แจ้งเอกสารไม่ครบถ้วน, ไม่ตรงกับชื่อเรื่อง หรือมีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับเอกสาร ติดต่อที่นี่ ==>
หากไม่มีอีเมลผู้รับให้กรอก thailis-noc@uni.net.th ติดต่อเจ้าหน้าที่เจ้าของเอกสาร กรณีเอกสารไม่ครบหรือไม่ตรง

การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเตรียมความพร้อมสมรรถนะการฝึกอาชีพในสถานประกอบการของนักศึกษาระบบทวิภาคี
The development of training curriculum for preparing occupational's competencies in enterprise of dual vocational training students

ThaSH: การฝึกอาชีพ -- หลักสูตร
ThaSH: สถานประกอบการ -- การฝึกอบรม
ThaSH: Occupational training -- Curricula
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการ 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเตรียมความพร้อมสมรรถนะการฝึกอาชีพในสถานประกอบการของนักศึกษาระบบทวิภาคี แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาสมรรถนะการฝึกอาชีพในสถานประกอบการของ นักศึกษาระบบทวิภาคี ใช้แบบบันทึกในการวิเคราะห์เอกสาร และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา 2) การวิเคราะห์สมรรถนะการฝึกอาชีพในสถานประกอบการของนักศึกษาระบบทวิภาคีตามความคาดหวังของสถานประกอบการใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารด้านงานบุคคล จำนวน 7 สถานประกอบการ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และ 3) การศึกษาสภาพปัจจุบันเกี่ยวกับสมรรถนะการฝึกอาชีพในสถานประกอบการของนักศึกษาระบบทวิภาคีใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 เก็บรวบรวมข้อมูลกับประชากร 78 คน จาก 8 สถานศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเตรียมความพร้อมสมรรถนะการฝึกอาชีพในสถานประกอบการของนักศึกษาระบบทวิภาคี แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การยกร่างหลักสูตรฝึกอบรม 2) การตรวจสอบความเหมาะสมและความสอดคล้องของร่างหลักสูตรฝึกอบรม โดยใช้แบบประเมินความเหมาะสมและแบบประเมินความสอดคล้องของหลักสูตรฝึกอบรมกับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน เพื่อพิจารณาความเหมาะสมและประเมินความสอดคล้อง (IOC) ของโครงร่างหลักสูตร และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความสอดคล้อง 3) การปรับปรุงร่างหลักสูตรฝึกอบรม และ 4) การทดลองใช้และศึกษาประสิทธิผลหลักสูตรฝึกอบรมโดยทำการทดลองกับนักศึกษาจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 4.1) แบบวัดสมรรถนะการฝึกอาชีพในสถานประกอบการประกอบด้วย 3 ชุด ดังนี้ ชุดที่ 1 แบบวัดความรู้ มีค่าความเที่ยงของแบบวัดทั้งฉบับเท่ากับ 0.86 ชุดที่ 2 แบบวัดด้านทักษะ จำนวน 7 ฉบับ มีค่าความเที่ยงอยู่ระหว่าง 0.71 - 0.89 และ ชุดที่ 3 แบบวัดคุณลักษณะมีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.88 และ 4.2) แบบวัดความพึงพอใจของนักศึกษาต่อหลักสูตรฝึกอบรมเตรียมความพร้อม สมรรถนะการฝึกอาชีพในสถานประกอบการของนักศึกษาระบบทวิภาคี มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ t-test dependent, t-test one sample group, ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 3 การศึกษาความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อหลักสูตรฝึกอบรมเตรียมความพร้อมสมรรถนะอาชีพในสถานประกอบการของนักศึกษาระบบทวิภาคี ใช้แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวน 17 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. หลักสูตรฝึกอบรมเตรียมความพร้อมสมรรถนะการฝึกอาชีพในสถานประกอบการของนักศึกษาระบบทวิภาคี มีองค์ประกอบสมรรถนะ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะ ซึ่งสถานประกอบการมีความคาดหวังต่อสมรรถนะการฝึกอาชีพของนักศึกษาระบบทวิภาคีในด้านความรู้และทักษะพื้นฐานในด้านการบำรุงรักษาและซ่อมรถยนต์ ตลอดจนด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ส่วนผลการศึกษาสภาพปัจจุบันเกี่ยวกับสมรรถนะการฝึกอาชีพในสถานประกอบการของนักศึกษาระบบทวิภาคี พบว่ามีความรู้และทักษะอยู่ในระดับปานกลาง และด้านคุณลักษณะอยู่ในระดับมาก 2. หลักสูตรฝึกอบรมเตรียมความพร้อมสมรรถนะการฝึกอาชีพในสถานประกอบการของนักศึกษาระบบทวิภาคี มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความสอดคล้องตามเกณฑ์ทุกข้อ ซึ่งผลการทดลองใช้หลักสูตร พบว่านักศึกษามีความรู้หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนอบรมและมีทักษะสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สำหรับคุณลักษณะของนักศึกษาเมื่อผ่านการฝึกอบรม ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมเตรียมความพร้อมสมรรถนะการฝึกอาชีพในสถานประกอบการของนักศึกษาระบบทวิภาคีอยู่ในระดับมาก 3. ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความคิดเห็นต่อหลักสูตรฝึกอบรมเตรียมความพร้อมสมรรถนะอาชีพในสถานประกอบการของนักศึกษาระบบทวิภาคีในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และในรายด้าน ได้แก่ ด้านความเป็นประโยชน์ความเป็นไปได้ความเหมาะสม และความถูกต้อง อยู่ระดับมากที่สุดทุกด้าน
Abstract: This research had three phases; The first phase was the study of basic information in the development of training curriculum for preparing occupational’s competencies in the enterprise of dual vocational. There are three steps: 1) The record form used to collect the data of the occupational training capacity of the dual vocational training students and analytical by content analysis. 2) The semi- structured interview used to collect the data of the competencies in the enterprise of a dual vocational training students an according to the expectations of the enterprise. The data collection by seven experts’ interviews from the enterprise and analytical by content analysis. 3) The questionnaire used for seventy-eight population in eight colleges study the current situation concerning the competencies in the enterprise of the dual vocational training students with the reliability of 0.97 and analytical by mean and standard deviation. The second phase was developed of a training curriculum for preparing occupational’s competencies in the enterprise of dual vocational training students. There are four steps: 1) training curriculum drafting, 2) checking the appropriate and congruence (IOC) of the curriculum by seven experts, 3) improvement of the training curriculum drafting, and 4) tryout and study of training curriculum effectiveness.Twenty students used to tryout curriculum. Research instruments: first was composite three tests; test of the knowledge competency with the reliability of 0.86, seven practical tests with the reliability between 0.71 - 0.89, and attribute test with the reliability of 0.88. The second was satisfaction questionnaire had a reliability of 0.86 and analysis data by t-test dependent, t-test one sample group, mean and standard deviation. The last phase was study of the opinions of those involved in the occupational training program of dual vocational training students. Seventeen stakeholders used to collect data by questionnaire and analysis of average and standard deviation. The research findings were as follows: 1. The curriculum for preparing occupational’s competencies in the enterprise of dual vocational training students comprised three dimensions: knowledge, skill, and attribute. The knowledge and basic skills for maintenance and repair automobile include desired characteristics were the expect for enterprise to the dual vocational training students. The current study of occupational’s competencies in the enterprise of dual vocational training students was found that knowledge and skills were moderate and the attribute was high. 2. The curriculum for preparing occupational’s competencies in the enterprise of dual vocational training students were appropriate highest level and consistent with all criteria. The results of the curriculum showed that the students’ knowledge and skills after training were higher than before training and the skills were significant at 0.01 level. The students’ attributes and the satisfaction of the curriculum for preparing occupational’s competencies in the enterprise of dual vocational training students after training were at high level. 3. The stakeholders’ opinions on the curriculum for preparing occupational’s competencies in the enterprise of dual vocational training students overall were at highest level and the utility, feasibility, propriety, and accuracy were also at highest level in every aspect.
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. สำนักหอสมุดกลาง
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: Lifelong@kmitl.ac.th
Role: อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
Email : paitoon.pi@kmitl.ac.th
Created: 2562
Modified: 2564-02-04
Issued: 2564-02-04
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
CallNumber: EThesis
tha
©copyrights สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
RightsAccess:
ลำดับที่.ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูลจำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด
1 Fulltext Somchat Boonsri.pdf 10.51 MB64 2025-06-27 09:02:07
ใช้เวลา
0.017468 วินาที

สมชาติ บุญศรี
Title Contributor Type
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเตรียมความพร้อมสมรรถนะการฝึกอาชีพในสถานประกอบการของนักศึกษาระบบทวิภาคี
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
สมชาติ บุญศรี
ไพฑูรย์ พิมดี
วิทยานิพนธ์/Thesis
ไพฑูรย์ พิมดี
Title Creator Type and Date Create
การศึกษาเจตคติต่อวิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเซนต์หลุยส์ฉะเชิงเทรา
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ไพฑูรย์ พิมดี
หทัยชนก ศรีชนะวัฒน์
วิทยานิพนธ์/Thesis
ตัวแปรที่ส่งผลต่อความมีวินัยในการใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่าย วิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมบ้านบางกะปิ กรุงเทพมหานคร
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ไพฑูรย์ พิมดี, อาจารย์ผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์.;Thewawuth Simasathien.
เทววุฒิ สิมะเสถียร
วิทยานิพนธ์/Thesis
ปัญหาในการใช้กระดานอัจฉริยะของครูโรงเรียนเซนต์หลุยส์ ฉะเชิงเทรา
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ไพฑูรย์ พิมดี
ชฎามาศ ศรีชนะวัฒน์
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนาเลิร์นนิ่งออปเจ็กต์เรื่องการเขียนโปรแกรมวาดรูปทรงสองมิติ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ไพฑูรย์ พิมดี
ชฎาพร เชียรศรี
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อทบทวนเรื่อง ภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง (เอสคิวแอล) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ไพฑูรย์ พิมดี
ปรารถนา ภักดีประพันธ์
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการทบทวนเรื่องพื้นฐานการเขียนโปรแกรมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ไพฑูรย์ พิมดี
มณฑกานต์ ศิลา
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการทบทวน เรื่อง ความรู้เบื้องต้นโปรแกรม ไมโครซอฟต์แอคเซส สำาหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
มหาวิทยาลัยนครพนม
ฐิยาพร กันตาธนวัฒน์;ไพฑูรย์ พิมดี
สุภาพรรณ มาลัย
บทความ/Article
การพัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อทบทวน เรื่องการสื่อสารข้อมูล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ไพฑูรย์ พิมดี
เอกชัย ฉิมพลอย
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การใช้โปรแกรมสแครช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ไพฑูรย์ พิมดี
พรทิพย์ ตองติดรัมย์
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การเขียนผังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ไพฑูรย์ พิมดี
พิมพันธุ์ จันทะทัง
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างคุณลักษณะวิชาชีพครูของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ไพฑูรย์ พิมดี
น่านน้ำ บัวคล้าย
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนากิจกรรมตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูของโรงเรียนที่จัดการศึกษาทางไกล
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ไพฑูรย์ พิมดี
ศักย์ชัย เพชรสุวรรณ
วิทยานิพนธ์/Thesis
โมเดลเชิงเส้นตรงระดับลดหลั่นของตัวแปรระดับนักเรียนและห้องเรียน ที่มีอิทธิพลต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ไพฑูรย์ พิมดี
อรนิษฐ์ โชคชัย
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเตรียมความพร้อมสมรรถนะการฝึกอาชีพในสถานประกอบการของนักศึกษาระบบทวิภาคี
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ไพฑูรย์ พิมดี
สมชาติ บุญศรี
วิทยานิพนธ์/Thesis
รูปแบบการส่งเสริมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ระดับปฐมวัยของโรงเรียนเอกชน เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
ณรงค์ พิมสาร;ไพฑูรย์ พิมดี
พิมพ์พรรณ ปัญญารัตนะ
วิทยานิพนธ์/Thesis
รูปแบบการพัฒนาครูโรงเรียนเอกชนจังหวัดชลบุรีในการสื่อสารภาษาอังกฤษ โดยการทำงานเป็นฐานร่วมกับวงจรคุณภาพ
มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต;ไพฑูรย์ พิมดี
ชญาดา กวินกมลโรจน์
วิทยานิพนธ์/Thesis
รูปแบบการบริหารงานประชาสัมพันธ์ของโรงเรียนเอกชนในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดชลบุรี
มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
ณรงค์ พิมสาร;ไพฑูรย์ พิมดี
จิรายุ คุณสืบพงษ์พันธ์
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยอินเทอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่งบนสมาร์ทโฟน สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของไทย
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
สมเกียรติ ตันติวงศ์วาณิช;ไพฑูรย์ พิมดี
กอบชัย สิริพงศ์ดี
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนารูปแบบการฝืกอบรมแบบผสมผสานโดยใช้การเรียนรู้ปัญหาเป็นฐานผ่านแชทบอทเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของบุคลากรในสถานประกอบการ
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ฉันทนา วิริยเวชกุล;ไพฑูรย์ พิมดี
วริษฐา แสงฤทธิ์
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ไพฑูรย์ พิมดี;จิรารัตน์ สิทธิวรชาติ
เฌอริสา นันทา
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้การออกแบบเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนโปรแกรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ฐิยาพร กันตาธนวัฒน์;ไพฑูรย์ พิมดี
ภัทรพล พรหมมัญ
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในสภาพแวดล้อม การเรียนรู้แบบคลาวด์คอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และสื่อดิจิทัลสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ไพฑูรย์ พิมดี;พรรณี ลีกิจวัฒนะ
ภารวี ศรีกาญจน์
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับกิจกรรมการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณที่เสริมสร้างการคิดเชิงคำนวณ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ไพฑูรย์ พิมดี;สมเกียรติ ตันติวงศ์วาณิช
สาวิตรี พิพิธกุล
วิทยานิพนธ์/Thesis
รูปแบบการเรียนแบบรอบรู้จุลภาคปรับเหมาะร่วมกับปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สำหรับนักศึกษาวิทยาลัยชุมชน
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ไพฑูรย์ พิมดี;ฐิยาพร กันตาธนวัฒน์
อัญมณี อุสสาร
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเสมือนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะทางวิชาชีพครูของโรงเรียนสุขภาวะ
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ศิริรัตน์ เพ็ชร์แสงศรี;ไพฑูรย์ พิมดี
ฉัตรแก้ว คณะวาปี
วิทยานิพนธ์/Thesis
องค์ประกอบของการตัดสินใจใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ไพฑูรย์ พิมดี;ฐิยาพร กันตาธนวัฒน์
กนกวรรณ อาภาธีรญาณ
วิทยานิพนธ์/Thesis
การจัดการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคชันนิซึมโดยใช้แอปพลิเคชัน สำหรับการศึกษาเพื่อส่งเสริมผลการเรียนรู้เรื่อง สมดุลสถิต ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ไพฑูรย์ พิมดี;พรรณี ลีกิจวัฒนะ
ณทัดตา สงวนพวก
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิงร่วมกับเทคนิคการวิเคราะห์สถานการณ์ (5W1H) เรื่อง การคิดแก้ปัญหา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนกระทุ่มแบน \"วิเศษสมุทคุณ\"
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
พรรณี ลีกิจวัฒนะ;ไพฑูรย์ พิมดี
พรสัมฤทธิ์ อยู่ตระกูล
วิทยานิพนธ์/Thesis
การวิจัยและพัฒนาคู่มือประเมินสมรรถนะผู้ประเมินภายนอกการศึกษาปฐมวัย
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
พรรณี ลีกิจวัฒนะ;ไพฑูรย์ พิมดี
ขนิษฐา ตั้งวรสิทธิชัย
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนากิจกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสตรีสมุทรปราการ
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
สมเกียรติ ตันติวงศ์วาณิช;ไพฑูรย์ พิมดี
แสงอุทัย มอโท
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการทบทวน เรื่องการ ประกอบคอมพิวเตอร์และการติดตั้งโปรแกรม รายวิชาระบบคอมพิวเตอร์และ ส่วนประกอบ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
สุวรรณ เบ็งทอง;ไพฑูรย์ พิมดี
ดนัย ทับอ่ำ
วิทยานิพนธ์/Thesis
ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนออนไลน์ยุควิถีชีวิตใหม่ ในช่วงการแพร่ระบาดของโรค C0VID-19 ของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
สุวรรณา เบ็งทอง;ไพฑูรย์ พิมดี
พุทธินาถ สงพรหม
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องอัลกอริทึมสำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เกมแบบสืบเสาะหาความรู้
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ไพฑูรย์ พิมดี;สุวรรณา เบ็งทอง
ภานุวัตร ชูบัวขาว
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐานด้วยรูปแบบ ออนไลน์ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์สำหรับนักศึกษา ระดับปริญญาตรี
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
สมเกียรติ ตันติวงศ์วาณิช;ไพฑูรย์ พิมดี
บวรวิช รอดรังษี
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนาระบบนิเวศทางการเรียนรู้ดิจิทัลร่วมกับการจัดการเรียนรู้ แบบส่วนบุคคลเพื่อเสริมสร้างทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัล สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
อัคพงศ์ สุขมาตย์;ไพฑูรย์ พิมดี
ปราริชาติ รื่นพงษ์พันธ์
วิทยานิพนธ์/Thesis
Copyright 2000 - 2025 ThaiLIS Digital Collection Working Group. All rights reserved.
ThaiLIS is Thailand Library Integrated System
สนับสนุนโดย สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
328 ถ.ศรีอยุธยา แขวง ทุ่งพญาไท เขต ราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร. โทร. 02-232-4000
กำลัง ออน์ไลน์
ภายในเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 53
ภายนอกเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 1,938
รวม 1,991 คน

More info..
นอก ThaiLIS = 115,237 ครั้ง
มหาวิทยาลัยสังกัดทบวงเดิม = 668 ครั้ง
มหาวิทยาลัยราชภัฏ = 661 ครั้ง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล = 90 ครั้ง
สถาบันพระบรมราชชนก = 84 ครั้ง
มหาวิทยาลัยสงฆ์ = 53 ครั้ง
มหาวิทยาลัยเอกชน = 15 ครั้ง
หน่วยงานอื่น = 9 ครั้ง
มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ = 1 ครั้ง
รวม 116,818 ครั้ง
Database server :
Version 2.5 Last update 1-06-2018
Power By SUSE PHP MySQL IndexData Mambo Bootstrap
มีปัญหาในการใช้งานติดต่อผ่านระบบ UniNetHelp


Server : 8.199.133
Client : Not ThaiLIS Member
From IP : 216.73.216.48