Abstract:
การแยกเชื้อราสาเหตุโรค Phomopsis asparagi และ Colletotrichum gloeosporioides จากต้นหน่อไม้ฝรั่งจำนวน 29 ตัวอย่าง เป็นเชื้อรา P. asparagi สาเหตุโรคลำต้นไหม้ 10 ไอโซเลต และ เชื้อรา C. gloeosporioides สาเหตุของโรคแอนแทรคโนส จำนวน 8 ไอโซเลต โดยบ่งชี้ด้วยลักษณะสัณฐานวิทยา และลำดับนิวคลีโอไทด์ที่ตำแหน่ง ITS ด้วยคู่ไพรเมอร์ ITS1 และ ITS4 เมื่อทดสอบความสามารถในการก่อโรคพบว่า P. asporagi ASPA03 และ C. gloeosporioides ASCG06 สามารถก่อโรคในหน่อไม้ฝรั่งรุนแรงมากที่สุด การแยกเชื้อราต่อต้านสกุล Neosartorya และ Talaromyces จากตัวอย่างดินจำนวน 18 ตัวอย่าง เป็นเชื้อราสกุล Neosartorya จำนวน 15 ไอโซเลต และเชื้อราสกุล Talaromyces จำนวน 10 ไอโซเลต บ่งชี้ด้วยลักษณะสันฐานวิทยาและศึกษาลำดับนิวคลีโอไทด์ที่ตำแหน่ง β-tubulin ด้วยคู่ไพรเมอร์ Bt2a และ Bt2b สามารถระบุสปีชีส์ของเชื้อราต่อต้าน ได้แก่ เชื้อรา N. spinosa, N. pseudofischeri, T. liani, T. mocrosporus, T. muroii และ เชื้้อราสกุล Talaromyces ที่ไม่สามารถระบุสปีชีส์ จำนวน 2 ไอโซเลต การทดสอบประสิทธิภาพของเชื้้อราต่อต้านด้วยวิธี dual culture พบว่าเชื้อรา N. pseudofscheri ATM17-03 และ Talaromyces ATM07-01 มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการสร้างสปอร์ของเชื้อราสาเหตุโรคทั้ง 2 สปีชีส์ ได้ดี และการทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากเชื้อราต่อต้านในการยับยั้งการสร้างสปอร์ พบว่า สารสกัดหยาบจากตัวทำละลายเอทิล อะซิเตท ของเชื้อรา N. pseudofischeri ATM17-03 มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อรา P. asparagi ASPA03 และ C. gloeosporioides ASCG06 ได้ดีที่สุดโดยมีค่า ED₅₀ เท่ากับ 11.67 และ 95.09 ppm ตามลำดับสำหรับสารสกัดหยาบ จากเชื้อรา Talaromyces ATM07-01 จากตัวทำละลายเมทานอลมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อรา P. asparagi ASPA03 ดีที่สุด และสารสกัดหยาบจากตัวทำละลายเอทิล อะซิเตท สามารถยับยั้งเชื้อรา C. gloeosporioides ASCG06 ได้ดีที่สุด เมื่อวิเคราะห์สารสำคัญในสารสกัดหยาบจากตัวทำละลายเอทิล อะซิเตท ของเชื้อรา N. pseudofischeri ATM17-03 พบสาร Hecogenin และสารสกัดหยาบจากตัวทำละลายเอทิลอะซิเตท และเมทานอล ของเชื้อรา Talaromyces. ATM07-01 พบสาร Bis (2-ethylhexyt) phthalate และ Phenol, bis (1,1-dimethylethyla)
Abstract:
Phomopsis asparagi and Colletotrichum gloeosporioides were isolated from 29 samples of diseased asparagus found 10 isolates of P. asparagi causing stem blight and 8 isolates of C. gloeosporioides causing anthracnose. The pathogens were identified by morphology and nucleotide sequences of the ITS regions with ITS1/ITS4 primers. The pathogenicity test revealed that P. asparagi ASPA03 and C. gloeosporioides ASCG06 had the highest virulence pathogenic isolates. The fifteen isolates of Neosartorya and ten isolates of Talaromyces were isolated from 18 SOIL samples using morphological and molecular characterization. DNA sequencing on ß-tubulin with BT2A/BT2B primers used for molecular identification. N. spinosa, N. pseudofischeri, T. liani, T. macrosporus, T. muroii and two unidentified species of Talaromyces were confirmed by phylogenetic analysis. Obtained results from the dual culture method, N. pseudofischeri ATM17-03 and Talaromyces ATM07-01 demonstrated good inhibitory of spore germination on both of the tested pathogens. The crude ethyl acetate extract of N. pseudofischeri ATM17-03 showed the most effective to inhibit spore germination of P. asparagi ASPA03 and C. gloeosporioides ASCG06 which the ED50 values of 11.67 and 95.09 ppm, respectively. In crude extracts of Talaromyces ATM07-01 test, it was found that crude methanol extract showed the highest inhibitory effect on spore germination of P. asparagi ASPA03. The remaining ethyl acetate crude extract showed also the highest degrees of inhibition of C. gloeosporioides ASCG06 spore germination. In crude ethyl acetate extract of N. pseudofischeri ATM17-03, the antagonist compound found Hecogenin. The ethyl acetate and methanol extract of Talaromyces ATM07-01, the identified compounds were Bis (2-ethylhexyt) phthalate and Phenol, bis (1,1- dimethylethyla).