แจ้งเอกสารไม่ครบถ้วน, ไม่ตรงกับชื่อเรื่อง หรือมีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับเอกสาร ติดต่อที่นี่ ==>
หากไม่มีอีเมลผู้รับให้กรอก thailis-noc@uni.net.th ติดต่อเจ้าหน้าที่เจ้าของเอกสาร กรณีเอกสารไม่ครบหรือไม่ตรง

การเพิ่มผลผลิตแก๊สชีวภาพโดยการหมักร่วมแบบไร้ออกซิเจนระหว่างไขมันกับเศษอาหาร : การเติมจุลินทรีย์ย่อยสลายกรดไขมัน
Enhancement of biogas yield by anaerobic co-digestion of fat, oil, and grease (FOG) and food waste : bioaugmentation with fatty acid-degrading microorganisms

ThaSH: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์. วท.ม. (เทคโนโลยีชีวภาพ) 2560
Classification :.LCCS: TP359.B48
ThaSH: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ -- วิทยานิพนธ์
ThaSH: ก๊าซชีวภาพ -- การผลิต
ThaSH: น้ำเสีย -- การบำบัด -- วิธีแบบไร้ออกซิเจน
ThaSH: การย่อยกากตะกอนน้ำเสีย
ThaSH: การบำบัดสารมลพิษทางชีวภาพ
ThaSH: แบคทีเรียไม่ใช้ออกซิเจน
Abstract: กากไขมัน (fat, oil, and grease, FOG) ซึ่งลอยตัวอยู่ที่ผิวน้ำในบ่อดักไขมันเป็นของเสียที่มีปริมาณสูงและน่าสนใจในการนำมาใช้เป็นซับสเตรตในการหมักแบบไร้ออกซิเจนเพื่อผลิตแก๊สชีวภาพอย่างไรก็ตามกากไขมันนี้มีส่วนประกอบของกรดไขมันอิสระสายยาว (long chain fatty acid, LCFA) อยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งมีรายงานว่า LCFA ยับยั้งการผลิตแก๊สชีวภาพได้งานวิจัยนี้จึงศึกษาความสามารถในการผลิตแก๊สชีวภาพจากการหมักกากไขมันร่วมกับเศษอาหารโดยการเติมกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีความสามารถย่อยสลาย LCFA เพื่อเพิ่มผลผลิตแก๊สชีวภาพกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลาย LCFA ที่คัดแยกได้ประกอบด้วย สาหร่ายขนาดเล็กคือ Prototheca zopfii var. hydrocarbonea แบคทีเรีย คือ Pseudomonas aeruginosaและรา คือ Byssochlamys nivea เมื่อเติมกลุ่มจุลินทรีย์ที่คัดแยกได้ลงในถังหมักและศึกษาการผลิตแก๊สชีวภาพจากการหมักร่วมระหว่างเศษอาหารและกากไขมันในปริมาณต่าง ๆ พบว่าผลได้ของแก๊สชีวภาพเพิ่มขึ้นเมื่อกากไขมันเพิ่มขึ้น และการเติมกลุ่มจุลินทรีย์ช่วยเพิ่มการผลิตแก๊สชีวภาพโดยที่เมื่อไม่มีการเติมกลุ่มจุลินทรีย์ ณ ความเข้มข้นกากไขมัน 0% 25% 50% และ 75% (VSFOG of total VSsubstrate) ให้ผลได้แก๊สชีวภาพ 115.61, 140.35, 142.03 และ 155.43 cm 3 /gVS ตามลำดับในขณะที่เมื่อเติมกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลาย LCFA ให้ผลได้แก๊สชีวภาพ 187.36, 233.21, 237.87 และ 256.22 cm3 /gVS ตามลำดับในการศึกษาประชากรจุลินทรีย์ในถังหมักโดยเทคนิค PCR-DGGE ณ วันแรกและวันสุดท้ายของการหมักสังเกตพบ P. aeruginosa ณ วันแรกของการหมัก เท่านั้นและตรวจไม่พบ Prototheca zopfii var. hydrocarboneaและ Byssochlamys nivea ตั้งแต่เริ่มต้นการทดลองและเมื่อเสร็จสิ้นการทดลองแบคทีเรียผลิตมีเทนกลุ่มหลักภายในถังปฏิกรณ์อยู่ในไฟลัม Euryarchaeotaได้แก่ Methanosprillum, Methanosarcinales และ Methanocorpusculum และประชากรส่วนใหญ่ของกลุ่ม Eubacteria ประกอบด้วยไฟลัม Firmicutes, Proteobacteria และ Bacteroidetes การเติม FOG และการเติมกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลาย LCFA ไม่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงประชากรจุลินทรีย์ผลการทดลองสรุปได้ว่าการเติมกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลาย LCFA ช่วยเพิ่มการผลิตแก๊สชีวภาพในการหมักร่วมระหว่างเศษอาหารกับกากไขมันได้ Fat, oil and grease (FOG) from grease traps is an abundant waste and is an interesting potential substrate for biogas production. However, long chain fatty acids (LCFA) in FOG-rich substrates have been reported to inhibit biogas production. In this work, the possibility of improving biogas production from co-digestion of FOG scum and food waste by bioaugmentation with LCFA-degrading microorganisms isolated from grease traps was studied. A group of LCFA-degrading microorganisms composed of a microalga (Prototheca zopfii), a bacterium (Pseudomonas aeruginosa)and a fungus (Byssochlamys nivea) was isolated. This mixed culture was added to anaerobic digests and the effects of these microbes and various quantities of FOG on biogas production were investigated. The volume of biogas was increased when larger amounts of FOG were added. The yield of biogas obtained in presence of the LCFA-degrading microbes was higher than in their absence. When 0%, 25%, 50% and 75% VSFOG of the total VSsubstrate were present in absence of LCFA-degrading microbes, the volumes of gas produced were 115.61, 140.35, 142.03 and155.43 cm3 /gVS, respectively, while those when the microbes were present were 187.36, 233.21, 237.87 and 256.22 cm3 /gVS, respectively. The microbial community in the anaerobic reactors was studied by the PCR-DGGE technique. P. aeruginosaadded to the reactors was observed only at the start of the incubation and was not detected on the 47th day of digestion. Prototheca zopfii var.hydrocarboneaand B. nivea were not detected both at the start of the incubation and at the end. The majority of methanogens in the reactors belonged to the Euryarchaeotaand they included Methanosprillum, Methanosarcinales and Methanocorpusculum. The dominant eubacterial genera were from the Firmicutes,Proteobacteria and Bacteroidetes and no change in the microbial community due to the addition of FOG or bioaugmentation was observed. In conclusion, bioaugmentation with LCFAdegrading microorganisms enhanced the biogas production from the co-digestion of FOG scum and food waste.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สำนักหอสมุด
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: tdckulib@ku.ac.th
Role: อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก
Role: อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม
Role: อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม
Created: 2560
Modified: 2566-05-03
Issued: 2566-05-03
URL: https://kasetsart.idm.oclc.org/login?url=https://www.lib.ku.ac.th/KUthesis/2560/mattika-par-all.pdf
CallNumber: TP359.B48.ม114
tha
©copyrights
RightsAccess:
ลำดับที่.ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูลจำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด
1 mattika-par-all.pdf 3.65 MB2 2025-01-21 18:59:06
ใช้เวลา
0.038808 วินาที

ณัฐกานต์ นิตยพัธน์
Title Creator Type and Date Create
ปราโมทย์ ศิริโรจน์
Title Creator Type and Date Create
วิลาวัลย์ สินธุประภา
Title Creator Type and Date Create
Copyright 2000 - 2025 ThaiLIS Digital Collection Working Group. All rights reserved.
ThaiLIS is Thailand Library Integrated System
สนับสนุนโดย สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
328 ถ.ศรีอยุธยา แขวง ทุ่งพญาไท เขต ราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร. โทร. 02-232-4000
กำลัง ออน์ไลน์
ภายในเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 0
ภายนอกเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 3,631
รวม 3,631 คน

More info..
Database server :
Version 2.5 Last update 1-06-2018
Power By SUSE PHP MySQL IndexData Mambo Bootstrap
มีปัญหาในการใช้งานติดต่อผ่านระบบ UniNetHelp


Server : 8.199.136
Client : Not ThaiLIS Member
From IP : 216.73.216.10