การพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างของการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
The development of structural equation model of critical thinking for grade 7 students
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปัญญา ความคาดหวังและการเห็นคุณค่าของการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดลสมการโครงสร้างการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของอภิปัญญา ความคาดหวังและการ เห็นคุณค่าของการเรียนที่ส่งผลต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ในเขตกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวนทั้งสิ้น 420 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 5 ตอน แบ่งเป็น ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของ ผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 แบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณแบบเลือกตอบ ตอนที่ 3 แบบจัดเชิง สถานการณ์ของอภิปัญญาซึ่งเป็นแบบเลือกตอบ ตอนที่ 4 แบบสอบถามการเห็นคุณค่าในการเรียน แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และตอนที่ 5 แบบสอบถามความคาดหวังในการเรียนแบบ มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนมีการคิดอย่างมีวิจารณญาณพบว่าอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 3.208, S = 0.298) ระดับอภิปัญญาของนักเรียนพบว่าอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่าด้านที่ สูงที่สุดคือ ประสบการณ์ในอภิปัญญา (x̄ = 4.570, S = 0.455) การเห็นคุณค่าทางการเรียนของ นักเรียนพบว่าอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.815, S = 0.701) และความคาดหวังในการเรียนของนักเรียน พบว่าอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 3.330, S = 0.851) ตามสำดับ 2. ความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างของการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า x² = 91.997, df = 76, p = 0.102, x²/df = 1.210, RMSEA = 0.022, RMR = 0.010,GFI = 0.975,AGFI = 0.952, CFI = 0.991 , TLI = 0.983 ทั้งนี้ตัวแปรทั้งหมดในโมเดล สามารถอธิบายความแปรปรวนร่วมของการคิดอย่างมีวิจารณญาณได้ร้อยละ 63.0 3. ตัวแปรแฝงที่มีอิทธิพลทางตรงต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน มี 3 ตัวแปร ได้แก่ อภิปัญญา (DE = 0.664) คาดหวังในการเรียน (DE = 0.323) และการเห็นคุณค่าในการเรียน (DE = 0.037) และตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน มี 2 ตัวแปร ได้แก่ การเห็นคุณค่าในการเรียน (IE = 0.330) และความคาดหวังในการเรียน (IE = 0.071) โดยส่งผ่านตัวแปรอภิปัญญา ซึ่งตัวแปรที่มีอิทธิพลรวมต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนสูง ที่สุด คือ อภิปัญญา (TE = 0.664)
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. สำนักหอสมุดกลาง
Email:
Lifelong@kmitl.ac.th
Role:
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
©copyrights สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง