ผลของการให้อากาศและโมลาสต่อคุณภาพน้ำบางประการและต่อการเจริญเติบโตของปลาดุกลูกผสม (Clarias macrocephalus X clarias gariepinus) ที่เลี้ยงในระบบปิด
Effect of aeration and molasses supplement on some water properties and growth rate of hybrid catfish (Clarias macrocephalus X clarias gariepinus) in closed culture system
Abstract:
ปัญหาที่พบในการเลี้ยงปลาดุกลูกผสม (Clarias macrocephalus X Clarias gariepinus) แบบระบบปิดคือการที่คุณภาพน้ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับออกซิเจนที่ละลายน้ำอยู่ในระดับต่ำ และมี แอมโมเนียอยูในระดับสูง ทำให้ผลผลิตเมื่อจับปลามีค่าต่ำเพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำระหว่างการเลี้ยงให้ดีขึ้นจึงได้วางแผนแบ่งชุดการทดลองออกเป็น 4 ชุด ได้แก่ ชุดควบคุมชุดให้โมลาส ชุดให้อากาศ และ ชุดให้อากาศร่วมกับโมลาส ใช้ปลาดุกลูกผสมขนาดน้ำหนักเฉลี่ยมากกว่า 10 กรัม เลี้ยงในถังไฟ เบอร์กล๊าสขนาด 500 ลิตร ที่ความหนาแน่น 50 ตัวต่อลิตรเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์โดยไม่มีการ เปลี่ยนถ่ายน้ำปลาทดลองจะถูกให้อาหารที่มีโปรตีนเป็นองค์ประกอบ 32% วันละ 1 ครั้ง ในระหว่างการเลี้ยงจะทำการบันทึกข้อมูลน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของปลาอัตราการรอดชีวิตพร้อมกับบันทึกข้อมูลคุณภาพน้ำประกอบด้วยปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำพีเอช ความเข้มข้นของแอมโมเนียและไน ไตรท์ ผลการทดลองพบว่าการเลี้ยงแบบให้อากาศเพียงอย่างเดียวมีประสิทธิภาพสูงมากในการลดปริมาณแอมโมเนียลงถึง 45 เปอร์เซ็นต์เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณแอมโมเนียในระบบการเลี้ยงแบบปกติที่ไม่มีการให้อากาศและใส่โมลาสเพียงอย่างเดียว ค่าเฉลี่ยของปริมาณแอมโมเนียมีค่าต่ำกว่าระบบการเลี้ยงแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผลผลิตเมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่าชุดการทดลองที่ให้อากาศร่วมกับโมลาสนั้นจะให้ผลผลิตดีที่สุดโดยมีน้ำหนักเฉลี่ย 237 กรัม อัตรารอดตาย 100 เปอร์เซ็นต์ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น 314 เปอร์เซ็นต์ และอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อเท่ากับ 0.70 ตามลำดับในระบบการเลี้ยงแบบให้อากาศเพียงอย่างเดียวมีน้ำหนักเฉลี่ย 204 กรัม อัตรารอดตาย 96 เปอร์เซ็นต์ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น 257 เปอร์เซ็นต์ และอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อเท่ากับ 0.89 ตามลำดับ ในระบบการเลี้ยงแบบให้โมลาสแต่ไม่มีการให้อากาศมีน้ำหนักเฉลี่ย 115 กรัม อัตรารอดตาย 70 เปอร์เซ็นต์ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น 102 เปอร์เซ็นต์ และอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อเท่ากับ 1.09 ตามลำดับและในบ่อควบคุมมีน้ำหนักเฉลี่ย 185 กรัม อัตรารอดตาย 82 เปอร์เซ็นต์ นบ้ำหนักที่เพิ่มขึ้น 133 เปอร์เซ็นต์ และอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อเท่ากับ 0.99 ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าในระบบการเลี้ยงแบบให้โมลาสร่วมกับการให้อากาศนั้นมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
Problems found on closed culture system of hybrid catfish (Clarias macrocephalus X Clarias gariepenus) is degrading of water properties such as low level of dissolved oxygen and high amount of ammonia level which cause lower in final yield. In order to enhancing of water properties during culturing system which finally get higher yield, 4 treatments experimental were set. Treatments were comprised of control, supplement with molasses, adding aeration, and supplement with molasses and aeration. Juvenile hybrid catfish at average weight over 10 gram were cultivate in 500 L circular fiberglass aquarium at 50 tails per liter for 12 weeks without changing of water. Experimental fish were fed with commercial pellet with 32% protein level once a day. During culture, fish weight gained, survival rate were weekly measured and some water properties such as dissolved oxygen, pH, concentration of ammonia and nitrite were also recorded. Results revealed that aeration would significantly reduced 45% of ammonia concentration when comparing to control and molasses supplement treatments (p<0.05). Total fish weight at final yield from the supplement with molasses and aeration was highest among other treatments, with average weight of 237 gram, 100% survival rate and 314 % weight gained and 0.70 of FCR. The aeration treatment gave 204 gram at final yield, 96 % survival rate and 257% weight gained and 0.89 of FCR. The molasses supplementing treatment gave 115 gram at final yield, 70% survival rate and 102% weight gained and 1.09 of FCR. And the control treatment gave 185 gram at final yield, 82% survival rate and 133% weight gained and 0.99 of FCR. Results shown that adding aeration and molasses in closed culture system of hybrid catfish would significantly best practice (p<0.05).