การควบคุมแอคทีโนมัยซีสและการปรับปรุงคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงปลาโดยใช้แทนนินจากใบชา
Actenomycetes control and water quality improvement in Fish Pond water using Tannin Tea-extract
Abstract:
การบริโภคสัตว์น้ําได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เพราะมีไขมันต่ํา มีโปรตีนสูงและหาซื้อ ได้ง่าย แต่เกษตรกรผู้เลี้ยงยังประสบปัญหาด้านคุณภาพของเนื้อปลาเนื่องจากมีกลิ่นสาบโคลนในเนื้อ ปลา ซึ่งเกิดจากสาร 2 ชนิด คือ จีออสมิน และเอ็มไอบีที่สังเคราะห์ขึ้นโดยแบคทีเรียในกลุ่มแอคทีโน มัยซีส และสาหร่ายกลุ่มไซยาโนแบคทีเรีย แนวทางการลดกลิ่นโคลนในแหล่งน้ําคือ การเติมสารสกัด จากธรรมชาติ โดยในงานวิจัยนี้ได้ทําการศึกษาปริมาณของแอคทีโนมัยซีสในพื้นบ่อ และศึกษาผลของ สารสกัดแทนนินจากน้ําหมักใบชาในการลดกลิ่นโคลนในแหล่งน้ําในเบื้องต้นทําการศึกษาปริมาณแอคทีโนมัยซีสในดินพื้นบ่อที่เลี้ยงปลาด้วยระบบน้ําเขียวที่ อายุบ่อต่างกัน โดยศึกษาความสัมพันธ์ของแอคทีโนมัยซีสในพื้นดินก้นบ่อเลี้ยงปลา ในอายุบ่อปลาที่ แตกต่างกัน 1, 3, 6 และ 10 ปี รวมทั้งหมด 20 บ่อ พบว่าอายุบ่อไม่มีความสัมพันธ์กับปริมาณเชื้อแอ คติโนมัยซีสในดินพื้นบ่อ และพบว่าตัวอย่างดินพื้นบ่อ จํานวน 78 ตัวอย่างตรวจพบเชื้อแอติโนมันซีส ทั้งหมดในตัวอย่างดินทําการศึกษาผลของสารสกัดแทนนินจากน้ําหมักใบชาต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียกลุ่มแอคที โนมัยซีส ที่แยกได้จากบ่อเลี้ยงปลานิล ที่ในระดับความเข้มข้น 0, 50, 100, 150 และ 200 ppm. พบว่าแทนนินสามารถออกฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแอคทีโนมัยซีสได้ดีที่สุด ที่ระดับความเข้มข้น 200 ppm. ในระยะเวลา 24 ชั่วโมง สามารถยับยั้งเชื้อได้ถึง 10.79 %ทดสอบประสิทธิภาพของสารแทนนินในน้ําหมักใบชาในการลดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ในน้ํา พบว่า สารแทนนินในน้ําหมักใบชาที่ระดับความเข้มข้น 20 % สามารถลดปริมาณก๊าซ ไฮโดรเจนซัลไฟได้ดีที่สุดโดยสามารถลดได้ 69.53 % รองลงมาคือความเข้มข้น 10, 5 และ 50 % ตามลําดับ โดยสามารถลดได้ 63.64, 62.94 และ 53.85 % ตามลําดับ แต่ในแต่ละระดับความเข้มข้น ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (P>0.05) จะเห็นได้ว่าสารแทนนินในน้ําหมักใบชา มีคุณสมบัติในการลดปริมาณก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ในน้ําทิ้งได้และศึกษาผลของสารสกัดแทนนินจากน้ําหมักใบชาในการลดปริมาณแอมโมเนียในน้ําที่ระดับ ความเค็มแตกต่างกัน โดยใช้แทนนินที่ความเข้มข้น 50 ppm. ที่ระดับความเค็มต่างกัน แบ่งเป็นชุดการทดลองๆ ละ 3 ซ้ํา ทําการศึกษาที่ระยะเวลาต่างกันคือ 0, 30, 60 180, 360 นาที พบว่า สาร แทนนินสามารถลดปริมาณแอมโมเนียในน้ําจืด (0 ppt.) ได้ดีที่สุด และในน้ําที่ระดับความเค็ม 10 ppt. สามารถลดปริมาณแอมโมเนียได้ 58.7 % ในช่วงเวลา 30 นาที ซึ่งแตกต่างกับชุดการทดลองอื่น อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P<0.05) ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่าสารสกัดแทนนินจากน้ําหมักใบชา สามารถลดปริมาณแอมโมเนียได้ทั้งในน้ําจืดและน้ํากร่อย เป็นวิธีหนึ่งที่สามารถนําไปใช้ประโยชน์ใน การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ําต่อไปได้จากการทดลองทั้งหมดสรุปได้ว่า บ่อปลาที่เลี้ยงปลานิลที่มีอายุบ่อน้อย หรือมีอายุบ่อมาก มี โอกาสที่จะปนเปื้อนแบคทีเรียแอคทีโนมัยซีสในพื้นดินก้นบ่อได้ นอกจากนี้ยังพบว่าสารสกัดจาก ธรรมชาติแทนนินมีประสิทธิภาพในการลดจํานวนแอคทีโนมัยซีส และยังสามารถปรับปรุงคุณภาพน้ําได้ดีอีกด้วย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้. สำนักหอสมุด
Role:
ประธานกรรมการที่ปรึกษา
Role:
ประธานอาจารย์ประจำหลักสูตร
CallNumber:
Th 639.3 อ129ก
©copyrights มหาวิทยาลัยแม่โจ้