ของน้ำได้เต็มประสิทธิภาพ โดยมีการนำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนสำคัญในการพัฒนาน้ำ และมีการคัดเลือกบุคลากรผู้มีความเชี่ยวชาญในสาขาอาชีพต่าง ๆ เพื่อมาช่วยในการบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งในส่วนของการกำหนดกรอบการพัฒนาให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และสามารถควบคุมดูแล รวมถึงตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และแม่นยำ 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของกรมชลประทาน ได้แก่ 1) การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ ด้านการพัฒนาและทดสอบ ด้านการติดตั้ง ด้านการค้นหาปัญหาขององค์กร ด้านการศึกษาความเหมาะสม และด้านการซ่อมบำรุงระบบ ส่งผลต่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของกรมชลประทาน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้ร้อยละ 83.6 2) หลักสัปปุริสธรรม 7 ได้แก่ ด้านอัตถัญญุตา, รู้จักผล ด้านกาลัญญุตา, รู้จักกาล ด้านปุคคลัญญุตา, รู้จักบุคคล และด้านธัมมัญญุตา, รู้จักเหตุ ส่งผลการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของกรมชลประทาน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้ร้อยละ 91.2 เพราะปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของกรมชลประทาน ในการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งประกอบด้วย ด้านการพัฒนาและทดสอบ ด้านการติดตั้ง ด้านการค้นหาปัญหาขององค์กร ด้านการศึกษาความเหมาะสม และด้านการซ่อมบำรุงระบบ สามารถนำไปพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของกรมชลประทานให้มีประสิทธิภาพได้ และเพื่อการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของกรมชลประทานให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงต้องประยุกต์หลักสัปปุริสธรรม สำหรับการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งประกอบด้วย ด้านธัมมัญญุตา, รู้จักเหตุ ด้านอัตถัญญุตา, รู้จักผล ด้านอัตตัญญุตา, รู้จักตน ด้านมัตตัญญุตา, รู้จักประมาณ ด้านกาลัญญุตา, รู้จักกาล ด้านปริสัญญุตา, รู้จักชุมชน และด้านปุคคลัญญุตา, รู้จักบุคคล 3. การนำเสนอการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำกรมชลประทาน โดยการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรม พบว่า 1. ธัมมัญญุตา, รู้จักเหตุ การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการทรัพยากรน้ำ มีความจำเป็นต้องรู้หลักของเหตุเป็นสำคัญ ด้วยการประยุกต์หลักธรรมเพื่อให้เข้าถึงสาเหตุหลักของปัญหาที่เกิดขึ้น 2. อัตถัญญุตา, รู้จักผล ภายหลังจากที่รู้สาเหตุของปัญหา ทั้งในส่วนของปัญหาน้ำท่วม ปัญหาน้ำแล้ง และปัญหาเกี่ยวกับน้ำด้านอื่น ๆ แล้ว จะต้องมีการคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นด้วย 3. อัตตัญญุตา, รู้จักตน ควรมีความรู้และมีความเข้าใจถึงศักยภาพของตนว่ามีกำลังความสามารถในการบริหารจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ให้ดีเท่าที่ควรได้หรือไม่ 4. มัตตัญญุตา, รู้จักประมาณ เป็นผู้ที่รู้จักความพอเหมาะพอดี ทั้งในส่วนของความพร้อมของบุคลากรที่ปฏิบัติงาน เครื่องมือ อุปกรณ์ และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ รวมถึงปริมาณของน้ำที่มี 5. กาลัญญุตา, รู้จักกาล มีความจำเป็นที่จะต้องรู้และเข้าใจช่วงเวลาของน้ำ ทั้งในส่วนของฤดูกาล การพยากรณ์อากาศ โดยต้องอาศัยเทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้น 6. ปริสัญญุตา, รู้จักบริษัท ควรรู้จักพื้นที่ รู้จักชุมชน และรู้จักขนบธรรมเนียมประเพณี ข้อควรปฏิบัติต่อชุมชน หรือพื้นที่นั้น ๆ ซึ่งในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำนั้น กรมชลประทานหน่วยงานเดียวไม่สามารถดำเนินการให้งานสำเร็จเพียงฝ่ายเดียวได้ จึงต้องอาศัยความร่วมมือการดำเนินงานให้สำเร็จ 7. ปุคคลัญญุตา, รู้จักบุคคล ควรมีความเข้าใจในระบบการคัดเลือกบุคคล ทั้งในส่วนของความรู้ความสามารถ ความมีคุณธรรม วุฒิภาวะด้านต่าง ๆ เพื่อปฏิบัติงานด้วยเทคโนโลยีได้ดีเยี่ยม และมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการน้ำให้ได้มากยิ่งขึ้น
Abstract: Objectives of this dissertation were: 1. To study the water resource management of the Royal Irrigation Department. 2. To study the factors affecting the water resource management of the Royal Irrigation Department. and 3. To present the development of water resource management of the Royal Irrigation Department by applying Buddhadhamma conducted with the mixed methods. The quantitative research used questionnaires with a total reliability value of 0.991 to collect data from 392 samples analyzed data with frequency, percentage, mean, standard deviation, and multiple regression. The Qualitative research, data were collected from 18 key informants by in-depth-interviewing with in-depth-interviewing script. Data were also collected from 9 participants for focus group discussion. The data were analyzed by content descriptive interpretation. Findings were as follows: 1. The water resource management of the Royal Irrigation Department, by overall was at high level (x̅= 4.22). Each aspect under the framework of sustainable development, holistic development, and unity. networking, interdisciplinary aspects, and public engagement was found to be at high level. The organization has developed sustainability, including clearly defined strategies and objectives to be able to utilize the water to full potential. Technology has been used to play an important role in water development, and experts in various professions were selected to help manage water more efficiently, both in terms of establishing a development framework that was appropriate to the current situation and could be supervised including making correct, prompt and accurate decisions. 2. Factors affecting the water resource management of the Royal Irrigation Department included: 1) Information technology management was to develop, and test the installing and problem searching of organization, appropriateness and preventive maintenance affected the water resource management of the Royal Irrigation Department at statistically significant level of 0.01 and predicted the affected results by 83.6 percent, 2) Sappuristham Principles 7, Atthanyuta, knowing effects, Kanlanyuta, knowing time, Puggqalanyuta, knowing individual and Dhammanyuta, knowing cause affected water resource management of the Royal Irrigation Department with statistical significance at 0.01 level and predicted by 91.2 percent. Factors affecting the water resource management of the Royal Immigration Department regarding information technology including development and testing, installing, organization problem searching, appropriateness, preventive maintenance, This could be used to improve the water resource management of the Royal Irrigation Department to be more efficient by integrating Suppurisadhamma, namely Dhammanyuta, knwing cuase, Atthanyuta, knowing effects, Attanyuta, knowing self, Mattanyuta, knowing moderation, Kalanyuta, knowing time, Parsanyuta, knowing community and Puggalanyuta, knowing persons. 3. The proposed water resource management of the Royal Irrigation Department by applying Sappurisadhamma was found that 1. Dhammamanuta, Knowing Causes, Development of Information Technology systems for Water Resource Management needed to know the core of the cause. by applying Dhamma principles to reach the root cause of the problem, 2. Atthanyuta, knowing effects, consequences after knowing the causes of the problem, both in the area of the flood, drought and other water problems there should be considering other effects as well. 3. Attanyuta, knowing self, there should have the knowledge and understanding of one’s potential, whether one had the capacity to manage the problems in terms of the readiness of the personnel performing the work. tools, equipment, and information technology systems for water resource management, including the amount of water available. It was necessary to know and understand the timing of the water, both seasonal and weather forecasting, relying on more modern technology. 4 Mattanyuta, knowing moderation, knowing the appropriateness of personnel, tools, equipment, and information technology for water resource management including available water quantity, 5 Kanlanyuta, knowing time. It was necessary to know the water timetable in seasons, weather forecast, depending on the modern technology, 6 Parisanyuta, knowing community, knowing traditions and cultures and the norms of the communities. The Royal Irrigation Department, a single agency, cannot unilaterally complete the task so it sought the cooperation from other agencies 7. Puggalayuta, knowing persons, there should have an understanding of the personnel selection system, including knowledge, ability, integrity, maturity in various fields, to perform with excellent technology, and to use technology to manage water more successfully.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. สำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: พระนครศรีอยุธยา
Email: library@mcu.ac.th
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Created: 2565
Modified: 2566-06-05
Issued: 2566-06-05
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
tha
©copyrights มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
RightsAccess:
ลำดับที่.ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูลจำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด
1 Kcej8usDoilQr6c4vaO2ruHHgxDtP4i07WnUAvwd.pdf 5.94 MB10 2025-07-07 21:11:33
ใช้เวลา
0.019134 วินาที

รศ. ดร.สุรินทร์ นิยมางกูร
Title Creator Type and Date Create
ประสิทธิผลการบริหารจัดการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 11
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
รศ. ดร.สุรินทร์ นิยมางกูร ;ศ. ดร. บุญทัน ดอกไธสง
พระมหาสุริยา อภิวฑฺฒโน (มะสันเทียะ)
วิทยานิพนธ์/Thesis
การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในจังหวัดปทุมธานี
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
รศ. ดร.สมาน งามสนิท; รศ. ดร.สุรินทร์ นิยมางกูร
ธีระพล บุญตาระวะ
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ของกรมชลประทานโดยการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรม
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
รศ. ดร.สุรินทร์ นิยมางกูร;รศ. ดร.วัชรินทร์ ชาญศิลป์
อดิเทพ ภิญญาเกษม
วิทยานิพนธ์/Thesis
ประสิทธิผลการนำนโยบายไปปฏิบัติในธุรกิจการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
รศ. ดร.วัชรินทร์ ชาญศิลป์;รศ. ดร.สุรินทร์ นิยมางกูร
มัทนา เมฆตรง
วิทยานิพนธ์/Thesis
การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของคณะกรรมการไตรภาคี สังกัดกระทรวงแรงงาน
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
รศ. ดร.สุรินทร์ นิยมางกูร;รศ. ดร. สมาน งามสนิท
พฤทธิพงศ์ จักกะพาก
วิทยานิพนธ์/Thesis
พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการงานของกรุงเทพมหานคร โดยการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชน
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
รศ. ดร. สุรพล สุยะพรหม;รศ. ดร.สุรินทร์ นิยมางกูร
ณฐพนธ์ คงศิลา
วิทยานิพนธ์/Thesis
การจัดการทรัพยากรมนุษย์ตามหลักพุทธธรรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ศ. ดร. บุญทัน ดอกไธสง;รศ. ดร.สุรินทร์ นิยมางกูร
ดาวเหนือ ทองน้อย
วิทยานิพนธ์/Thesis
การบูรณาการหลักพุทธธรรมาภิบาลเพื่อบริหารองค์กรบริษัทมหาชน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ศ. ดร. บุญทัน ดอกไธสง;รศ. ดร.สุรินทร์ นิยมางกูร
เสกสรร มนทิราภา
วิทยานิพนธ์/Thesis
การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาการให้บริการสาธารณะ ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสุพรรณบุรี
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
รศ. ดร.ธัชชนันท์ อิศรเดช;รศ. ดร.สุรินทร์ นิยมางกูร
วารินทร์ จันทรัตน์
วิทยานิพนธ์/Thesis
พุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารจัดการศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
รศ. ดร.สมาน งามสนิท;รศ. ดร.สุรินทร์ นิยมางกูร
ร้อยตำรวจเอก ธเดช ศรีสวัสดิ์
วิทยานิพนธ์/Thesis
โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
รศ. ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง;รศ. ดร.สุรินทร์ นิยมางกูร
ทัศมาวดี ฉากภาพ
วิทยานิพนธ์/Thesis
รศ. ดร.วัชรินทร์ ชาญศิลป์
Title Creator Type and Date Create
การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมประสิทธิผลการบริหารจัดการท่องเที่ยวของบริษัทท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
รศ. ดร.วัชรินทร์ ชาญศิลป์;รศ. ดร.สมาน งามสนิท
จิตกร วิจารณรงค์
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ของกรมชลประทานโดยการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรม
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
รศ. ดร.สุรินทร์ นิยมางกูร;รศ. ดร.วัชรินทร์ ชาญศิลป์
อดิเทพ ภิญญาเกษม
วิทยานิพนธ์/Thesis
ประสิทธิผลการนำนโยบายไปปฏิบัติในธุรกิจการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
รศ. ดร.วัชรินทร์ ชาญศิลป์;รศ. ดร.สุรินทร์ นิยมางกูร
มัทนา เมฆตรง
วิทยานิพนธ์/Thesis
การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
รศ. ดร.วัชรินทร์ ชาญศิลป์;รศ. ดร.สุรพล สุยะพรหม
วิสิษฐ์ สมบูรณ์
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนาคุณลักษณะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารเทศบาลใน จังหวัดสมุทรปราการ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
รศ. ดร.วัชรินทร์ ชาญศิลป์;รศ. ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
สุวรรณ์ แก้วนะ
วิทยานิพนธ์/Thesis
Copyright 2000 - 2025 ThaiLIS Digital Collection Working Group. All rights reserved.
ThaiLIS is Thailand Library Integrated System
สนับสนุนโดย สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
328 ถ.ศรีอยุธยา แขวง ทุ่งพญาไท เขต ราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร. โทร. 02-232-4000
กำลัง ออน์ไลน์
ภายในเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 5
ภายนอกเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 2,477
รวม 2,482 คน

More info..
นอก ThaiLIS = 244,979 ครั้ง
มหาวิทยาลัยสังกัดทบวงเดิม = 621 ครั้ง
มหาวิทยาลัยราชภัฏ = 490 ครั้ง
มหาวิทยาลัยเอกชน = 73 ครั้ง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล = 56 ครั้ง
หน่วยงานอื่น = 9 ครั้ง
มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ = 5 ครั้ง
มหาวิทยาลัยสงฆ์ = 2 ครั้ง
สถาบันพระบรมราชชนก = 1 ครั้ง
รวม 246,236 ครั้ง
Database server :
Version 2.5 Last update 1-06-2018
Power By SUSE PHP MySQL IndexData Mambo Bootstrap
มีปัญหาในการใช้งานติดต่อผ่านระบบ UniNetHelp


Server : 8.199.136
Client : Not ThaiLIS Member
From IP : 216.73.216.48