การศึกษาวิเคราะห์บุคลิกภาพของพนักงานให้บริการ กรณีศึกษา : ธนาคารดีบีเอส ไทยทนุ จำกัด (มหาชน)
Abstract:
การศึกษาวิเคราะห์วิเคราะห์บุคลิกภาพของพนักงานให้บริการ กรณีศึกษาธนาคารดีบีเอส ไทยทนุ จำกัด (มหาชน) มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบบุคลิกภาพของพนักงานให้บริการที่มีความแตกต่างกันในตัวแปรด้านเพศ สถานภาพสมรส อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน รายได้ ประสบการณ์ในการทำงาน และฝ่ายงาน/สาขาที่สังกัด เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย โดยใช้แบบทดสอบบุคลิกภาพ 16 PF (Form A) ซึ่งแปลและเรียบเรียงโดย ดร.พัชรีวัลย์ เกตุแก่นจันทร์ ซึ่งดำเนินการวิจัยกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงานให้บริการของธนาคารดีบีเอส ไทยทนุ จำกัด (มหาชน) โดยจำแนกออกเป็นพนักงานให้บริการที่สังกัดฝ่ายงานในสำนักงานใหญ่ 8 ฝ่ายงาน จำนวน 93 คน พนักงานที่สังกัดสาขา จำนวน 177 คน จำแนกตามลักษณะงาน คือ ตำแหน่งงาน CRO จำนวน 55 คน และตำแหน่ง CSA จำนวน 112 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าสถิติ T-test การวิเคราะห์การแปรปรวนทางเดียว (One way analysis of variance) และหากมีความแตกต่างรายคู่จะดำเนินการทดสอบทางสถิติโดยใช้ (Newman Kurls Method) และใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC+ ในการประมวลผล
ผลการศึกษามีสาระสำคัญ ดังนี้
การศึกษาวิเคราะห์วิเคราะห์บุคลิกภาพของพนักงานให้บริการ กรณีศึกษาธนาคารดีบีเอส ไทยทนุ จำกัด (มหาชน)นั้น พบว่าพนักงานให้บริการของธนาคารส่วนใหญ่ มีคะแนนองค์ประกอบบุคลิกภาพ 14 องค์ประกอบอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ปกติ ส่วนอีก 2 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านความมั่นคงทางด้านอารมณ์ (C) และองค์ประกอบด้านจินตนาการ (M) นั้นมีความเบี่ยงเบนค่อนข้างมาก
การศึกษาเปรียบเทียบบุคลิกภาพของพนักงานให้บริการที่มีความแตกต่างกันในด้านตัวแปรด้านต่าง ๆ นั้น ผลการศึกษาปรากฏผล ดังนี้
ตัวแปรด้านเพศ, สถานภาพสมรส, อายุ, และฝ่ายงาน/สาขาที่สังกัด พบว่า ตัวแปรดังกล่าวข้างต้นมีองค์ประกอบบุคลิกภาพไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่รัดับ .05
ตัวแปรด้านระดับการศึกษา พบ ว่าระดับการศึกษาต่างกันจะส่งผลต่อบุคลิกภาพของพนักงานให้บริการต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่รัดับ .05 โดยพนักงานที่มีการศึกษาในระดับปริญญาโท มีบุคลิกภาพด้านการเข้าสังคม (A) การจินตนาการ (M) และความวิตกกังวล (O) สูงกว่าพนักงานในกลุ่มการศึกษากลุ่มอื่น ๆ
ตัวแปรด้านตำแหน่งงาน พบว่าตำแหน่งงานต่างกันจะส่งผลต่อบุคลิกภาพของพนักงานให้บริการต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่รัดับ .05 พนักงานตำแหน่งงาน Associate II มีบุคลิกภาพด้านความระแวง (L) สูงกว่าพนักงานตำแหน่งงานอื่น ๆ ส่วนองค์ประกอบบุคลิกภาพด้านการจินตนาการ (M) พนักงานตำแหน่ง Associate I มีองค์ประกอบด้านจินตนาการสูงกว่าพนักงานในตำแหน่งอื่น ๆ และองค์ประกอบด้านความอิสระเสรี (Q1) พนักงานตำแหน่ง Bank Executive I มีองค์ประกอบด้านความอิสระเสรีสูงกว่าพนักงานตำแหน่งอื่น ๆ
ตัวแปรด้านรายได้ พบว่าพนักงานที่มีรายได้ต่างกันจะส่งผลต่อบุคลิกภาพของพนักงานให้บริการต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่รัดับ .05 โดยพนักงานให้บริการที่มีรายได้ 15,001-20,000 บาท มีบุคลิกภาพด้านจินตนาการ (M) สูงกว่าพนักงานในกลุ่มรายได้อื่น ๆ และพนักงานที่มีรายได้ 20,001 บาทขึ้นไปมีบุคลิกภาพด้านกังวล (O) และการพึ่งตนเอง (Q2) สูงกว่าพนักงานในกลุ่มรายได้อื่น ๆ
ตัวแปรด้านประสบการณ์ในการทำงาน พบว่าพนักงานที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกันจะส่งผลต่อบุคลิกภาพของพนักงานให้บริการต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่รัดับ .05 โดยพนักงานที่มีประสบการณ์ในการทำงาน 15 ปีขึ้นไปมีบุคลิกภาพด้านมโนธรรม (G) และความระแวง (L) สูงกว่าพนักงานกลุ่มประสบการณ์อื่น ๆ
การวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะสำหรับธนาคาร ซึ่งธนาคารสามารถนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการสรรหาและคัดเลือกพนักงานให้บริการของธนาคารดีบีเอส ไทยทนุ จำกัด (มหาชน) และธนาคารอื่น ๆ
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ.
Email:
seubyos.si@bsru.ac.th
Role:
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
CallNumber:
332.120683 ศ686ก
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา