แจ้งเอกสารไม่ครบถ้วน, ไม่ตรงกับชื่อเรื่อง หรือมีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับเอกสาร ติดต่อที่นี่ ==>
หากไม่มีอีเมลผู้รับให้กรอก thailis-noc@uni.net.th ติดต่อเจ้าหน้าที่เจ้าของเอกสาร กรณีเอกสารไม่ครบหรือไม่ตรง

การพัฒนาผลิตภัณฑ์แผ่นฟิล์มปรุงรสน้ำจิ้มแบบอีสาน (แจ่ว)
Product development of Thai Northeastern-style spicy sauce (jaew) flavored film

ThaSH: มอลโทเดกซ์ทริน
ThaSH: แซนแทนกัม
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์แผ่นปรุงรสน้ำจิ้มแจ่ว โดยใช้มอลโทเดกซ์ทรินเป็นสารก่อฟิล์มเพื่อให้มีสมบัติในการละลายน้ำดี และใช้แซนแทนกัมเพื่อปรับปรุงสมบัติเชิงกลของฟิล์ม ขั้นตอนแรกคัดเลือกสูตรสารละลายขึ้นรูปฟิล์มสูตรควบคุม (ไม่ใส่ส่วนผสมที่ไม่ละลายน้ำ ได้แก่พริกป่นและข้าวคั่ว) จากสูตรน้ำจิ้มแจ่ว 3 สูตร ที่แปรอัตราส่วนของน้ำมะขามเปียกต่อน้ำมะนาว คือ สูตรน้ำมะขาม (1:0) สูตรผสม (1:1) และสูตรน้ำมะนาว (0:1) และแปรปริมาณแซนแทนกัมในสารละลายมอลโทเดกซ์ทริน 3 ระดับ (ร้อยละ 0, 1 และ 2 โดยน้ำหนัก) สามารถเลือกสารละลายขึ้นรูปฟิล์ม 2 สูตร ได้แก่ สูตรน้ำมะขามและสูตรผสม ที่ใส่แซนแทนกัมปริมาณร้อยละ 1 ฟิล์มที่ได้มีสมบัติเชิงกลที่เหมาะต่อการขึ้นรูปและละลายน้ำได้ดี ขั้นต่อมาพัฒนาการขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์แผ่นปรุงรสน้ำจิ้มแจ่ว โดยเติมส่วนพริกป่นและข้าวคั่วบนแผ่นฟิล์มขณะอบแห้ง และแปรความหนาของแผ่นปรุงรส 2 ระดับ (0.4 และ 0.8 มิลลิเมตร) พบว่าการเติมพริกป่นและข้าวคั่วเสริมให้ฟิล์มมีความต้านทานแรงดึงสูงขึ้น (p<0.05) และสามารถละลายน้ำกลับเป็นน้ำจิ้มแจ่วได้ โดยแผ่นหนา 0.8 มิลลิเมตร ให้สมบัติเชิงกลที่ดีกว่าแผ่นบาง (p<0.05) และสูตรผสมมีค่าการละลายน้ำสูงกว่าสูตรมะขามเล็กน้อย เมื่อทดสอบการยอมรับทางประสาทสัมผัสของแผ่นปรุงรส (แผ่นหนา) และน้ำจิ้มแจ่วที่ละลายจากแผ่นปรุงรส พบว่าคะแนนความชอบด้านลักษณะปรากฏของแผ่น เนื้อสัมผัสและการละลายน้ำของแผ่นปรุงรสทั้ง 2 สูตร (สูตรน้ำมะขามและสูตรผสม) ไม่แตกต่างกัน (p≥0.05) เมื่อละลายเป็นน้ำจิ้มแจ่วแล้ว คะแนนความชอบด้านต่าง ๆ ไม่ต่างกัน โดยมีคะแนนในช่วงชอบมาก (5-6 จาก 7 คะแนน) จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพระหว่างการเก็บรักษาแผ่นปรุงรสแจ่วทั้ง 2 สูตร ที่อุณหภูมิ 35 และ 45 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 60 วัน พบว่า ปริมาณความชื้นและค่า aw มีแนวโน้มสูงขึ้นและมีสีเข้มขึ้น ซึ่งที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส ให้ค่าความต้านทานแรงดึงสูงกว่า ขณะที่ค่าร้อยละการยืดตัว ปริมาณความชื้น aw และค่าการละลายน้ำต่ำกว่า ที่อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส (p<0.05) โดยผลิตภัณฑ์แผ่นปรุงรสน้ำจิ้มแจ่วทั้งสองสูตรมีปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดระหว่างการเก็บรักษา (60 วัน) จากการทดสอบการยอมรับทางประสาทสัมผัส พบว่า แจ่วแผ่นทั้งสองสูตรมีคะแนนความชอบด้านสีไม่แตกต่างกัน แต่ลดลงตามระยะเวลาในการเก็บรักษา เมื่อละลายเป็นน้ำจิ้มแจ่ว พบว่าสูตรน้ำมะขามมีแนวโน้มของคะแนนความชอบทางด้านกลิ่น กลิ่นรสและความชอบโดยรวมน้อยกว่าและมีค่าลดลงเร็วกว่าสูตรผสม แผ่นปรุงรสน้ำจิ้มแจ่วที่พัฒนาขึ้นสามารถผลิตจากน้ำมะขามเปียกหรือผสมน้ำมะนาวที่ใส่แซนแทนกัมปริมาณร้อยละ 1 เมื่อโรยด้วยพริกป่นและข้าวคั่ว สามารถขึ้นรูปได้ดี มีสมบัติเหมาะสมในการนำมาใช้งาน
Abstract: This study aimed to develop Jaew-film from maltodextrin for the fast dissolving property and xanthan gum for the improvement film’s mechanical properties. The first part was the selection of the control film-casting solutions (without chili powders and roasted rice). Nine film formulas from 3 Jaew sauce formulas which varying tamarind juice to lime juice ratio as (tamarind juice (1:0), blend (1:1) and lime juice (0:1)) and 3 levels of xanthan gum concentrations (0, 1 and 2% w/w) in the film-casting solutions were studied. The tamarind and blend formulas with 1% xanthan gum were selected based on the film’s mechanical properties and the high solubility. Next step was the devlepment of Jaew-film product as the drying particles (3 % chili powder and 2 % roasted rice) were applied in film casting process. The thickness of the film was varied at 2 levels (0.4 and 0.8 mm). With particles, the films had higher tensile strength and were able to reconstitute back into sauce easily. The thick films (0.8 mm) showed better mechanical properties than the thin. The film from the blend formula tended to have higher solubility than the that of tamarind formula. From the acceptance test, the 2 formulas of thick Jaew-films were not significant different in liking scores of appearance and texture and also the score for ease of reconstitution (p≥0.05). The reconstituted Jaew sauces were like moderately to high (5-6 from 7 points). Film stability was determined. The tamarind and blend films were stored at 2 temperatures (35 and 45 oC) for 60 days. During storage, films became darker and absorbed more moisture. At the 45 oC condition, films showed significantly higher in tensile strength and lower in elongation, moisture content, aw and solubility (p<0.05). Numbers of total microorganisms did not exceed the standard for both products. The acceptance test showed the decreasing of liking in color during storage but not significant difference between the 2 films. For the reconstituted sauces, liking scores of odor, flavor and overall liking of the tamarind formula tended to be lower and decreased faster than the blend formula. In conclusion, the Jaew-films from tamarind and blend added with 1% xanthan gum and 5% dried particles were developed with acceptable properties.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักงานวิทยทรัพยากร
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: cuir@car.chula.ac.th
Role: ที่ปรึกษา
Role: ที่ปรึกษา
Created: 2561
Modified: 2564-05-10
Issued: 2564-05-10
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
URL: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64982
tha
©copyrights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
RightsAccess:
ลำดับที่.ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูลจำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด
1 5972108223[1].pdf 3.25 MB9 2024-11-16 18:18:51
ใช้เวลา
0.046271 วินาที

นุชนาฏ กิจวรเมธา
Title Contributor Type
การพัฒนาผลิตภัณฑ์แผ่นฟิล์มปรุงรสน้ำจิ้มแบบอีสาน (แจ่ว)
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นุชนาฏ กิจวรเมธา
วรภา คงเป็นสุข
ธีรนันท์ เจนจรัสสกุล
วิทยานิพนธ์/Thesis
วรภา คงเป็นสุข
Title Creator Type and Date Create
ผลของอบเชยต่อคุณภาพของไส้แมคาเดเมียบดแช่เยือกแข็ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สายวรุฬ ชัยวานิชศิริ;นินนาท ชินประหัษฐ์;วรภา คงเป็นสุข
ศิริพร น่าชม
วิทยานิพนธ์/Thesis
นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ผงผักปรุงรสโรยข้าวแคลเซียมสูงจากไข่น้ำ (วอลฟ์เฟีย กลอโบซ่า)
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วรภา คงเป็นสุข;สุเมธ ตันตระเธียร
เกริกชัย ชีระปฏิยุทธ
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนาผงโรยข้าวรสบูดูจากปลานิลจิตรลดารมควันร้อน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชาลีดา บรมพิชัยชาติกุล;พาสวดี ประทีปะเสน;วรภา คงเป็นสุข
อทิตา ชนะสิทธิ์
วิทยานิพนธ์/Thesis
ผลของสติกมาสเตอรอลต่อการแช่แข็งของยีสต์ทนร้อน Kluyveromyces marxianus UBU1-11
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
;สุเมธ ตันตระเธียร;ชื่นจิต ประกิตชัยวัฒนา;วรภา คงเป็นสุข
อภิญญา แซ่โง้ว
วิทยานิพนธ์/Thesis
สมบัติทางเคมีกายภาพของข้าวพื้นถิ่นไทยที่ผ่านการอบแห้งด้วยเทคนิคฟลูอิไดเซชันร่วมกับไอน้ำร้อนยวดยิ่งสำหรับผลิตข้าวกล้องกึ่งสำเร็จรูป
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
;ชาลีดา บรมพิชัยชาติกุล;วรภา คงเป็นสุข
ปัทมา ร่ำรวยธรรม
วิทยานิพนธ์/Thesis
การปรับปรุงคุณภาพเนื้อสัมผัสของผลิตภัณฑ์ปอเปี๊ยะทอดแช่เยือกแข็งที่อุ่นด้วยเตาไมโครเวฟ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
;อุบลรัตน์ สิริภัทราวรรณ;นินนาท ชินประหัษฐ์;วรภา คงเป็นสุข
ลลิตวดี ก๊กพ่อค้า
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนาและการบริหารจัดการนวัตกรรมผลิตภัณฑ์นมอัดเม็ดเสริมไอโอดีนสำหรับโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วรภา คงเป็นสุข;พักตร์ผจง วัฒนสินธุ์
กัญธณา บุณยรัตพันธุ์
วิทยานิพนธ์/Thesis
ทัศนคติต่อความเผ็ดร้อนและผลของการได้รับแคปไซซินซ้ำต่อการรับรู้และความชอบความแสบร้อนจากแคปไซซิน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
;วรภา คงเป็นสุข
วิวรรณ ซื่อมาก
วิทยานิพนธ์/Thesis
ข้าวเกรียบจากแป้งข้าวผสมแครอทสำหรับอบด้วยไมโครเวฟ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
;วรภา คงเป็นสุข;ขนิษฐา ธนานุวงศ์
วรวัลย์ พนมวัลย์
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนาผลิตภัณฑ์แผ่นฟิล์มปรุงรสน้ำจิ้มแบบอีสาน (แจ่ว)
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วรภา คงเป็นสุข;ธีรนันท์ เจนจรัสสกุล
นุชนาฏ กิจวรเมธา
วิทยานิพนธ์/Thesis
การใช้ฟิล์มบริโภคได้เสริมสารต้านจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์ปลากะพง (Lates calcarifer) รมควันเย็น
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชาลีดา บรมพิชัยชาติกุล;วรภา คงเป็นสุข
อินทุอร กำแพงทอง
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนาขนมอบกรอบจากแป้งข้าวเสริมชิ้นผัก
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วรภา คงเป็นสุข;ขนิษฐา ธนานุวงศ์
สรัญ บินมิตตอร์
วิทยานิพนธ์/Thesis
ธีรนันท์ เจนจรัสสกุล
Title Creator Type and Date Create
การพัฒนาผลิตภัณฑ์แผ่นฟิล์มปรุงรสน้ำจิ้มแบบอีสาน (แจ่ว)
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วรภา คงเป็นสุข;ธีรนันท์ เจนจรัสสกุล
นุชนาฏ กิจวรเมธา
วิทยานิพนธ์/Thesis
Copyright 2000 - 2025 ThaiLIS Digital Collection Working Group. All rights reserved.
ThaiLIS is Thailand Library Integrated System
สนับสนุนโดย สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
328 ถ.ศรีอยุธยา แขวง ทุ่งพญาไท เขต ราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร. โทร. 02-232-4000
กำลัง ออน์ไลน์
ภายในเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 8
ภายนอกเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 2,821
รวม 2,829 คน

More info..
นอก ThaiLIS = 69,601 ครั้ง
มหาวิทยาลัยสังกัดทบวงเดิม = 43 ครั้ง
มหาวิทยาลัยราชภัฏ = 16 ครั้ง
สถาบันพระบรมราชชนก = 7 ครั้ง
หน่วยงานอื่น = 2 ครั้ง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล = 1 ครั้ง
มหาวิทยาลัยเอกชน = 1 ครั้ง
รวม 69,671 ครั้ง
Database server :
Version 2.5 Last update 1-06-2018
Power By SUSE PHP MySQL IndexData Mambo Bootstrap
มีปัญหาในการใช้งานติดต่อผ่านระบบ UniNetHelp


Server : 8.199.134
Client : Not ThaiLIS Member
From IP : 216.73.216.48