แจ้งเอกสารไม่ครบถ้วน, ไม่ตรงกับชื่อเรื่อง หรือมีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับเอกสาร ติดต่อที่นี่ ==>
หากไม่มีอีเมลผู้รับให้กรอก thailis-noc@uni.net.th ติดต่อเจ้าหน้าที่เจ้าของเอกสาร กรณีเอกสารไม่ครบหรือไม่ตรง

ความรู้เส้นทางการท่องเที่ยวสำหรับหมู่บ้านท่องเที่ยวเซรามิก บ้านศาลาบัวบก จังหวัดลำปาง
Tourist route knowledge for ceramic tourist village, Ban Sala Bua Bok of Lampang province

ThaSH: การท่องเที่ยว
ThaSH: แผนที่ท่องเที่ยว
ThaSH: ลำปาง -- แผนที่
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและอุปสรรค รวบรวมองค์ความรู้ และองค์ประกอบด้านการท่องเที่ยวและด้านปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ของหมู่บ้านท่องเที่ยวเซรามิก บ้านศาลาบัวบก จังหวัดลำปาง 2) ออกแบบเส้นทางและสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยงของหมู่บ้านท่องเที่ยวเซรามิก บ้านศาลาบัวบก จังหวัดลำปาง และ 3) พัฒนาระบบสนับสนุนการท่องเที่ยวหมู่บ้านเซรามิก บ้านศาลาบัวบก จังหวัดลำปาง ในรูปแบบเว็บแอพพลิเคชั่น (Web Application) การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยมีข้อมูลและกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัย ได้แก่ ประธานวิสาหกิจชุมชน จำนวน 1 คน กรรมการวิสาหกิจชุมชน จำนวน 2 คน ชาวบ้านหมู่บ้านท่องเที่ยวเซรามิก บ้านศาลาบัวบก จำนวน 2 คน และนักท่องเที่ยว จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสังเกต 1) แบบสัมภาษณ์ผู้ประกอบการณ์และผู้เชี่ยวชาญ 2) การระดมสมองผ่านชุมชนนักปฏิบัติ 3) ระบบสนับสนุนการท่องที่ยวหมู่บ้านเซรามิก บ้านศาลาบัวบก และ 4) แบบประเมินความหมาะสมของระบบฯ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาปัญหาจากการสังเกตและสัมภาษณ์ผู้ประกอบการและผู้เชี่ยวชาญ พบองค์ความรู้สำคัญ ได้แก่ ความเป็นมาและภูมิศาสตร์ของหมู่บ้าน จุดเด่น ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรมเซรามิก และแหล่งท่องเที่ยวสำคัญใกล้เคียง และสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญภายในชุมชน ได้แก่ วัดศาลาบัวบก โรงงานเซรามิกบ้านศาลาบัวบก ฯลฯ 2. ผลจากการสนทนากลุ่ม พบว่า ขาดข้อมูลรายละเอียดภายในหมู่บ้าน เช่น ข้อมูลโรงงานเซรามิกไม่ชัดเจน ไม่มีแผนที่บ่งบอกการเข้าถึงหรือสถานที่สำคัญที่ควรแนะนำภายในหมู่บ้าน ขาดความโดดเด่นทางด้านผลิตภัณฑ์เซรามิกของแต่ละโรงงาน และไม่มีเส้นทางท่องเที่ยวที่ชัดเจนว่า แต่ละเส้นทางมีสินค้าหรือบริการ หรือสถานที่อำนวยความสะดวกใดที่เป็นจุดเด่นบ้าง 3. ผลการออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยว ประกอบด้วย เส้นทางที่ 1 เป็นเส้นทางที่ครอบคลุมสิ่งอำนวยความสะดวกมากที่สุดสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการความสะดวกสบาย ในเส้นทางนี้มีโรงงานเซรามิกที่น่าสนใจมากมายและยังมีศูนย์การเรียนรู้ และจุดพักที่สามารถแวะเที่ยวชมได้ และมีร้านค้ามากมายให้เลือกสรร เส้นทางแนะนำเส้นทางที่ 2 เป็นเส้นทางที่คล้ายคลึงกับเส้นทางแรก เพียงแต่ในเส้นทางนี้นักท่องเที่ยวสามารถเวียนกลับมายังศูนย์เรียนรู้ได้อีกครั้ง และมีสิ่งอำนวยความสะดวกไปตลอดเส้นทาง เส้นทางที่ 3 ประกอบด้วยโรงงานเซรามิกที่มีความหลากหลายเหมาะสำหรับผู้ที่มีความสนใจและต้องการเยี่ยมชมโรงงานเซรามิกต่าง ๆ ภายในหมู่บ้าน 4. ผลการออกแบบระบบสนับสนุนการท่องเที่ยวหมู่บ้านเซรามิกโดยใช้ระบบบริหารจัดการเนื้อหา ประกอบด้วยเมนูต่าง ๆ คือ 1) บ้านศาลาบัวบก 2) เกี่ยวกับหมู่บ้าน 3) ข้อมูลที่น่าสนใจ 4) เส้นทางการท่องเที่ยว 5) ประมวลภาพ และ 6) การติดต่อ 5. ผลการประเมินความเหมาะสมของการออกแบบเส้นทางท่องเที่ยว พบว่า ความเหมาะสมโดยรวมของการออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวหมู่บ้านท่องเที่ยวเซรามิกอยู่ในระดับดีมาก โดยมีค่าเฉลี่ย (x̅=4.81) โดยที่ความเหมาะสมในด้านการระบุแหล่งท่องเที่ยวเซรามิกและสิ่งอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวมีความชัดเจน ด้านนักท่องเที่ยวสามารถเลือกเส้นทางการท่องเที่ยวเซรามิกได้ด้วยตนเอง และด้านแผนที่ที่จัดทำขึ้นสามารถใช้ประโยชน์ได้ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย (x̅ =493) นอกจากนั้น ผู้ประเมินต้องการให้อธิบายรายละเอียดสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ รวมถึงประเภทและราคาผลิตภัณฑ์เซรามิกของแต่ละโรงงาน เพื่อง่ายต่อการตัดสินใจในการเลือกซื้อสินค้า รวมถึงระบุราคาที่พักแต่ละแห่ง ชื่อสถานที่ท่องเที่ยวควรมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมทั้งควรจัดทำคิวอาร์โค้ดแผนที่ท่องเที่ยว เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถทำการแสกนเข้าดูข้อมูลได้ง่าย
Abstract: This research aims to 1) Study the problems and obstacles gather knowledge and tourism components and marketing mix factors of the ceramic tourism village Ban Sala Bua Bok, Lampang Province2) Design routes and tourism promotion materials for ceramic tourist villages. Ban Sala Bua Bok Lampang, and 3) Develop a tourism support system for ceramic villages. Ban Sala Bua Bok Lampang in the form of Web Application This research is a survey research. The data and sample groups in this research were one president of community enterprises, 2 members of community enterprise committee members, ceramic tourism village villagers, Ban Sala Bua Bok, 2 people and 10 tourists. The instrument used in the research was observation form. 1) Entrepreneurship and Experts Interview Form, 2) Brainstorming through Community of Operators, 3) Tourism Support System, Ban Sala Bua Bok Ceramic Village, and 4) Evaluation Form for the Appropriateness of the Statistical System used in the analysis. The data are percentage and mean. The results of the research were as follows: 1. The study results from observing and interviewing entrepreneurs and experts. Found knowledge such as the history and geography of the village. Highlights include the ceramic factory. And important tourist attractions nearby and important tourist attractions in the community are Wat Sala Bua Bok, the ceramic factory, Ban Sala Bua Bok, etc. 2. As a result of group discussions, it was found that there was a lack of detailed information within the village, such as unclear ceramic factory information. There is no map to indicate accessibility or landmarks that should be suggested within the village. Each factory's ceramic products lack uniqueness. And there is no clear route of travel that each route has products or services. Or any of the featured amenities. 3. The results of the design of the tourist route consist of Route 1, which is the route that covers the most facilities for tourists who want comfort. Along this route there are many interesting ceramic factories and learning centers. And rest stops that can be stopped and there are many shops to choose from. Route 2 is a route similar to the first route. Only on this route, tourists can cycle back to the learning center again. And there are facilities along the way. Route 3 consists of various types of ceramic factories. Suitable for those who are interested and want to visit various ceramic factories in the village. 4. The results of designing a ceramic village tourism support system using a content management system. Menu includes 1) Ban Sala Bua Bok 2) About the village 3) Interesting information 4) Tourist route 5) Photo capture and 6) Contact for inquiries. 5. The evaluation of the suitability of tourism route design found that the overall suitability of tourist route design for the ceramic tourism village was very good, mean ( X =4.81). Mick and the facilities for tourists are clear. On the side, tourists can choose their own ceramic tour routes. And the prepared maps can be used at the highest average level ( X =4.93). Including the type and price of each factory's ceramic products to make it easier to decide on the product selection, including specifying prices for each accommodation, attraction names should be in both Thai and English. Including the preparation of a QR code for tourist maps so that tourists can scan to view information easily.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สำนักหอสมุด
Address: เชียงใหม่
Email: cmulibref@cmu.ac.th
Role: ประธานกรรมการ
Role: กรรมการ
Role: กรรมการ
Created: 2564
Modified: 2565-10-16
Issued: 2565-10-16
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
tha
©copyrights มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
RightsAccess:
ลำดับที่.ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูลจำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด
1 592132013.pdf 8.41 MB24 2025-03-27 15:40:04
ใช้เวลา
0.023008 วินาที

กฤษดา ขันกสิกรรม
Title Creator Type and Date Create
ระบบสนับสนุนการให้คำปรึกษาวิชาการโดยใช้กูเกิลแอพเอนจิน
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กฤษดา ขันกสิกรรม;อติชาต หาญชาญชัย;ชาติชาย ดวงสอาด
กนกวรรณ มาลังค์
วิทยานิพนธ์/Thesis
ระบบสารสนเทศสนับสนุนการบริหารเวลาการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี โดยใช้กูเกิลแอพเอนจิน
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กฤษดา ขันกสิกรรม;อติชาต หาญชาญชัย;ชาติชาย ดวงสอาด
อรธิดา ขำศิริวงศ์
วิทยานิพนธ์/Thesis
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับงานซ่อมบำรุงไฟฟ้าแสงสว่าง และไฟสัญญาณจราจรโดยใช้การให้เหตุผลตามกรณี
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กฤษดา ขันกสิกรรม;อภิชาต หาญชาญชัย;ชาติช่าย ดวงสอาด
ปิยะพร เป็งนาสุวรรณ
วิทยานิพนธ์/Thesis
ฐานความรู้สำหรับงานซ่อมบำรุงสระว่ายน้ำของบริษัท ดีแอนด์จี เคมีภัณฑ์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กฤษดา ขันกสิกรรม;อติชาต หาญชาญชัย;ปิติพงษ์ ยอกมงคล
กานต์พิชชา วงษาแจ่ม
วิทยานิพนธ์/Thesis
ระบบบริหารกรอบอัตรากำลังลูกจ้างภาครัฐ กรณีศึกษาสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กฤษดา ขันกสิกรรม;ภราดร สุรีย์พงษ์;อติชาต หาญชาญชัย
จันทรนันทน์ เตมียศักดิ์
วิทยานิพนธ์/Thesis
ระบบสร้างเนื้อหาเว็บไซต์โดยใช้เฟสบุ๊คเอพีไอ
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กฤษดา ขันกสิกรรม;อติชาต หาญชาญชัย;ภราดร สุรีย์พงษ์
ธานินทร์ น้อยอ่ำ
วิทยานิพนธ์/Thesis
ความรู้เส้นทางการท่องเที่ยวสำหรับหมู่บ้านท่องเที่ยวเซรามิก บ้านศาลาบัวบก จังหวัดลำปาง
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กฤษดา ขันกสิกรรม;อติชาติ หาญชาญชัย;ธีราพร แซ่แห่ว
พนิดา อ้นอ่อน
วิทยานิพนธ์/Thesis
การลดความผิดพลาดของพนักงานปฏิบัติงานในการพับโลหะแผ่นขึ้นรูปของกระบวนการผลิตอุปกรณ์อากาศยาน โดยใช้ระบบจัดการเอกสาร
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กฤษดา ขันกสิกรรม;อติชาต หาญชาญชัย;ธีราพร แซ่แห่ว
สุพรรษา นิลวัฒนกุล
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านความปลอดภัยการเดินรถ
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กฤษดา ขันกสิกรรม;อติชาต หาญชาญชัย;จิรพัฒน์ วาณิชวัฒนะโกศล
สุนัตตา หวานชะเอม
วิทยานิพนธ์/Thesis
อติชาติ หาญชาญชัย
Title Creator Type and Date Create
ความรู้เส้นทางการท่องเที่ยวสำหรับหมู่บ้านท่องเที่ยวเซรามิก บ้านศาลาบัวบก จังหวัดลำปาง
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กฤษดา ขันกสิกรรม;อติชาติ หาญชาญชัย;ธีราพร แซ่แห่ว
พนิดา อ้นอ่อน
วิทยานิพนธ์/Thesis
ธีราพร แซ่แห่ว
Title Creator Type and Date Create
แม่แบบแผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานโดยใช้วิศวกรรมความรู้
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ธีราพร แซ่แห่ว;อัครพล นิมมลรัตน์;สิริกร สันติโรจนกุล
วิลาวรรณ์ วงศ์ขัติย์
วิทยานิพนธ์/Thesis
การสังเคราะห์ความรู้การเลี้ยงไก่พื้นเมืองบนพื้นที่สูงชุมชนบ้านยองแหละ อำเภอมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อัครพล นิมมลรัตน์;ธีราพร แซ่แห่ว;บวรศักดิ์ เพชรานนท์
ผ่องศรี กติกาโชคสกุล
วิทยานิพนธ์/Thesis
การกำหนดต้นแบบสมรรถนะสำหรับบุคลากรฝ่ายบริหารโครงการศูนย์นวัตกรรมและการจัดการความรู้
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อติชาต หาญชาญชัย;ธีราพร แซ่แห่ว;ภราดร สุรีพงษ์
ชลนิศา พรหมเผือก
วิทยานิพนธ์/Thesis
การประยุกต์ใช้วิศวกรรมความรู้ เพื่อสร้างตัวแบบความรู้เกี่ยวกับโภชนาการโคนม
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ธีราพร แซ่แห่ว;อัครพล นิมมลรัตน์;ไพรพันธ์ ธนเลิศโศภิต
ปิยชนน์ ศันสนีย์
วิทยานิพนธ์/Thesis
กรอบการจัดการข้อมูลคำรับรองการปฏิบัติงาน ยุทธศาสตร์ที่ 2 งานวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รัฐพล วุฒิการณ์;เผขิญวาส ศรีชัย;ธีราพร แซ่แห่ว
สุนัดดา สงวนเดช
วิทยานิพนธ์/Thesis
โมเดล เคเอพี คอนสตรัคชันนิซึ่มเพื่อพัฒนาทักษะการคิดในวิชาสุขศึกษาสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เกษกานดา คงทวีเลิศ;อรวิชย์ ถิ่นนุกุล;ธีราพร แซ่แห่ว
นันทพร แก้วเสน
วิทยานิพนธ์/Thesis
การเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต 7 จังหวัดเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ธัญญภรณ์ ใจมั่ง;กุลวดี ทองไพบูลย์;ธีราพร แซ่แห่ว
มารุต แก้วอินทร์
วิทยานิพนธ์/Thesis
การใช้เทคนิควิศวกรรมความรู้ในการพัฒนารูปแบบการประเมินและการจัดการอาการจิตเวชกำเริบในกลุ่มผู้ติดสุรา
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อวยพร ตัณมุขยกุล;ธีราพร แซ่แห่ว;เฉลิมพล คงจิตต์
ปุญชรัสมิ์ ยุวศิริกุลชัย
วิทยานิพนธ์/Thesis
ความรู้เส้นทางการท่องเที่ยวสำหรับหมู่บ้านท่องเที่ยวเซรามิก บ้านศาลาบัวบก จังหวัดลำปาง
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กฤษดา ขันกสิกรรม;อติชาติ หาญชาญชัย;ธีราพร แซ่แห่ว
พนิดา อ้นอ่อน
วิทยานิพนธ์/Thesis
การลดความผิดพลาดของพนักงานปฏิบัติงานในการพับโลหะแผ่นขึ้นรูปของกระบวนการผลิตอุปกรณ์อากาศยาน โดยใช้ระบบจัดการเอกสาร
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กฤษดา ขันกสิกรรม;อติชาต หาญชาญชัย;ธีราพร แซ่แห่ว
สุพรรษา นิลวัฒนกุล
วิทยานิพนธ์/Thesis
แบบจำลองการดูแลเจ้าหน้าที่เภสัชกรรมเพื่อลดความคลาดเคลื่อนก่อนการจ่ายยาและเพิ่มสมรรถนะในงานเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ธัญญภรณ์ ใจมั่ง;ปิติพงษ์ ยอดมงคล;ธีราพร แซ่แห่ว
เกลียวกมล บุญยืน
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนาแนวปฏิบัติด้วยตนเองในการวินิจฉัยและรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังโดยใช้การคิดเชิงออกแบบ
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ธีราพร แซ่แห่ว
นพพร สินสวัสดิ์
วิทยานิพนธ์/Thesis
การวิเคราะห์เนื้อหาแนวทางการปฏิบัติที่ดีด้านการเกษตรโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ธีราพร แซ่แห่ว
กรกช เจริญทรัพย์
วิทยานิพนธ์/Thesis
Copyright 2000 - 2025 ThaiLIS Digital Collection Working Group. All rights reserved.
ThaiLIS is Thailand Library Integrated System
สนับสนุนโดย สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
328 ถ.ศรีอยุธยา แขวง ทุ่งพญาไท เขต ราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร. โทร. 02-232-4000
กำลัง ออน์ไลน์
ภายในเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 11
ภายนอกเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 2,343
รวม 2,354 คน

More info..
นอก ThaiLIS = 173,459 ครั้ง
มหาวิทยาลัยราชภัฏ = 640 ครั้ง
มหาวิทยาลัยสังกัดทบวงเดิม = 433 ครั้ง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล = 46 ครั้ง
มหาวิทยาลัยเอกชน = 42 ครั้ง
สถาบันพระบรมราชชนก = 8 ครั้ง
หน่วยงานอื่น = 2 ครั้ง
มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ = 2 ครั้ง
มหาวิทยาลัยสงฆ์ = 1 ครั้ง
รวม 174,633 ครั้ง
Database server :
Version 2.5 Last update 1-06-2018
Power By SUSE PHP MySQL IndexData Mambo Bootstrap
มีปัญหาในการใช้งานติดต่อผ่านระบบ UniNetHelp


Server : 8.199.133
Client : Not ThaiLIS Member
From IP : 216.73.216.48