แจ้งเอกสารไม่ครบถ้วน, ไม่ตรงกับชื่อเรื่อง หรือมีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับเอกสาร ติดต่อที่นี่ ==>
หากไม่มีอีเมลผู้รับให้กรอก thailis-noc@uni.net.th ติดต่อเจ้าหน้าที่เจ้าของเอกสาร กรณีเอกสารไม่ครบหรือไม่ตรง

มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมเทคโนโลยีการสื่อสารทางการแพทย์: ศึกษากรณีการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วย
Legal Measures on Medical Communication Technology Control : Case Study of the Protection of Personal Data of Patients

ThaSH: การสื่อสารทางการแพทย์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- วิจัย
Abstract: วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการแพทย์ และข้อมูลบุคคล ของผู้ป่วย เนื่องจากมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับความคุ้มครองเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่สามารถให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยเป็นการเฉพาะเมื่อมีเทคโนโลยีในการจัดเก็บข้อมูลของผู้ป่วยเข้ามาเกี่ยวข้องโดยศึกษาการวิเคราะห์และเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ สหภาพยุโรป สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เครือรัฐออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา กับกฎหมายของประเทศไทย เพื่อหาแนวทางในการกำหนดมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ทำให้รูปแบบในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยที่เข้ารับบริการทางสาธารณสุขที่ให้ไว้แก่บุคลากรทางการแพทย์มีข้อมูลที่สำคัญ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัยและเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพการป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยโรคการรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยถูกบันทึกและจัดเก็บในรูปแบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Medical Record -EMR) ซึ่งมีความสะดวก และรวดเร็วในการสืบค้นข้อมูลของผู้ป่วย และส่งข้อมูลระหว่างโรงพยาบาลเพื่อความต่อเนื่องในการรักษาของผู้ป่วย การให้ความคุ้มครองในข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยในเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์จึงมีความสำคัญอย่างมาก เพราะมีความเสี่ยงที่ข้อมูลของผู้ป่วยจะถูกเปิดเผยซึ่งเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ หรือบุคคลภายนอกผู้ไม่ประสงค์ดี โดยการทำลายความปลอดภัยของระบบป้องกันข้อมูล หรือที่เรียกว่า “แฮคเกอร์ (Hackers)” การปล่อยไวรัสคอมพิวเตอร์ (Viruses Computer) เป็นต้น ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยถูกเปิดเผยหรือเสียหาย อันส่งผลเสียต่อ เจ้าของมูลไม่ว่าด้านชื่อเสียง ความปลอดภัย หรือทรัพย์สิน ซึ่งในปัจจุบันมีกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หมวด 3 มาตรา 32 ซึ่งให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลแต่ไม่ครอบคลุมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ และพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูล ส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งต้องจัดให้มีมาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล แต่กิจการด้านการแพทย์และสาธารณสุขไม่เป็นกิจการที่อยู่ในบังคับ ซึ่งทำให้ไม่มีความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ และไม่มีบทบัญญัติให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยในเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ และไม่มีกำหนดความรับผิดกรณีข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยถูกเปิดเผยโดยปราศจากความยินยอม อีกทั้งขาดเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่รับผิดชอบในการป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยในเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ จึงส่งผลให้ไม่มีมาตรการทางกฎหมายให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยในเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์อย่างเหมาะสม จากการศึกษาปัญหาข้างต้น ผู้ศึกษาจึงมีแนวความคิดให้กำหนดมาตรการทางกฎหมาย ดังนี้ 1. บัญญัติกฎหมายที่มีความเฉพาะเกี่ยวกับเทคโนโลยีการสื่อสารทางการแพทย์และข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วย 2. กำหนดการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยไว้โดยชัดแจ้ง 3. กำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความรับผิด กรณีข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยถูกแทรกแซงและได้รับความเสียหาย 4. กำหนดให้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยในเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ และ 5. แก้ไขปรับปรุงกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. ศูนย์เรียนรู้และหอสมุด.
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: library@dpu.ac.th
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Modified: 2565-03-23
Created: 2563
Issued: 2022-03-17
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
eng
©copyrights Dhurakij Pundit University
RightsAccess:
ลำดับที่.ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูลจำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด
1 Jirawchva.Jin.pdf 2.56 MB9 2025-05-03 03:19:14
ใช้เวลา
0.227248 วินาที

จิรัชยา จิ้นสุริวงษ์
ภูมิ โชคเหมาะ
Title Creator Type and Date Create
อุปสรรคในทางกฏหมายที่ทำให้นักลงทุนต่างด้าวไม่มั่นใจในการมาลงทุน ในประเทศไทย : ศึกษากรณีการโอนกิจการของผุ้ลงทุนมาเป็นของรัฐ
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ภูมิ โชคเหมาะ ;ชาญวิทย์ สุวรรณะบุณย์
จงรักษ์ พลสงคราม
วิทยานิพนธ์/Thesis
มาตรการทางกฎหมายเพื่อควบคุมพืชตัดแต่งพันธุกรรม
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ภูมิ โชคเหมาะ ;นเรศ ดำรงชัย
กรรณิการ์ ชิตวงศ์
วิทยานิพนธ์/Thesis
มาตรการทางกฎหมายในการกำกับดูแลสถาบันการเงินโดยธนาคารแห่งประเทศไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีบทบาทของคณะกรรมการธนาคารพาณิชย์ = The Legal Measures on Investigation to the Financial Institutions by the Bank of Thailand : Case Study on the Role of Board of Director of
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ภูมิ โชคเหมาะ ;บุญเสริม บุญเจริญผลl
วรวัฒน์ สายบัว
วิทยานิพนธ์/Thesis
การนำมาตรการทางเศรษฐศาสตร์มาใช้ในกฎหมายเพื่อป้องกันควบคุม และแก้ไขปัญหามลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม = The Utilization of Economic Measures to Determine The Laws for Controlling Protection and Solving The Pollution Problem Caused by Pollutants Remitted from th
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
กัลยา ตัณศิริ = Kalaya Tansiri;ภูมิ โชคเหมาะ = Poom Chokmoh
ราฆพ ศรีศุภอรรถ = Rakop Srisupaat
วิทยานิพนธ์/Thesis
ปัญหากฎหมายและอุปสรรคในการรวมกลุ่มเศรษฐกิจระดับภูมิภาค : กรณีศึกษาอาเซียน
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ภูมิ โชคเหมาะ ;ธรัมพ์ ชาลีจันทร์
ไพศาล เสริตานนท์
วิทยานิพนธ์/Thesis
มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองลูกค้าธนาคารพาณิชย์ โดยผู้ตรวจการธุรกรรมธนาคารพาณิชย์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ภูมิ โชคเหมาะ ;สราวุธ เบจกุล
ประนูนไชย วิลาศรี
วิทยานิพนธ์/Thesis
การบังคับหลักประกันตามพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ภูมิ โชคเหมาะ
วุฒิพงษ์ ศักดิ์สิทธิ์
วิทยานิพนธ์/Thesis
มาตรการทางกฏหมายเกี่ยวกับการดำรงตำแหน่งคณะกรรมการในรัฐวิสาหกิจของข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจำ
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
อาจารย์ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ ดร.ภูมิ โชคเหมาะ
สลักจิต กุลเตชะมาภรณ์
วิทยานิพนธ์/Thesis
วินัยทางการคลังและงบประมาณ : ศึกษากรณีการไปศึกษาดูงานต่างประเทศ ของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจ
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ภูมิ โชคเหมาะ
ธาดา แสงสุวรรณ
วิทยานิพนธ์/Thesis
การใช้อำนาจทางกฎหมายของฝ่ายทหาร : ศึกษากรณีคำสั่งทางปกครองในสถานการณ์ฉุกเฉิน
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ภูมิ โชคเหมาะ
วุฒิชัย ประทุมวัลย์
วิทยานิพนธ์/Thesis
ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้เสียหายและความรับผิดของหน่วยงานของรัฐ : ศึกษากรณีการกระทำละเมิดของบุคคลธรรมดา อันเกิดจากการดำเนินงานตามสัญญาจ้างเหมาบริการด้านบริการงานยานพาหนะ
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ภูมิ โชคเหมาะ
กษรา ตั้งใจ
วิทยานิพนธ์/Thesis
ปัญหาทางกฎหมายในการบังคับใช้บัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ : ศึกษาเฉพาะกรณีบัตรศูนย์อาหารสูญหายหรือชำรุดบกพร่อ
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ภูมิ โชคเหมาะ
สิริพัชร์ ไพศาล
วิทยานิพนธ์/Thesis
มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมเทคโนโลยีการสื่อสารทางการแพทย์: ศึกษากรณีการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วย
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ภูมิ โชคเหมาะ
จิรัชยา จิ้นสุริวงษ์
วิทยานิพนธ์/Thesis
Copyright 2000 - 2025 ThaiLIS Digital Collection Working Group. All rights reserved.
ThaiLIS is Thailand Library Integrated System
สนับสนุนโดย สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
328 ถ.ศรีอยุธยา แขวง ทุ่งพญาไท เขต ราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร. โทร. 02-232-4000
กำลัง ออน์ไลน์
ภายในเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 9
ภายนอกเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 2,860
รวม 2,869 คน

More info..
นอก ThaiLIS = 69,235 ครั้ง
มหาวิทยาลัยสังกัดทบวงเดิม = 42 ครั้ง
มหาวิทยาลัยราชภัฏ = 16 ครั้ง
สถาบันพระบรมราชชนก = 7 ครั้ง
หน่วยงานอื่น = 2 ครั้ง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล = 1 ครั้ง
มหาวิทยาลัยเอกชน = 1 ครั้ง
รวม 69,304 ครั้ง
Database server :
Version 2.5 Last update 1-06-2018
Power By SUSE PHP MySQL IndexData Mambo Bootstrap
มีปัญหาในการใช้งานติดต่อผ่านระบบ UniNetHelp


Server : 8.199.133
Client : Not ThaiLIS Member
From IP : 216.73.216.48