Abstract:
ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะทางสังคมเศรษฐกิจการใช้ประโยชน์ที่ดิน ความรู้ความเข้าใจในการใช้ประโยชน์ที่ดินในระบบวนเกษตรและวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์การทำวนเกษตรของเกษตรกรตำบลน้ำเป็น อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง เก็บข้อมูลโดย สัมภาษณ์ตัวแทนครัวเรือนตัวอย่างจำนวน 343 ครัวเรือน ด้วยแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา อธิบายด้วยค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และทดสอบสมมติฐานโดย ใช้ Chi-square ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 53.9 มีอายุเฉลี่ย 52 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 71.4 จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4 คน ร้อยละ 50.1 ของกลุ่มตัวอย่างอาศัยอยู่ในหมู่บ้านตั้งแต่กำเนิด ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลัก คือ เกษตรกรรม คิดเป็นร้อยละ 82.2 มีรายได้เฉลี่ย 215,610 บาทต่อครัวเรือนต่อปี และรายจ่ายเฉลี่ย 140,590 บาทต่อครัวเรือนต่อปี ร้อยละ 61.5 ของกลุ่มตัวอย่างมีหนี้สิน ส่วนใหญ่มีพื้นที่ทำกินเป็นของตนเอง คิดเป็นร้อยละ 94.5 โดยร้อยละ 98.8 มีเอกสารสิทธิในที่ดินเป็นโฉนด ขนาดถือครองที่ดินโดยเฉลี่ย 17.9 ไร่ต่อครัวเรือน ร้อยละ 65.1 ใช้ประโยชน์ที่ดินในการทำสวน โดยร้อยละ 47.4 ปลูกพืชแบบผสมผสาน ร้อยละ 36.5 ปลูกพืชเชิงเดี่ยวและร้อยละ 16.0 ปลูกพืชในรูปแบบวนเกษตร โดยการปลูกต้นไม้เป็นแนวกันลม ร้อยละ95.7 ชนิดของไม้ยืนต้น/ไม่ป่า ที่พบปลูกมากที่สุด คือยางนา คิดเป็นร้อยละ 61.7 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับข่าวสารด้านวนเกษตร คิดเป็นร้อยละ 76.4 และไม่เคยฝึกอบรมดูงานด้านวนเกษตร คิดเป็นร้อยละ 91.8 และมีระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบวนเกษตรอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 66.2 สำหรับปัจจัยที่ผลต่อการทำวนเกษตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ อายุ การได้รับข่าวสารด้านวนเกษตร การฝึกอบรมดูงานด้านวนเกษตร ระดับความรู้ความเข้าใจ สิ่งจูงใจด้านสังคม ขนาดของพื้นที่ทำกิน และการถือครองที่ดิน (p<0.05)
The objectives of the study were: 1) to determine the socio-economic characteristic and land use of respondents and 2) to investigate the people's knowledge on agroforestry and factor affecting on agroforestry practice in Nam Pen Sub-district, Khao Cha Mao District, Rayong Province. The 343 samples were to interview by questionnaires for data collecting. Descriptive statistics were utilized to explain the results composed of percentage, minimum, maximum, mean, standard deviation and chi-square value were used as analytical statistics at a statistical significance level of 0.05. The study found that 53.9% were female, the average age was 52 years and 71.4% finished their education at primary school. There were 4 members per household in an average. About 50.1 of respondent were born in study area. The main occupation was agriculture sector (82.2) which a household had average annual income about 215,610 baht per year, the average annual expense of household was 140,590 baht per year and 61.5% of respondents were debt. 94.5% of respondent have land for farming, the average size of land holding per household is 17.9 rai, 98.8 % obtained right of title deed. Land utilization was mostly used as mixed crop of orchard (47.4%), monoculture crops (36.5%) and agroforestry system (16%), respectively. The patterns of agroforestry were wind brake (95.7%), the species were mostly planted in agroforestry plot as Dipterocarpus alatus (61.7%). Most of respondent (76.4) never got some information about agroforestry and 91.8% never participated in workshop and field trip about agroforestry. The analysis of people's knowledge level on agroforestry system found that the of people's knowledge level was at moderate level (66.2%). Based on the hypothesis test, age, receiving information about agroforestry system, participated in workshop and field trip about agroforestry system, people's knowledge level on agroforestry system, social incentives, land holding and land holding size were highly significant (p<0.05) factors affecting to agroforestry practice by farmer.