การคัดแยกและบ่งชี้เชื้อราในสกุล Neosartorya และ Talaromyces เพื่อการควบคุมโรครากและโคนเน่าในทุเรียน
Isolation and identification of fungi in genus Neosartorya and Talaromyces for root and stem rot disease control in durian
Abstract:
การคัดแยกเชื้อราก่อโรคสกุล Phytophthora และ Pythium จากตัวอย่างดินและเปลือกไม้ของต้นทุเรียนที่เป็นโรครากและโคนเน่าในสวนทุเรียน จังหวังหวัดชุมพร จำนวน 47 ต้น พบว่าสามารถคัดแยกเชื้อได้จำนวน 33 ไอโซเลต ได้แก่ สกุล Phytophthora และ Pythium รวมทั้งสกุล Mortierella ที่มีจำนวนมาก จึงคาดว่าอาจเป็นสาเหตุของโรครากและโคนเน่า เมื่อบ่งชี้เชื้อราด้วยเทคนิคระดับโมเลกุล สามารถจำแนกเชื้อได้ 8 สปีชีส์ ได้แก่ Phytophthora palmivora, Pythium cucurbitacearum, P. splendens P. deliense, P. acanthicum, Mortierella capitata, M. chlamydospora และ M. hyalina เมื่อทดสอบความสามารถในการเกิดโรคพบว่า P. palmivora, P. cucurbitacearum และ P. splendens มีความสามารถทำให้ใบทุเรียนพันธุ์หมอนทองเกิดรอยแผลเน่าสีน้ำตาลรวมทั้งคัดแยกเชื้อราสกุล Neosartorya และ Talaromyces ได้จำนวน 4 ไอโซเลต ได้แก่ Neosartorya aureola, N. fenneliae, N. spinosa และTalaromyces muroii และในการศึกษาประสิทธิภาพของเชื้อราสกุล Neosartorya และ Talaromyces ที่มีต่อการควบคุมเชื้อราก่อโรคด้วยวิธี bi-culture พบว่าเชื้อรา N. hiratsukae EU06 และ T. muroii EU18 มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการสร้างสปอร์ของเชื้อราก่อโรค P. palmivora, P. cucurbitacearum และ P. splendens ได้ดีที่สุดรวมทั้งสารสกัดจากเชื้อรา N. hiratsukae EU06 มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการสร้างสปอร์ของเชื้อรา P. palmivora ด้วยค่า ED50 ของสารสกัดชั้นเฮกเซนเอทิลอะซิเตท และเมทานอลเท่ากับ 0.4199, 0.0736 และ 4.4023 ppm ตามลำดับ
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. สำนักหอสมุดกลาง
Email:
Lifelong@kmitl.ac.th
Role:
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
Role:
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม
©copyrights สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง