Abstract:
โรคอ้วนในเด็กวัยเรียนช่วงชั้นที่ 2 ได้กลายเป็นปัญหาที่ทวีความรุนแรงและน่าวิตกมากขึ้นในปัจจุบัน การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้เป็นความพยายามใหม่ที่หาทางแก้ปัญหาดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการบริโภค การออกกำลังกาย รูปแบบการดำเนินชีวิต และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะอ้วนในเด็กวัยเรียน 2) พัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธสำหรับเด็กนักเรียนที่มีภาวะอ้วน โดยใช้หลักพุทธธรรมเป็นแนวทางในการพัฒนา และ3) ศึกษาระดับสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธด้านกาย จิต สังคม และ ปัญญาในเด็กวัยเรียนที่มีภาวะอ้วน และความเปลี่ยนแปลงภายหลังเข้าร่วมกระบวนการวิจัย พื้นที่ศึกษาคือ โรงเรียนอนุบาลกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5-6 ที่มีภาวะอ้วน ผู้ปกครองของนักเรียนที่มีภาวะอ้วน และครูผู้เกี่ยวข้องในโรงเรียน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสอบถาม การประเมินระดับสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการวัดความคิดเห็นที่มีต่อการร่วมกระบวนการวิจัย ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยสถิติบรรยาย และเปรียบเทียบความแตกต่างด้วย paired samples t-test ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อหาข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะอ้วนในเด็กวัยเรียน คือ เพศ ลำดับที่การเป็นบุตร จำนวนพี่น้องทั้งหมด ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาหาร การมีพ่อหรือแม่อ้วน ความรู้ด้านโภชนาการและการแก้ไขภาวะอ้วน จำนวนมื้อและช่วงเวลาที่รับประทานอาหาร ชนิดของอาหารที่รับประทาน ปริมาณอาหารที่รับประทาน บริโภคนิสัย การออกกำลังกายและการเคลื่อนไหวร่างกาย รูปแบบการใช้ชีวิต การรับรู้และการซื้ออาหารตามการรับรู้จากสื่ออิทธิพลของสื่อการจัดอาหารตามโครงการอาหารกลางวัน การรับประทานอาหารว่างที่โรงเรียน การจัดหาอาหารให้นักเรียน การบริโภค การออกกำลังกายและเคลื่อนไหวร่างกายของผู้ปกครอง และการเลี้ยงดูบุตรหลาน 2) การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ ประกอบด้วยการศึกษาบริบทของพื้นที่และเตรียมผู้ร่วมกระบวนการ การรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การสร้างโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการประเมินผลตามโปรแกรม มีการเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่มและการออกกำลังกายแบบวงจรอย่างละ 16 ครั้ง รวมทั้งหมด 32 ครั้ง และมีการทดสอบก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรม และ3) การเปรียบเทียบความแตกต่างก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม พบพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .01) และจากการสะท้อนของผู้ร่วมกระบวนการวิจัย ไม่เพียงในด้านความรู้เรื่องโภชนาการและการแก้ไขภาวะอ้วน องค์ประกอบด้านกาย คือ น้ำหนักและเส้นรอบวงเอว สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ 5 รายการได้แก่ ค่าดัชนีมวลกาย นั่งงอตัว ลุกนั่ง ดันพื้นและวิ่ง 1,200 เมตร แต่ยังรวมถึงระดับสุขภาวะองค์รวม แนวพุทธด้านกาย จิต สังคม และปัญญา ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและการนำสู่การปฏิบัติ
It is evident that obesity in school-aged children level 2 has become increasingly serious. This action research made a new attempt to deal with it. Its objectives were to 1) study consumption behavior, exercising, lifestyle, and factors relating to obesity in school-aged children; 2) develop a model of Buddhist Holistic Well-being Promotion for obese school-aged children; and 3) study levels of Buddhist Holistic Well-being in physical, mental, social, and cognitive dimensions in obese school-aged children. Kamphaeng Saen Primary School, Kamphaeng Saen district, Nakhon Pathom was selected as the study site. Participants included 30 obese school-aged children studying in Grades 5 and 6, their guardians, and the relevant teachers. Data were collected using enquiries, evaluation of Buddhist Holistic Well-being, indepth interview, focus group discussion, and assessing opinions on research process participation. Quantitative data were analyzed using descriptive statistics and paired samples ttests while qualitative data were analyzed using content analysis to draw conclusions. The findings revealed that: 1) factors relating to obesity in school-aged children included gender, order and number of children, food expenses, having an obese parent, knowledge of nutrition and obesity correction, number of meals and time of having meals, types and quantity of food taken, consumption behavior, exercising and movement, lifestyle, perception and buying food according to media, media influences, and food and refreshment provided by the school. Also, food provided by their guardians, the guardians' consumption, exercising and movement, and child raising contributed to school-aged children's obesity; 2) the development of a Buddhist Holistic Well-being promotion model consisted of studying context of the selected school and preparation for mutual understanding among all participants, collecting data pertaining to children's obesity causes, creating a Buddhist Holistic Well-being promotion program, conducting and evaluating learning activities as designated in the program; and 3) a comparison before and after joining the program indicated that after joining the program, highly significant improvement was evident (p<.01) and reflected by the concerned participants, not only in school-aged children's knowledge of nutrition, weight management, body composition, physical fitness; but also in all dimensions of the Buddhist Holistic Wellbeing physical, mental, social and cognitive. Implications for policy and practice are discussed.