แจ้งเอกสารไม่ครบถ้วน, ไม่ตรงกับชื่อเรื่อง หรือมีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับเอกสาร ติดต่อที่นี่ ==>
หากไม่มีอีเมลผู้รับให้กรอก thailis-noc@uni.net.th ติดต่อเจ้าหน้าที่เจ้าของเอกสาร กรณีเอกสารไม่ครบหรือไม่ตรง

Work values of employees across multigenerational workforce in hospitality industry in Thailand
คุณค่าในงานของพนักงานที่มีความหลากหลายเจเนอเรชันในอุตสาหกรรมการบริการของไทย

Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการกำลังคนและอุปสงค์ทางการศึกษาของผู้เรียนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการศึกษาที่ตอบสนองความต้องการกำลังคนและอุปสงค์ทางการศึกษาของผู้เรียนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก 3) เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภาวะคุกคามของการจัดการศึกษาที่ตอบสนองความต้องการกำลังคนและอุปสงค์ทางการศึกษาของผู้เรียนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก 4) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การจัดการศึกษาที่ตอบสนองความต้องการกำลังคนและอุปสงค์ทางการศึกษาของผู้เรียนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed-Method Research) ผลการวิจัยพบว่า1) ในช่วงปี พ.ศ. 2562-2564 กลุ่มอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพมีความต้องการกำลังคนระดับอาชีวศึกษาสูงที่สุด (ร้อยละ 59.12) ตามด้วยกำลังคนระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 25.13) ลำดับถัดมา คือ กลุ่มอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่มีความต้องการกำลังคนระดับอาชีวศึกษา (ร้อยละ 9.44) และระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 6.30) ในขณะที่ผู้เรียนในพื้นที่ EEC ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความต้องการศึกษาต่อสามัญศึกษา (ร้อยละ 70) และศึกษาต่ออาชีวศึกษา (ร้อยละ 29) โดยปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดอุปสงค์ทางการศึกษาของผู้เรียนให้เลือกศึกษาต่ออาชีวศึกษา คือ เพศ ผลการเรียนในระดับมัธยมศึกษา ระดับการศึกษาของบิดามารดา รายได้รวมของบิดาและมารดา โอกาสในการทำงานและความต้องการแรงงานของในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย 2) สภาพปัจจุบันของการจัดการศึกษาที่ตอบสนองความต้องการกำลังคนและอุปสงค์ทางการศึกษาของผู้เรียน 3 ด้าน คือ ด้านการนำเข้าระบบการศึกษา (Input) ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน (Process) และด้านผลผลิตทางการศึกษา (Output) โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านที่มีสภาพปัจจุบันต่ำที่สุด คือ ด้านการนำเข้าระบบการศึกษา (Input) ในขณะที่สภาพที่พึงประสงค์มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยที่ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน (Process) คือ ด้านที่มีสภาพที่พึงประสงค์มากที่สุด 3) จุดแข็งและจุดอ่อนของการจัดการศึกษาที่ตอบสนองความต้องการกำลังคนและอุปสงค์ทางการศึกษาของผู้เรียนในพื้นที่ EEC จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในแล้วพบว่า ด้านผลผลิตทางการศึกษา (Output) เป็นจุดแข็งมากที่สุด และด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน (Process) เป็นจุดอ่อนมากที่สุด ส่วนสภาพแวดล้อมภายนอก พบว่าโดยรวมปัจจัยด้านเทคโนโลยีเป็นโอกาสที่เอื้อต่อการจัดการศึกษามากที่สุดและการเมืองและนโยบายของรัฐเป็นภาวะคุกคามมากที่สุด 4) กลยุทธ์การจัดการศึกษาที่ตอบสนองความต้องการกำลังคนและอุปสงค์ทางการศึกษาของผู้เรียนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก มี 3 กลยุทธ์หลัก กลยุทธ์หลักที่ 1 พลิกโฉมระบบการคัดเลือกและการเข้าศึกษาของผู้เรียนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกโดยมุ่งเน้นการตอบสนองความต้องการของผู้เรียนที่สอดคล้องกับอุปสงค์กำลังคน กลยุทธ์หลักที่ 2 ยกระดับการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการในการพัฒนาหลักสูตรที่มุ่งสร้างสรรถนะเร่งด่วนให้กับผู้เรียน (Urgent Competency) กลยุทธ์หลักที่ 3 ปฏิรูปมาตรฐานการประเมินตัวชี้วัดสถานศึกษาโดยมุ่งเน้นการได้งานทำหลังจบการศึกษาของผู้เรียนและการตอบสนองความต้องการกำลังคนในพื้นที่ EEC
Abstract: The purposes of this study were to 1) study the demand for manpower and demand for education of learners in Eastern Economic Corridor 2) study the current and desirable stage of education provision to respond to manpower and leaner’s demand for education in Eastern Economic Corridor 3) analyze strengths, weaknesses, opportunities ,and threats of education provision to respond to manpower and leaner’s demand for education in Eastern Economic Corridor 4) develop education provision strategies to respond to manpower and leaner’s demand for education in Eastern Economic Corridor. This research applied a mixed-method research methodology. The research findings revealed that 1) during 2019-2021 the First S-Curve industries require the manpower with a vocational degree the most (59.12%) followed by bachelor’s degree (25.13%) while the New S-curve industries require vocational degree manpower for 9.44% and bachelor’s degree manpower 6.30%. The demand for education of the M.3 students has shown that the majority of students chose to continue to study in high school (70%) while only 29% chose to continue in vocational education. The factors affecting education choice for those who chose vocational education were sex, GPA, education level of parent, SES, job opportunity, and the demand for manpower in the industry. 2) the current stage of education provision to respond to manpower and learner’s demand for education in Eastern Economic Corridor which is composed of 3 approaches, which were 1) Input 2) Process 3) Output, had been scored moderate overall and the lowest part was the ‘Input’ approach while the desirable stage was scored as a high level and the ‘Process’ was the most desirable stage. 3) the analysis of internal factors revealed that the ‘Output (educational output)’ was the strength and the ‘Process (Educational process)’ was the weakness of the education provision, while the external factors showed that technological factors were the opportunities and the political factors were the threats for educational provision to respond to manpower and leaner’s demand for education in Eastern Economic Corridor.4) the education provision strategies to respond to manpower and leaner’s demand for education in Eastern Economic Corridor composed of 3 main strategies which were strategy 1 : transform the admission system of learners in EEC by focusing on responding to the demand for manpower and the demand for education of leaners, strategy 2 : escalate the cooperation with entrepreneurs in developing the curriculum that can create urgent competency for the leaners that required by the industries together, strategy 3) modify the standardized indicators for the educational institution in EEC by focusing on employability of learners after graduation and the demand for manpower in EEC area.
Address: BANGKOK
Email: cuir@car.chula.ac.th
Role: advisor
Created: 2021
Modified: 2566-02-07
Issued: 2566-02-07
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
URL: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78249
eng
DegreeName: Master of Arts
©copyrights Chulalongkorn University
RightsAccess:
ลำดับที่.ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูลจำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด
1 6384501351[1].pdf 1.72 MB7 2025-03-07 21:12:27
ใช้เวลา
0.036515 วินาที

Jatupathra Krancharoen
Title Contributor Type
Work values of employees across multigenerational workforce in hospitality industry in Thailand
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Jatupathra Krancharoen
จรูญศรี มาดิลกโกวิท
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์
วิทยานิพนธ์/Thesis
Nopphawan Photphisutthiphong
Title Creator Type and Date Create
Strategic Economic Assessment Of The Tourism Promotion Program In The Eastern Region Of Thailand
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
Nopphawan Photphisutthiphong, Ph.D. and Assoc.Prof. Somchai Ratanakomut, Ph.D.
Nichakorn Tantivanichanon
วิทยานิพนธ์/Thesis
Brain drain situation of Thai skilled workers: push-pull factors and intentions to return
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Nopphawan Photphisutthiphong
Nawapat Choosuwan
วิทยานิพนธ์/Thesis
Copyright 2000 - 2025 ThaiLIS Digital Collection Working Group. All rights reserved.
ThaiLIS is Thailand Library Integrated System
สนับสนุนโดย สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
328 ถ.ศรีอยุธยา แขวง ทุ่งพญาไท เขต ราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร. โทร. 02-232-4000
กำลัง ออน์ไลน์
ภายในเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 11
ภายนอกเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 1,895
รวม 1,906 คน

More info..
นอก ThaiLIS = 157,624 ครั้ง
มหาวิทยาลัยสังกัดทบวงเดิม = 1,627 ครั้ง
มหาวิทยาลัยราชภัฏ = 87 ครั้ง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล = 53 ครั้ง
มหาวิทยาลัยเอกชน = 8 ครั้ง
หน่วยงานอื่น = 3 ครั้ง
สถาบันพระบรมราชชนก = 3 ครั้ง
รวม 159,405 ครั้ง
Database server :
Version 2.5 Last update 1-06-2018
Power By SUSE PHP MySQL IndexData Mambo Bootstrap
มีปัญหาในการใช้งานติดต่อผ่านระบบ UniNetHelp


Server : 8.199.134
Client : Not ThaiLIS Member
From IP : 216.73.216.208