แจ้งเอกสารไม่ครบถ้วน, ไม่ตรงกับชื่อเรื่อง หรือมีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับเอกสาร ติดต่อที่นี่ ==>
หากไม่มีอีเมลผู้รับให้กรอก thailis-noc@uni.net.th ติดต่อเจ้าหน้าที่เจ้าของเอกสาร กรณีเอกสารไม่ครบหรือไม่ตรง

การเปรียบเทียบผลของการฟื้นตัวหลังการออกกำลังกายด้วยวิธีการต่างๆ ต่อประสิทธิภาพในการทำงานของร่างกายในนักกีฬา
A comparison of the effects among various recovery methods after exercise on athletes' performance

ThaSH: นักกีฬา
ThaSH: การออกกำลังกาย
ThaSH: นักกีฬา -- การฟื้นฟูสมรรถภาพ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของการทำให้ร่างกายฟื้นตัวหลังการออกกำลังกาย ด้วยวิธีการต่างๆ อันได้แก่ การนั่งพัก การนั่งพักแล้วเช็ดตัวด้วยผ้าเย็น การออกกำลังกายแบบเบา และการนวดด้วยน้ำแข็งต่อประสิทธิภาพในการออกกำลังกายในนักกีฬา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักกีฬาฟุตบอลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพศชาย อายุระหว่าง 18-25 ปี จำนวน 15 คน ได้มาจากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive random sampling) โดยที่ผู้เข้าร่วมวิจัยทุกคนต้องออกกำลังกายด้วยการเดินหรือวิ่งบนลู่กลตามแบบของบรู๊ซ (Bruce protocol) จนถึงค่าสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด (VO2 max) แล้วทำให้ร่างกายฟื้นตัวด้วยวิธีการพักทั้ง 4 ชนิด อันได้แก่ การนั่งพัก การนั่งพักแล้วเช็ดตัวด้วยผ้าเย็น การออกกำลังกายแบบเบาด้วยการเดินบนลู่กล และการนวดด้วยน้ำแข็ง เป็นเวลา 15 นาที จากนั้นให้ออกกำลังกายด้วยวิธีการเดิมจนถึงค่าสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด (VO2 max) อีกครั้งหลังจากการพัก การออกกำลังกายแต่ละครั้งเว้นระยะห่างเป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ ก่อนดำเนินการวิจัย ผู้เข้าร่วมวิจัยได้รับการวัดค่าพื้นฐานทางสรีรวิทยาในวันทำการทดลอง ก่อนการทดลองทำการวัดน้ำหนัก ส่วนสูง อุณหภูมิร่างกาย อัตราการเต้นหัวใจขณะพัก และปริมาณกรดแลคติก ในเลือดของผู้เข้าร่วมวิจัย ขณะออกกำลังกายทำการบันทึกอัตราการเต้นหัวใจ ค่าการใช้ออกซิเจน สมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด และความดันโลหิตขณะออกกำลังกาย ทุกๆนาที และระดับของการรับรู้ความเหนื่อยทุกๆ 3 นาที ขณะพักหลังออกกำลังกายทันที และนาทีที่ 2, 5, 10 และ 15 หลังออกกำลังกาย ทำการบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ อุณหภูมิร่างกาย ความดันโลหิต และปริมาณกรดแลคติกในเลือด แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ (Two-way ANOVA with repeated measures) หากพบว่าไม่มีปฎิสัมพันธ์กันให้เปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีของ Bonferroni แต่ถ้าพบว่ามีปฏิสัมพันธ์ให้วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One- way ANOVA with repeated measures) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยวิธีการ Paired – samples t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. ที่ขณะพัก หลังการออกกำลังกายครั้งแรก พบว่า การทำให้ร่างกายฟื้นตัวด้วยวิธีการนวดด้วยน้ำแข็งมีผลในการลดอัตราการเต้นของหัวใจได้มากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจากการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยพบว่าการนั่งพักแล้วเช็ดตัวด้วยผ้าเย็นช่วยลดความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวและปริมาณกรดแลคติกในเลือดได้มากที่สุด นอกจากนี้จากการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ยังพบอีกว่า การออกกำลังกายแบบเบามีผลในการลดความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัวได้มากที่สุด ส่วนการนั่งพักมีผลในการลดอัตราการหายใจได้มากที่สุด 2. จากการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยของตัวแปรต่างๆ พบว่า หลังการทำให้ร่างกายฟื้นตัวด้วยวิธีการนั่งพักแล้วเช็ดตัวด้วยผ้าเย็นมีผลในการลดการเพิ่มขึ้นของอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวขณะออกกำลังกายได้มากที่สุด การนวดด้วยน้ำแข็งมีผลในการลดค่าการใช้ออกซิเจนขณะออกกำลังกายได้มากที่สุด ส่วนการนั่งพักมีผลในการลดความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัวและระดับของการรับรู้ความเหนื่อยขณะออกกำลังกายได้มากที่สุด 3. เมื่อเปรียบเทียบความสามารถในการทำงานของร่างกายขณะออกกำลังกายระหว่างการออกกำลังกายก่อนพักและหลังพักโดยการวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย พบว่า หลังการทำให้ร่างกายฟื้นตัวด้วยวิธีการนวดด้วยน้ำแข็งมีผลในการเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดและสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุดได้มากที่สุด และการนั่งพักมีผลทำให้เวลาในการออกกำลังกายลดลงน้อยที่สุด
Abstract: The purposes of the study were to compare the effects among various recovery methods after exercise on athletes’ performance. The subjects were fifteen male football players of Chulalongkorn University (aged 18 – 25 years old). All subjects participated in a crossover design including four methods of 15 minutes recovery: resting recovery (Passive Recovery: PR), quiet sitting and cold water body wetting (CW), light exercise (Active Recovery: AR) and ice massage (IM) after exercise until reaching the maximal oxygen consumption (VO2max). On the experimental day, resting physiological data (body weight, height, body temperature, resting heart rate and resting blood lactic acid) were measured at rest before exercise. During exercise session, heart rate (HR), maximal heart rate (HRmax), oxygen uptake (VO2), maximal oxygen consumption (VO2max), blood pressure (BP) and rate of perceived exertion (RPE) were assessed. Immediately after exercise and 2, 5, 10,and 15 minute after exercise , heart rate, respiratory rate (RR), blood pressure and blood lactic acid (BL) were measured. All values were expressed as means and standard deviation and two-way ANOVA with repeated measures was used to determine the significant differences between recovery time and recovery methods, respectively. If there were any interaction of the variables, ANOVA with repeated measure would be employed, however if there were no interaction, Bonferroni method would be employed. In addition, paired - samples t-test was also used to test the statistical difference between the physiological variables during exercise before and after the recovery. The statistical significance of this study was accepted at p < .05. The results were as follows: 1. After first exercise, resting heart rate was decreased by IM recovery method at the significance level of .05 and by mean analysis, it was found out that resting systolic blood pressure and blood lactic acid were decreased by CW recovery method more than the other recovery methods. In addition, diastolic blood pressure was decreased mostly by AR recovery method and respiratory rate was decreased mostly by PR recovery method. 2. By mean analysis, it was found out that the increment of resting heart rate and systolic blood pressure during exercise were decreased mostly by CW recovery method while diastolic blood pressure and rate of perceived exertion during exercise were decreased mostly by PR recovery method. 3. By mean analysis, it was found out that the comparison of the work capacity between before and after the recovery showed that maximum heart rate and maximum oxygen consumption after IM recovery method were increased mostly while the least exercise duration was found out after PR recovery method.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักงานวิทยทรัพยากร
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: cuir@car.chula.ac.th
Role: ที่ปรึกษา
Email : Vijit.k@chula.ac.th
Created: 2551
Modified: 2563-08-08
Issued: 2563-08-08
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
URL: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58522
tha
©copyrights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
RightsAccess:
ลำดับที่.ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูลจำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด
1 Supaporn Gomenake.pdf 3.53 MB14 2024-07-24 14:36:15
ใช้เวลา
-0.963293 วินาที

วิชิต คนึงสุขเกษม
Title Creator Type and Date Create
การพัฒนารูปแบบการทดสอบและการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายของกำลังพล ในกองบัญชาการทหารสูงสุด
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิชิต คนึงสุขเกษม;อนันต์ อัดชู;ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์
สมนึก แสงนาค
วิทยานิพนธ์/Thesis
การศึกษาปัจจัยทางชีวกลศาสตร์และสัดส่วนร่างกายที่มีอิทธิพลต่อสถิติในการว่ายน้ำท่าวัดวา ประเภทสปรินท์ ระยะทาง 50 เมตร
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิชิต คนึงสุขเกษม;สุวัตร สิทธิหล่อ
ณัฐิกา เพ็งลี
วิทยานิพนธ์/Thesis
ผลของการฝึกเสริมด้วยการฝึกเชิงซ้อนที่มีต่อความสามารถในการยิงประตูฟุตบอล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิชิต คนึงสุขเกษม;ชนินทร์ชัย อินทิราภรณ์
นาทรพี ผลใหญ่
วิทยานิพนธ์/Thesis
การศึกษาเปรียบเทียบผลของการเต้นแอโรบิกแบบผสมผสานเป็นช่วง และการเต้นแอโรบิกแบบผสมผสานต่อเนื่องที่มีต่อสมรรถภาพทางกาย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิชิต คนึงสุขเกษม
สุภาพ พงษ์สุวรรณ
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนาโปรแกรมเพื่อปรับปรุงความสามารถในการเคลื่อนไหวของเด็กสมองพิการ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิชิต คนึงสุขเกษม;ผดุง อารยะวิญญู
สาธิน ประจันบาน
วิทยานิพนธ์/Thesis
การศึกษาผลของการฝึกเสริมด้วยการรำมวยไทชิที่มีต่อความสามารถทางกลไกทั่วไป สมาธิและความแม่นยำในการยิงปืนของนักกีฬายิงปืนเยาวชนทีมชาติไทย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิชิต คนึงสุขเกษม
กษมา ซื่อสกุลไพศาล
วิทยานิพนธ์/Thesis
ผลของการฝึกแบบหมุนเวียนในน้ำและบนบกที่มีต่อสมรรถภาพทางกาย ของนักกีฬาวิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดชลบุรี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิชิต คนึงสุขเกษม
วนิดา ศรีสุข
วิทยานิพนธ์/Thesis
ผลของการนวดแบบลึกที่มีต่อการเคลื่อนย้ายกรดแลคติคและการฟื้นตัว
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิชิต คนึงสุขเกษม;ชูศักดิ์ เวชแพศย์;เจริญทัศน์ จินตนเสรี
อนุรัต มีเพชร
วิทยานิพนธ์/Thesis
ผลของการฝึกแบบใช้แรงต้านต่อองค์ประกอบของร่างกายในเพศหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกิน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิชิต คนึงสุขเกษม
ธิติ ญานปรีชาเศรษฐ
วิทยานิพนธ์/Thesis
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทางสรีรวิทยาที่คัดสรรกับความสามารถในการแสดงทักษะในการแข่งขันของนักกีฬาตะกร้อหญิงทีมชาติไทย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิชิต คนึงสุขเกษม
สุรสา โค้งประเสริฐ
วิทยานิพนธ์/Thesis
ผลของการฝึกการออกกำลังกายกระโดดขึนลงบนกล่องแบบหมุนเวียนที่มีผลต่อ การสลายมวลกระดูก สุขสมรรถนะ และการทรงตัวในสตรีวัยก่อนหมดประจำเดือน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิชิต คนึงสุขเกษม;ณรงค์ บุณยะรัตเวช
อัจฉริยะ เอนก
วิทยานิพนธ์/Thesis
อัตราชีพจรและปริมาณแลคเตทในเลือดในช่วงการฟื้นตัวโดยวิธีพักเฉย ๆ กับพักแบบไม่หยุดนิ่ง
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
วิชิต คนึงสุขเกษม;อุดม พิมพา
ศิริพร ทองศิริ
วิทยานิพนธ์/Thesis
ผลการออกกำลังกายในระดับความถี่ต่างกันที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของร่างกาย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
วิชิต คนึงสุขเกษม;สำรวล รัตนาจารย์.
พานิช ไชยศรี
วิทยานิพนธ์/Thesis
การฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อท้อง
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
อุดม พิมพา;วิชิต คนึงสุขเกษม
อรพินธุ์ มหาเดชน์
วิทยานิพนธ์/Thesis
แลคเตทในเลือดหลังการว่ายน้ำ 100 เมตรและหลังการวิ่ง 400 เมตร
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
สุทธิ พานิชเจริญนาม;วิชิต คนึงสุขเกษม
ฉวีวรรณ วีระเดโช
วิทยานิพนธ์/Thesis
พลังแบบแอนแอโรบิคสมรรถวิสัยแบบแอนแอโรบิคและดรรชนีความเหนื่อยของนักวิ่ง 400 เมตร และนักว่ายน้ำ 100 เมตร
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
วิชิต คนึงสุขเกษม;เอนก สูตรมงคล
สุรีย์ กาญจนกุลวงศ์
วิทยานิพนธ์/Thesis
กรดแลคติกในเลือดในการว่ายน้ำแบบต่าง ๆ
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
วิชิต คนึงสุขเกษม;เทเวศร์ พิริยะพฤนท์
สุรชา อมรพันธุ์
วิทยานิพนธ์/Thesis
ผลของการฝึกด้วยโปรแกรมการวิ่ง 800 เมตร แบบสลับช่วงพักแบบต่อเนื่องและแบบสลับช่วงพักควบคู่กับแบบต่อเนื่องที่มีต่อความสามารถในการวิ่ง 800 เมตร และองค์ประกอบของสมรรถภาพทางกาย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
วิชิต คนึงสุขเกษม;แผน เจียระนัย
สุรวุฒิ ยัญญลักษณ์
วิทยานิพนธ์/Thesis
การเปรียบเทียบผลของการฝึกความมั่นคงของส่วนแกนของร่างกายบนอุปกรณ์ที่มีความมั่นคงและไม่มั่นคง ที่มีผลต่อประสิทธิภาพของนักกอล์ฟระดับสมัครเล่น
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิชิต คนึงสุขเกษม
ธนวัฒน์ วนสัณฑ์
วิทยานิพนธ์/Thesis
ผลของการออกกำลังกายท่าฤาษีดัดตนที่มีต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและความอ่อนตัวในผู้หญิงวัยทำงาน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิชิต คนึงสุขเกษม;ประวิตร เจนวรรธนะกุล
นิภาพร เหล่าชา
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนาตัวบ่งชี้ความสามารถพิเศษทางกีฬาวอลเลย์บอลของนักกีฬาระดับเยาวชนชายอายุไม่เกิน 18 ปี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
;ชนินทร์ชัย อินทิราภรณ์;วิชิต คนึงสุขเกษม
นัยนา บุพพวงษ์
วิทยานิพนธ์/Thesis
ผลของการออกกำลังกายด้วยการแกว่งแขนและการเดินที่มีต่อสุขสมรรถนะของผู้สูงอายุหญิง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
;วิชิต คนึงสุขเกษม
เกศินี แซ่เลา
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนารูปแบบโปรแกรมการบริหารสมองเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกลไกและความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนประถมศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
;วิชิต คนึงสุขเกษม;ชัชชัย โกมารทัต
นริศรา หาหอม
วิทยานิพนธ์/Thesis
ผลของโปรแกรมการรับรู้ความสามารถแห่งตนร่วมกับโปรแกรมการออกกำลังกายที่มีต่อสุขสมรรถนะในวัยรุ่นที่มีภาวะน้ำหนักเกิน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิชิต คนึงสุขเกษม
ทวิช พรหมพิทักษ์กุล
วิทยานิพนธ์/Thesis
การเปรียบเทียบการฝึกแบบสลับช่วงด้วยการวิ่งและการปั่นจักรยานที่มีต่อความสามารถที่แสดงออกทางแอนโรบิกและแอโรบิกของนักกีฬารักบี้ฟุตบอล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
;วิชิต คนึงสุขเกษม
ฐาปนวัฒน์ สุขปาละ
วิทยานิพนธ์/Thesis
ผลของการฝึกโดยใช้เครื่องฝึกด้วยน้ำหนักแบบปรับแรงต้าน ที่มีต่อการพัฒนาพลังระเบิดของกล้ามเนื้อขา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิชิต คนึงสุขเกษม
นิธิพงศ์ กิมาวหา
วิทยานิพนธ์/Thesis
ผลของการเดินที่มีต่อระบบไหลเวียนโลหิตและสารชีวเคมีในโลหิต ของหญิงสูงอายุ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิชิต คนึงสุขเกษม
วารุณี วรศักดิ์เสนีย์
วิทยานิพนธ์/Thesis
ผลของการฝึกความอ่อนตัว และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่มีต่อความแม่นยำในการเตะลูกฟุตบอล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิชิต คนึงสุขเกษม
อุดม จอกรบ
วิทยานิพนธ์/Thesis
ผลของการฝึกความอ่อนตัวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่มีต่อความสามารถในการทุ่มลูกฟุตบอล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิชิต คนึงสุขเกษม
นิพนธ์ จันทรมณี
วิทยานิพนธ์/Thesis
ผลของการฝึกเสริมด้วยพลัยโอเมตริกต่อความสามารถในการกระโดดยิงประตูบาสเกตบอลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ชั้นปีที่ 4-6
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิชิต คนึงสุขเกษม
ธนศักดิ์ แพทยานนท์
วิทยานิพนธ์/Thesis
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเปอร์เซ็นต์ไขมันของร่างกาย กับองค์ประกอบทางชีวเคมีของไขมันในเลือด ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิชิต คนึงสุขเกษม;ทวีสุข กรรณล้วน
ประยุกต์ ประจันบาน
วิทยานิพนธ์/Thesis
การวิเคราะห์ทางชีวกลศาสตร์ของทักษะการฟาดแบบตีลังกาของนักกีฬาเซปักตะกร้อไทย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิชิต คนึงสุขเกษม;สุวัตร สิทธิหล่อ
แวน วัณณะพันธุ์
วิทยานิพนธ์/Thesis
สภาพและปัญหาในการเตรียมทีมนักมวยสากลสมัครเล่นของไทยในกีฬาโอลิมปิก ครั้งที่ 25
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิชิต คนึงสุขเกษม
จัตุรงค์ แสงอุทัย
วิทยานิพนธ์/Thesis
ผลของการฝึกสมาธิตามแนวอานาปานสติที่มีต่อความแม่นยำ ในการยิงประตูบาสเกตบอล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิชิต คนึงสุขเกษม
ฝนทอง ศิริพงษ์
วิทยานิพนธ์/Thesis
ปัญหาการจัดและดำเนินการโปรแกรมพลศึกษา ในโรงเรียนมูลนิธิคณะเซ็นต์คาเบรียล แห่งประเทศไทย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิชิต คนึงสุขเกษม
การุณ นาคสวัสดิ์
วิทยานิพนธ์/Thesis
ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพกับพฤติกรรมผู้นำ ของผู้บริหารวิทยาลัยพลศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิชิต คนึงสุขเกษม
ประดิษฐ์ ชัยปรีชา
วิทยานิพนธ์/Thesis
ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการจัดการแข่งขันฟุตบอลลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฑา ติงศภัทิย์;วิชิต คนึงสุขเกษม
ปิยะณัฐ รัตนเพียร
วิทยานิพนธ์/Thesis
การศึกษาสภาพและปัญหาในการจัดดำเนินการของทีมฟุตบอลทีมชาติไทย ตามการรับรู้ของผู้เกี่ยวข้อง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิชิต คนึงสุขเกษม
ชาญวิทย์ ผลชีวิน
วิทยานิพนธ์/Thesis
การเปรียบเทียบผลของการกระโดดเชือก และการวิ่งเหยาะที่มีต่อความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิต และสัดส่วนของร่างกาย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิชิต คนึงสุขเกษม
ทองสุข ชูรีรัง
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนาอาหารขบเคี้ยวชนิดแท่งจากแก่นตะวันสำหรับหญิงวัยทำงาน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิชิต คนึงสุขเกษม;สุเทพ กลชาญวิทย์;สิรี ชัยเสรี
ณัติพร อรธนาลัย
วิทยานิพนธ์/Thesis
ผลของการฝึกออกกำลังกายสเตปแอโรบิกผสมผสานกับการใช้แรงต้านที่มีผลต่อสารชีวเคมีของกระดูก สุขสมรรถนะ และการทรงตัวในสตรีวัยทำงาน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิชิต คนึงสุขเกษม;ณรงค์ บุญยะรัตเวช
อัจฉริยะ เอนก
วิทยานิพนธ์/Thesis
ผลของการเต้นรำบำบัดที่มีต่อคุณภาพชีวิตและสุขสมรรถนะของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังการผ่าตัด
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สุรสา โค้งประเสริฐ;วิชิต คนึงสุขเกษม
ธรรมรัตน์ กกสูงเนิน
วิทยานิพนธ์/Thesis
ผลของการฝึกด้วยการละเล่นพื้นเมืองไทยที่มีต่อความสามารถในการเคลื่อนไหวและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยพาร์กินสัน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิชิต คนึงสุขเกษม;สุรสา โค้งประเสริฐ
กีรติ สุกใส
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนาหลักสูตรผู้นำออกกำลังกายเพื่อสุขภาพชุมชนสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
;วิชิต คนึงสุขเกษม;ชนินทร์ชัย อินทิราภรณ์
ยรรยงค์ สมทรง
วิทยานิพนธ์/Thesis
การเปรียบเทียบผลของการฟื้นตัวหลังการออกกำลังกายด้วยวิธีการต่างๆ ต่อประสิทธิภาพในการทำงานของร่างกายในนักกีฬา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิชิต คนึงสุขเกษม
สุภาพร โกเมนเอก
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนาตัวบ่งชี้ของคุณลักษณะของนักกีฬาฟุตบอลที่มีความสามารถพิเศษ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิชิต คนึงสุขเกษม;สมบูรณ์ อินทร์ถมยา
ประสบโชค โชคเหมาะ
วิทยานิพนธ์/Thesis
การนำเสนอรูปแบบการพัฒนาฟุตบอลอาชีพของประเทศไทย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิชิต คนึงสุขเกษม;จุฑา ติงศภัทิย์
นนชัย ศานติบุตร
วิทยานิพนธ์/Thesis
การเปรียบเทียบความสามารถในการทำงานของร่างกายตามกรรมวิธีพีดับบลิวซี 170 ในช่วงเวลาต่างกัน ภายหลังรับประทานอาหารต่างชนิดกัน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิชิต คนึงสุขเกษม
สุพจน์ ศิลารัตนชัย
วิทยานิพนธ์/Thesis
การเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายของนักเรียนประถมศึกษาระหว่างโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรีกับนักเรียนประถมศึกษาทั่วประเทศ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิชิต คนึงสุขเกษม
ฤทธินาท สุวรรณบูรณ์
วิทยานิพนธ์/Thesis
Copyright 2000 - 2025 ThaiLIS Digital Collection Working Group. All rights reserved.
ThaiLIS is Thailand Library Integrated System
สนับสนุนโดย สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
328 ถ.ศรีอยุธยา แขวง ทุ่งพญาไท เขต ราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร. โทร. 02-232-4000
กำลัง ออน์ไลน์
ภายในเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 4
ภายนอกเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 2,198
รวม 2,202 คน

More info..
นอก ThaiLIS = 213,824 ครั้ง
มหาวิทยาลัยราชภัฏ = 683 ครั้ง
มหาวิทยาลัยสังกัดทบวงเดิม = 553 ครั้ง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล = 49 ครั้ง
มหาวิทยาลัยเอกชน = 43 ครั้ง
สถาบันพระบรมราชชนก = 24 ครั้ง
หน่วยงานอื่น = 5 ครั้ง
มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ = 4 ครั้ง
มหาวิทยาลัยสงฆ์ = 1 ครั้ง
รวม 215,186 ครั้ง
Database server :
Version 2.5 Last update 1-06-2018
Power By SUSE PHP MySQL IndexData Mambo Bootstrap
มีปัญหาในการใช้งานติดต่อผ่านระบบ UniNetHelp


Server : 8.199.134
Client : Not ThaiLIS Member
From IP : 216.73.216.48