แจ้งเอกสารไม่ครบถ้วน, ไม่ตรงกับชื่อเรื่อง หรือมีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับเอกสาร ติดต่อที่นี่ ==>
หากไม่มีอีเมลผู้รับให้กรอก thailis-noc@uni.net.th ติดต่อเจ้าหน้าที่เจ้าของเอกสาร กรณีเอกสารไม่ครบหรือไม่ตรง

ศึกษาความเชื่อทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฎในการประกอบพิธีกรรม แซนโฎนตา อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
A Study of Buddhist Beliefs as Appeared in

keyword: ความเชื่อทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฎในการประกอบพิธีกรรม
; ความเชื่อ
; พระพุทธศาสนา
; การประกอบพิธีกรรม
; แซนโฎนตา
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาความเชื่อที่ปรากฎในการประกอบพิธีกรรม “แซนโฎนตา” อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ๒) เพื่อนำเสนอรูปแบบความเชื่อของชุมชนที่มีต่อการประกอบพิธีกรรม “แซนโฎนตา” อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ และ ๓) เพื่อศึกษาคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในการประกอบพิธีกรรม “แซนโฎนตา” วิธีการศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยคุณภาพรวบรวมข้อมูลโดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสาร ตำรา หนังสือที่รวบรวมคำสอนทางพระพุทธศาสนา งานเขียนต่างๆ และข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก มาวิเคราะห์เพื่อให้ได้เนื้อหาสอดคล้องตามลำดับของการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า ความเชื่อที่ปรากฎในการประกอบพิธีกรรม “แซนโฎนตา” อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ถือได้ว่าเป็นพิธีกรรมหลักที่นำมาจากศาสนาพราหมณ์ โดยเป็นหลักปฏิบัติที่มีความสำคัญต่อการเป็นอยู่ของชุมชน ซึ่งการประกอบพิธีกรรม “แซนโฎนตา” มีความสัมพันธ์ต่อการประกอบพิธีกรรมเป็นอย่างมาก เช่น พิธีกรรมเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ การทำบุญเพื่ออุทิศให้แก่ผู้ตาย มีการจัดขบวนแห่เครื่องเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษอย่างใหญ่โตไปตามถนนสายสำคัญภายในตัวเมือง มีหน่วยงานราชการและวัดเข้าร่วมในขบวนแห่ด้วย ปัจจัยด้านสังคมที่มีความสัมพันธ์ต่อการประกอบพิธีกรรม “แซนโฎนตา” มีอยู่ ๒ ช่วง กล่าวคือ (๑) ประเพณีเบณฑ์ตูจ คือ ประเพณี “แซนโฎนตา”เล็ก จะประกอบพิธีกรรมในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ และ (๒) ประเพณีเบณฑ์ทม คือ ประเพณี “แซนโฎนตา” ใหญ่ จะประกอบพิธีกรรมในวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ รูปแบบของความเชื่อของชุมชนที่มีต่อการประกอบพิธีกรรม “แซนโฎนตา” อำเภอ ขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นความเชื่อที่ฝังอยู่ในจิตสำนึกของชาวไทยเชื้อสายเขมร และมีอิทธิพลกับวิถีชีวิต เพราะมีคุณค่าด้านจริยธรรมที่ฝังลึกอยู่ในจิตใจ เป็นงานประเพณีที่สร้างความสามัคคีกลมเกลียวกันในสังคม เป็นการปลูกฝังการรู้จักการให้ และความเมตตาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น และควรมีการส่งเสริมให้สถานศึกษาต่าง ๆ จัดกิจกรรมร่วมในประเพณีดังกล่าวนี้ด้วย เพราะเชื่อว่าการแบ่งส่วนบุญนั้น ทำได้หลายประการ เช่น แบ่งส่วนบุญนั้นให้แก่ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ อุทิศส่วนบุญนั้นให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นต้น คติความเชื่อทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในการประกอบพิธีกรรม “แซนโฎนตา” จากการศึกษาพบว่า คติความเชื่อทางพระพุทธศาสนาชาวบ้านจะมีความเชื่อหลักๆ ดังนี้คือ (๑) คติความเชื่อเรื่องบุญ เช่น การให้ทาน การรักษาศีล การภาวนา (๒) คติความเชื่อเรื่องการบูชา เช่น การบูชาด้วยวัตถุสิ่งของ และการปฏิบัติ แต่การบูชาตามคติความเชื่อแบบโบราณก็ยังปรากฏอยู่เพราะมีการฆ่าสัตว์ คือ ไก่ ปลา และหมู เป็นเครื่องเซ่นไหว้บูชาด้วย (๓) คติความเชื่อเรื่องความกตัญญู คือ การดูแลบิดามารดา ครูอาจารย์ ยอมรับคำสั่งสอน และตอบแทนผู้มีพระคุณด้วยปัจจัยสี่ (๔) คติความเชื่อเรื่องการสงเคราะห์ช่วยเหลือ คือ มีการแบ่งปันกันของคนในครอบครัวและชุมชน การประกอบพิธีกรรม “แซนโฎนตา” เกิดจากความเชื่อของคนในยุคโบราณซึ่งเชื่อเรื่องอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และอำนาจของสิ่งลึกลับ
Abstract: The research’s objectives were as follows: 1) to study the beliefs appearing in the "Sandonta" ritual in Khukhan district, Sisaket province, 2) to present the belief model of the community towards the “Sandonta” ritual in Khukhan district, Sisaket province, and 3) to study the Buddhist beliefs appearing in the " Sandonta" ritual. This is a qualitative research that was created through the descriptive analysis of the Tipitaka, further documents thereof and books relating to Buddhist teachings therein with the in-depth interview. From the results of the research, it was found that the "Sandonta" ritual in Khukhan district, Sisaket province was the significant ritual adopting from Hinduism. It’s considered a very important practice of the livin in the community as it’s related to many other ritualistic activities such as the ritual of paying respect to the ancestral spirits and making merits for them by organizing a large procession of paying respect along important roads in the city and having the participation of the government officers and temples. There were two social factors relating to the "Sandonta" ritual, namely: 1) the “Ben Tud” ritual or small "Sandonta" ritual taking place on the full moon of the tenth lunar month, and 2) the “Ben Thom” ritual or large “Sandonta” ritual taking place on the full moon of the tenth lunar month. The belief model of the community towards the "Sandonta" ritual in Khukhan district, Sisaket province was the belief of the ethnic group of Thai-Khmer people. It played an influential role towards the way of lives of the Thai-Khmer people as it embedded the ethical values in people’s mind. It’s the tradition that brought about harmony in the society and cultivated the behavior of giving and being generous to other people. All educational institutions should organize this ritualistic activity. Merit making could be conducted in many ways such as making to those who were still alive and those who already passed away. From the study, it was also found that the Buddhist beliefs appearing in the "Sandonta" ritual on folk people were 1) the belief in merit making such as giving (Dāna), keeping the precepts and practicing meditation, 2) the belief in worship such as worshiping materials, however, there still existed an ancient way of worship as animals (chicken, fish and pork) were used instead of materials, 3) the belief in gratitude such as being grateful towards parents and teachers, obeying to their teachings and repaying them for their kindness, and 4) the belief in helping others such as sharing useful things to members in the family and community. The “Sandonta” ritual was originated from ancient people who believed in sanctity and superstition.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. สำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: พระนครศรีอยุธยา
Email: library@mcu.ac.th
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Created: 2562
Modified: 2019-09-30
Issued: 2562-09-30
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
tha
©copyrights มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
RightsAccess:
ลำดับที่.ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูลจำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด
1 MCU620202110.pdf 13.77 MB33 2024-03-02 00:19:31
ใช้เวลา
0.018965 วินาที

พระครูโกศลสุตคุณ (สุพิศ นามคำ)
สุทัศน์ ประทุมแก้ว
Title Creator Type and Date Create
ศึกษาความเชื่อทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฎในการประกอบพิธีกรรม แซนโฎนตา อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
สุทัศน์ ประทุมแก้ว;พระพรสวรรค์ ฐิติญาโณ
พระครูโกศลสุตคุณ (สุพิศ นามคำ)
วิทยานิพนธ์/Thesis
บทบาทพระสงฆ์ที่มีต่อการพัฒนาชุมชนโดยกองทุนคณะสงฆ์ ตำบลดองกำเม็ด อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระพรสวรรค์ ฐิติญาโณ;สุทัศน์ ประทุมแก้ว
พระชู สิริวณฺโณ (หงษ์โสภา)
วิทยานิพนธ์/Thesis
พระพรสวรรค์ ฐิติญาโณ
Title Creator Type and Date Create
ศึกษาความเชื่อทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฎในการประกอบพิธีกรรม แซนโฎนตา อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
สุทัศน์ ประทุมแก้ว;พระพรสวรรค์ ฐิติญาโณ
พระครูโกศลสุตคุณ (สุพิศ นามคำ)
วิทยานิพนธ์/Thesis
ศึกษาคติการสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ในสังคมไทย : กรณีศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระกัญจน์ กนฺตธมฺโม;พระพรสวรรค์ ฐิติญาโณ
พระครูสารภัทรกิจ (พานิช ดวงมณี)
วิทยานิพนธ์/Thesis
การถ่ายทอดภูมิปัญญาทางพระพุทธศาสนาผ่านจิตรกรรมฝาผนังวัดหนองอิไทย อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระครูสุธีวรปรีชา;พระพรสวรรค์ ฐิติญาโณ
พระอธิการจำนงค์ จรณธมฺโม (สำเนาว์)
วิทยานิพนธ์/Thesis
บทบาทพระสงฆ์ที่มีต่อการพัฒนาชุมชนโดยกองทุนคณะสงฆ์ ตำบลดองกำเม็ด อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระพรสวรรค์ ฐิติญาโณ;สุทัศน์ ประทุมแก้ว
พระชู สิริวณฺโณ (หงษ์โสภา)
วิทยานิพนธ์/Thesis
Copyright 2000 - 2025 ThaiLIS Digital Collection Working Group. All rights reserved.
ThaiLIS is Thailand Library Integrated System
สนับสนุนโดย สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
328 ถ.ศรีอยุธยา แขวง ทุ่งพญาไท เขต ราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร. โทร. 02-232-4000
กำลัง ออน์ไลน์
ภายในเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 17
ภายนอกเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 2,677
รวม 2,694 คน

More info..
นอก ThaiLIS = 70,936 ครั้ง
มหาวิทยาลัยสังกัดทบวงเดิม = 50 ครั้ง
มหาวิทยาลัยราชภัฏ = 21 ครั้ง
สถาบันพระบรมราชชนก = 8 ครั้ง
หน่วยงานอื่น = 2 ครั้ง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล = 1 ครั้ง
มหาวิทยาลัยเอกชน = 1 ครั้ง
รวม 71,019 ครั้ง
Database server :
Version 2.5 Last update 1-06-2018
Power By SUSE PHP MySQL IndexData Mambo Bootstrap
มีปัญหาในการใช้งานติดต่อผ่านระบบ UniNetHelp


Server : 8.199.133
Client : Not ThaiLIS Member
From IP : 216.73.216.48