แจ้งเอกสารไม่ครบถ้วน, ไม่ตรงกับชื่อเรื่อง หรือมีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับเอกสาร ติดต่อที่นี่ ==>
หากไม่มีอีเมลผู้รับให้กรอก thailis-noc@uni.net.th ติดต่อเจ้าหน้าที่เจ้าของเอกสาร กรณีเอกสารไม่ครบหรือไม่ตรง

แนวทางการบริหารเชิงบูรณาการระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน เพื่อการลดอุบัติเหตุทางถนน
Integrated Management Approach Among The Government Sector, Private Sector, And Public Sector To Reduce Road Accidents

Organization : มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
keyword: ภาครัฐ การลดอุบัติเหตุทางถนน วิจัย
ThaSH: บริษัทเอกชน -- อุบัติเหตุ -- การป้องกัน -- วิจัย
; ภาคเอกชน การลดอุบัติเหตุทางถนน วิจัย
ThaSH: รัฐบาล -- ไทย -- อุบัติเหตุ -- การป้องกัน -- วิจัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารเชิงบูรณาการระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชนเพื่อการลดอุบัติเหตุทางถนน การวิจัยเชิงปริมาณใช้ข้อมูลทุติยภูมิแบบบันทึกการเกิดอุบัติเหตุทางถนนของกรมป้องกัน และบรรเทาสาธารณะภัย ปี 2559 (Secondary data) และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจง ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญงานทางด้านการจราจรทางบกในหน่วยงาน ภาครัฐ จำนวน 5 คน และภาคเอกชน จำนวน 5 คน ภาคประชาชน จำนวน 5 คน ปัจจัยที่คาดว่าส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนนโดยการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) และค่าสถิติพื้นฐาน ผลการวิจัย พบว่า การเกิดอุบัติเหตุทางถนนส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บ รองลงมาเสียชีวิต โดยจำแนกตามลักษณะการเกิดอุบัติเหตุทางถนนส่วนใหญ่จะเกิดในทางตรงเวลากลางวัน โดยผู้ประสบอุบัติเหตุมีช่วงอายุ 50 ปี ขึ้นไป สาเหตุจากการขับเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด เกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่ที่ถนนในสังกัดกรมทางหลวง และเกิดการเสียชีวิตมากที่สุดคือลักษณะของทางอื่นๆ ได้แก่ ทางที่กำลังซ่อมแซมหรือทางที่กำลังก่อสร้าง ทางเป็นหลุมเป็นบ่อ ทางเป็นเนิน จุดตัดทางรถไฟ รองลงมาคือทางโค้ง เกิดในช่วงเวลากลางวัน ส่วนใหญ่ผู้เสียชีวิตมีช่วงอายุ 1-14 ปี รองลงมาคือช่วงอายุ 15-19 ปี สาเหตุจากการใช้โทรศัพท์ขณะขับขี่ รองลงมาคือเมาสุราขณะขับขี่ เสียชีวิตมากที่สุดคือ ถนนในเมืองหรือถนนเขตเทศบาล ซึ่งปัจจัยที่คาดว่าส่งผลต่อจำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ต่อจำนวนผู้เสียชีวิต และต่อจำนวนผู้บาดเจ็บจากการเกิดอุบัติเหตุทางถนน พบว่า จากตัวแบบที่ 1 มีสิ่งกีดขวาง (X14) ส่งผลเชิงลบต่อการเกิดอุบัติเหตุ ในขณะที่ขับเร็วเกินกฎหมายกำหนด (X4) ตัดหน้ากระชั้นชิด (X10) บรรทุกเดินอัตรา (X13) และสาเหตุอื่นๆ (X16) ส่งผลเชิงบวกต่อจำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุทางถนน จากตัวแบบที่ 2 เมาสุราขณะขับขี่ (X2) และอ่อนล้า เพลียเกิดการหลับใน (X12) ส่งผลเชิงบวกต่อจำนวนการเสียชีวิต จากตัวแบบที่ 3 ขับเร็วเกินกฎหมายกำหนด (X4) ตัดหน้ากระชั้นชิด (X10) อ่อนล้า เพลียเกิดการหลับใน (X12) และสาเหตุอื่นๆ (X16) ส่งผลเชิงบวกต่อจำนวนผู้บาดเจ็บ ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชนในการลดอุบัติเหตุทางถนนโดยภาพรวมในอดีตที่สำคัญ โดยภาพรวมมีการวางแผนบูรณาการร่วมกันเพื่อปรับตัวสู่ประชาคมอาเซียน เน้นการประชาสัมพันธ์เรื่องความปลอดภัยทางถนน ร่วมกันในการปรับโครงสร้างการจัดการแบบมีส่วนร่วม โดยเน้นภาคเอกชน ภาคแรงงานให้มีการเสียชีวิตจากการเกิดอุบัติเหตุทางถนนขณะทำงาน ลดลง ศึกษาแนวทางหาแหล่งทุนจากภายนอกเพื่อมาใช้สนับสนุนงานด้านความปลอดภัยทางถนน ร่วมกันในการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์เพื่อการป้องกัน และลดอุบัติเหตุทางถนน และร่วมมือกันในการจัดกิจกรรมต่างๆ การฝึกอบรมตามสถานศึกษาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านความปลอดภัยทางถนน ให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ เอื้อต่อการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารกับประชาชน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมีการสนับสนุนงบประมาณ เครื่องมือ อุปกรณ์ บุคลากรที่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยทางถนน มีการบูรณาการลดสถานการณ์อันตรายสำหรับเด็กที่ใช้รถใช้ถนนบริเวณโรงเรียนมีความปลอดภัยโดยการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์การสวมหมวกกันน็อกให้เด็กขณะเดินทาง ส่งเสริมผู้เดินทางโดยไม่ใช้เครื่องยนต์เดินทางที่ปลอดภัยสำหรับคนเดินเท้า และรถจักรยาน บูรณาการระบบการออกใบขับขี่ที่ได้มาตรฐานให้ผู้ขับขี่และการสอบใบขับขี่ที่มีคุณภาพ ติดตั้งเครื่องตรวจจับความเร็วพื้นที่เสี่ยง และตั้งจุดวัดระดับแอลกอฮอล์ บูรณาการงานวิจัยนำเทคโนโลยีทันสมัยมาประยุกต์ใช้ซึ่งอยู่ในขั้นดำเนินการ ทำการพัฒนา ปรับปรุงกฎหมายจราจรหลายฉบับแต่ยังไม่สามารถใช้อย่างเป็นรูปธรรม มีการบูรณาการจัดทำศูนย์ข้อมูลกลางเกี่ยวกับอุบัติเหตุทางถนนทางเว็บไซด์และเป็นช่องทางการติดต่อประสานงานระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน รวมทั้งโรงพยาบาลและอาสาสมัคร มูลนิธิต่างๆเพื่อการช่วยเหลือผู้เกิดอุบัติเหตุทางถนน บูรณาการการสอนทักษะการขับขี่ที่ถูกต้อง เหมาะสม และการตรวจสอบสภาพยานพาหนะเบื้องต้นให้พร้อมใช้งานกับผู้มาสอบใบขับขี่กับกรมขนส่งทางบก บูรณาการระบบขนส่งในองค์กรภาคเอกชน บูรณาการทีมงานวิจัยเพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงานและนำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงแผนการดำเนินงานต่อไป ความคิดเห็นด้านความรับผิดชอบเป็นของทุกคนที่ต้องช่วยกันเพราะเป็นหน้าที่ของทุกคนและให้ความคิดเห็นในการบูรณาการเพื่อปรับเปลี่ยนแนวคิดพฤติกรรมของผู้ขับขี่ ควรให้ความรู้ เช่นการฝึกอบรมกับคนวัยทำงาน ควรกระทำไปพร้อมๆ กับการใช้กฎหมายบังคับอย่างจริงจัง ด้านการพัฒนาควรเน้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นการพัฒนาจากระดับชุมชนสู่ระดับ ประเทศ แนวทางการบริหารเชิงบูรณาการเพื่อการลดอุบัติเหตุทางถนนโดยผู้วิจัยได้กำหนดแนวทาง การดำเนินการช่วงปกติและช่วงเทศกาล แนวทางการประสานการปฏิบัติการ กำหนดแผนยุทธศาสตร์ และแผนกลยุทธ์การบริหารจัดการเชิงบูรณาการลดอุบัติเหตุทางถนนแบบมีส่วนร่วม กำหนดมาตรการเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง แนวทางการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ ข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติการโดยมีปัจจัยสู่ความสำเร็จ เพื่อให้ประชาชนเดินทางสัญจรอย่างปลอดภัยอย่างยั่งยืน คำสำคัญ: การบริหารเชิงบูรณาการ อุบัติเหตุทางถนน ความร่วมมือภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน
Abstract: This research aims to investigate the integrated management approach among government, private and public sectors to reduce the number of road traffic accidents using the secondary data according to the Department of Disaster Prevention and Mitigation (DDPM) road traffic accident report as a quantitative method and in-depth semi-structured interview as a qualitative method. The sampling consisted of 5 road safety experts from government, 5 from private and 5 who working involved in driving and educated youth as a representative from public sectors. Multiple Regression analysis and basic statistics were used to identify the relationship of factors affecting road traffic accidents. The results revealed that the most consequences of road traffic accident were injury and death, respectively. Based on driving environment, the majority of crashes happened on a straight road during daytime. The most accident victims were in the range of over 50 years of age and the leading cause is driving exceed the posted speed limits. The most accident occurred on the road under the supervision of Department of Highways. The most factor contributing to death was the road with nonstandard characteristics such as under construction, construction, pothole, hilly road and railway crossing while the second factor was a bend road, during daylight hours. The majority deaths were in the range of 1-14 years of age and 15-19 years, respectively. The main causes were using the mobile phone whilst driving and drink-driving, respectively. The most road accident death occurred on the road in urban or sub-urban. The expected contributory factors to the number of road traffic accidents, deaths and injuries shown as follows; Model 1 - obstacle (x14) has negative affected to the road traffic accident whereas exceeding the speed limit (x4), suddenly veering into occupying space (x10), overweighting beyond legal limit (x13) and others (x16) have positive affected to the road traffic accident. Model 2 - drunk driving (x2) and drowsy driving (x12) have positive affected to the road traffic death. Model 3 - exceeding the speed limit (X4 ) suddenly veering into occupying space (X10) drowsy driving (X12) and others (X16) have positive affected to the road traffic injury. The previous significant on collaboration among government, private and public sectors to reduce the number of road traffic accidents, generally, there was the integrated planning supporting the ASEAN community, which focusing on road safety and participation based management especially reducing the road traffic deaths during work in the private sectors and labor services. Finding the approach to gain external funding for supporting the operation on road safety. Launching the campaign and public relation for prevention and reduction the road traffic accident. Collaborating to establish the activities and training as a road show in schools for providing the knowledge on road safety. Delivering knowledge and news dissemination toward public. Government and private sectors has been providing the budget, equipment, tool and staff to support the operation of road safety. Collaborating to reduce the critical situations for student on safety road around school by arranging the campaign and public relation to encourage applying the helmet for children. Inspiring the people to avoid using motors on pedestrian and cycling path. Integrating to standardize the driver licensing system for quality of driver and license examination. Setting up the speed detector in the risk-prone area and check point for alcohol detector. Integrating to apply the technology and innovation which is in process. Developing and revising the traffic laws for implementation. Integrating to establish the website as a center of database related to the road traffic accident and be a channel for cooperation among government, private and public sectors including hospital, volunteer and foundation for humanitarian assistant on road traffic accident. Integrating to support a standard driving coaching and check the vehicle’s basic conditions for the candidates who attend the license examination with Department of Land Transport. Integrating the transportation system with private sectors. Integrating to setup the research team for monitoring and evaluation and revising the plan for implementation, establish the mindset of responsibility ownership and mind shift to safety behavior of drivers. Providing the knowledge and training for working age people as well as the law enforcement. For the institution development, the local administration should be the first priority as the pattern of development from community level to national level. Keywords: Integrated management, Road accident, Cooperation from the government sector, The private sector, and the public sector
มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. สำนักหอสมุดและสารสนเทศ
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: library@northbkk.ac.th
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Created: 2561
Modified: 2562-07-18
Issued: 2562-07-18
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
CallNumber: วพ PH.D ว869น 2561
tha
©copyrights มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
RightsAccess:
ลำดับที่.ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูลจำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด
1 WUTTHISIN TANGVEERASINGHA.pdf 8.97 MB146 2025-06-26 15:09:54
ใช้เวลา
0.046502 วินาที

วุฒิศิลป์ ตังวีระสิงห์
สุพิศาล ภักดีนฤนาถ
Title Creator Type and Date Create
แนวทางการบริหารเชิงบูรณาการระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน เพื่อการลดอุบัติเหตุทางถนน
มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ;วรรณสินท์ สัตยานุวัตร์
วุฒิศิลป์ ตังวีระสิงห์
วิทยานิพนธ์/Thesis
วรรณสินท์ สัตยานุวัตร์
Title Creator Type and Date Create
แนวทางการบริหารเชิงบูรณาการระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน เพื่อการลดอุบัติเหตุทางถนน
มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ;วรรณสินท์ สัตยานุวัตร์
วุฒิศิลป์ ตังวีระสิงห์
วิทยานิพนธ์/Thesis
แนวทางการเพิ่มประสิทธิผลและประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน ของกรุงเทพมหานคร
มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
พิศมัย จารุจิตติพันธ์;วรรณสินท์ สัตยานุวัตร์
พรพิลาศ สุนทรหงส์
วิทยานิพนธ์/Thesis
การบริหารจัดการและการวิเคราะห์องค์ประกอบของภาวะฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย
มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
สมยศ อวเกียรติ;วรรณสินท์ สัตยานุวัตร์
อธิป พีชานนท์
วิทยานิพนธ์/Thesis
แนวทางการจัดการธุรกิจแป้งมันสำปะหลังในประเทศไทยเพื่อความสามารถในการแข่งขัน
มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
ชัยวุฒิ จันมา;วรรณสินท์ สัตยานุวัตร์
ดุสิต พิทยาธิคุณ
วิทยานิพนธ์/Thesis
ยุทธศาสตร์การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันธุรกิจกุ้งแช่แข็งเพื่อการส่งออกของประเทศไทย
มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
ชัยวุฒิ จันมา;วรรณสินท์ สัตยานุวัตร์
อภิสิทธิ์ เตชะนิธิสวัสดิ์
วิทยานิพนธ์/Thesis
Copyright 2000 - 2025 ThaiLIS Digital Collection Working Group. All rights reserved.
ThaiLIS is Thailand Library Integrated System
สนับสนุนโดย สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
328 ถ.ศรีอยุธยา แขวง ทุ่งพญาไท เขต ราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร. โทร. 02-232-4000
กำลัง ออน์ไลน์
ภายในเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 6
ภายนอกเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 2,919
รวม 2,925 คน

More info..
นอก ThaiLIS = 206,476 ครั้ง
มหาวิทยาลัยราชภัฏ = 675 ครั้ง
มหาวิทยาลัยสังกัดทบวงเดิม = 537 ครั้ง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล = 49 ครั้ง
มหาวิทยาลัยเอกชน = 43 ครั้ง
สถาบันพระบรมราชชนก = 24 ครั้ง
หน่วยงานอื่น = 4 ครั้ง
มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ = 4 ครั้ง
มหาวิทยาลัยสงฆ์ = 1 ครั้ง
รวม 207,813 ครั้ง
Database server :
Version 2.5 Last update 1-06-2018
Power By SUSE PHP MySQL IndexData Mambo Bootstrap
มีปัญหาในการใช้งานติดต่อผ่านระบบ UniNetHelp


Server : 8.199.133
Client : Not ThaiLIS Member
From IP : 216.73.216.48