Abstract:
สกุลแสม (Avicennia L.) เป็นพันธุ์ไม้ป่าชายเลนที่มีความสำคัญ ซึ่งแสมเป็นไม้เบิกนำ (pioneer species) อยู่บริเวณริมน้ำ ดินเป็นดินเลนที่มีน้ำท่วมขัง น้ำมีค่าความเค็มสูง ทำให้พืชกลุ่มนี้ ปรับตัวเพื่อให้สามารถเจริญได้ในสภาพแวดล้อมดังกล่าว ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการศึกษาสัณฐานวิทยาและกายวิภาคในแสม 3 ชนิด ได้แก่ แสมขาว (Avicennia alba Blume.) แสมทะเล (A. marinaForsk.) และแสมดำ (A. officinalis L.) โดยเก็บตัวอย่างจากศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี จ. ประจวบคีรีขันธ์ และศูนย์การเรียนรู้ด้านป่าชายเลนจังหวัดระนองสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 11 จังหวัดระนอง ตัวอย่างถูกเตรียมเป็นสไลด์ถาวรตามกรรมวิธี พาราฟิน sliding microtome การแช่ยุ่ย การฟอกใส เพื่อการศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง และกล้องอิเล็กตรอนแบบส่องกราด ผลการศึกษาพบว่าไม้สกุลแสมทั้ง 3 ชนิด มีลักษณะคล้ายกันดังนี้ มีราก 4 ชนิด คือราก เคเบิล รากหายใจ รากดูดซึมอาหาร และรากยึดเกาะ โดยโครงสร้างของรากประกอบด้วยเนื้อเยื่อชั้นนอกสุดคือ เพริเดิร์ม รองลงไปคือคอร์เทกซ์ ประกอบด้วยแอเรงคิมา ไส้ไม้ประกอบด้วยพาเรงคิมา ในส่วนของรากหายใจมีการสร้างช่องอากาศที่บริเวณผิวของราก ปลายยอดประกอบด้วยทูนิกาและคอร์ปัส ลำต้นที่มีการเจริญขั้นแรกเนื้อเยื่อชั้นนอกสุดถูกปกคลุมด้วยคิวทิเคิลและขนรูปโล่ที่ประกอบด้วย 3 เซลล์ คอเทกซ์ประกอบด้วยพาเรงคิมา ท่อลำเลียงเป็นแบบเคียงข้าง ไส้ไม้ ประกอบด้วยพาเรงคิมา ลำต้นที่มีการเจริญขั้นที่สอง คอเทกซ์ประกอบด้วยพาเรงคิมา ไส้ไม้พบ ผลึกรูปแท่งในแสมทะเลและแสมดำ เนื้อไม้เห็นวงปีไม่ชัดเจน พบโฟลเอ็มทุติยภูมิเกิดแทรกอยู่ในไซเล็มทุติยภูมิ พบผลึกรูปปริซึมในพาเรงคิมาแนวรัศมีในแสมทะเลและแสมขาวใบแสมทุกชนิด พบต่อมเกลือทั้งทางด้านบนและด้านล่างของใบมีโซฟิลล์แบ่งเป็นพาลิเซด และสปองจีพบขนรูปโล่ที่ประกอบด้วย 3 เซลล์อยู่ทางด้านล่างของใบ ปากใบพบเฉพาะด้านล่างของใบเป็นแบบยกสูงคล้ายกันในทุกชนิด
Avicennia L. is one of the dominant mangrove plant species in Thailand. It is a pioneer that typically dominates in the open areas of riverside or mud flats. The plant samples of three species in the genus Avicennia L. including A. alba Blume, A. marina Forsk and A. officinalis were collected from Sirinart Rajini Ecosystem Learning Center, Prachuabkirikhan and Mangrove Forest Resource Development, station 11, Ranong Province. Morphological and anatomical characteristics were investigated. The samples were prepared into permanent slides, using paraffin technique, sliding microtome, tissue maceration and tissue clearing methods.The prepared specimens were observed under light microscope and scanning electron microscope. The results showed that the three species have similar characters. There are 4 types of roots; cable root, anchor root, pneumatophore and feeding root. Root consists of periderm, cortex and stele. Lenticels were commonly found in periderm of pnematophore. Cortex is consisted of aerenchyma with numerous air spaces.Pith contains parenchyma. Shoot tip consists of tunica and corpus tissues. Epidermis of stem at primary growth stage is covered with cuticle and tricellular peltate hairs. Stele is eustele with collateral bundles. Cortex and pith consist of parenchyma. Styloid crystals are observed in pith of A. marina and A. officinalis. Wood growth rings are indistinct. Prismatic crystals are present in ray cells of A. marina and A. alba. Included phloem was observed in woods of all species. Salt glands were observed on both upper and lower epidermis of leaves in all species. Leaf is bifacial with raised stomata on lower epidermis, which is covered with tricellular peltate hairs.