แจ้งเอกสารไม่ครบถ้วน, ไม่ตรงกับชื่อเรื่อง หรือมีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับเอกสาร ติดต่อที่นี่ ==>
หากไม่มีอีเมลผู้รับให้กรอก thailis-noc@uni.net.th ติดต่อเจ้าหน้าที่เจ้าของเอกสาร กรณีเอกสารไม่ครบหรือไม่ตรง

พัฒนาการของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย
Development of Buddhist universities in Thailand

ThaSH: มหาวิทยาลัยสงฆ์ -- การบริหาร
ThaSH: มหาวิทยาลัยสงฆ์ -- ไทย -- ประวัติ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ถึงความเป็นมาในการจัดตั้งและพัฒนาการของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย ในด้านต่าง ๆ 3 ด้านคือ หลักสูตรและการสอน, การบริหารงาน และบทบาทที่มีต่อสังคมไทย นอกจากนี้ยังมีวัตถุประสงค์ เพื่อคาดคะเนแนวโน้มของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในระยะหลัง พ.ศ. 2526 วิธีรวบรวมข้อมูล ได้ใช้เอกสารจากพระราชบัญญัติวิทยานิพนธ์ หนังสือ วารสาร และสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสงฆ์ นำมาวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อเรื่อง รวมทั้งการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสงฆ์ แล้วจึงรวบรวมขอมูลที่ได้จากเอกสารและการสัมภาษณ์ นำมาวิเคราะห์ เรียบเรียงเป็นวิทยานิพนธ์ ผลของการวิจัย พบว่า 1. การศึกษาพระปริยัติธรรมในประเทศไทยเริ่มตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ หลักสูตรเดิมของการศึกษาพระปริยัติธรรม แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ บาเรียนตรี บาเรียนโท และบาเรียนเอก ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหลานภาลัยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เปลี่ยนแปลงหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมจาก 3 ระดับ เป็น 9 ระดับ หรือ 9 ประโยค ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2359 เป็นต้นมา ในปัจจุบันนี้มหาเถรสมาคมและกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ รับผิดชอบสำนักเรียนพระปริยัติธรรมทั้งปวง 2. สภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ดำเนินงานในรูปสถาบันการศึกษาของสงฆ์ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2436 โดยพระบรมราชโองการในพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้นามว่า มหามกุฎราชวิทยาลัย ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ครั้น ถึงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2488 สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ได้ทรงประกาศตั้งสถานศึกษาชั้นสูงในรูปมหาวิทยาลัยสงฆ์ขึ้น ใช้นามว่า สภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัยได้ประกาศใช้ระเบียบและหลักสูตรของสภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัย เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 และได้เปิดสอนตามหลักสูตรนี้แก่ พระภิกษุสามเณร เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2489 เป็นต้นมา ส่วนมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นสถาบันการศึกษาของสงฆ์ ได้สถาปนาโดยพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2432 ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ ใช้นามว่ามหาธาตุวิทยาลัย ครั้นถึงวันที่13 กันยายน พ.ศ. 2439 พระราชทานนามใหม่ว่า มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์เฉลิมพระเกียรติในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 249 0 พระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตตเถร) พร้อมด้วยฉันทานุมัติจากที่ประชุมพระเถระผู้ใหญ่หลายรูปประกาศยกสถานภาพขึ้นดำเนินการในรูปมหาวิทยาลัยสงฆ์ ใช้นามว่า มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และเปิดสอนเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 เป็นต้นมา มูลเหตุของการจัดการศึกษาในรูปมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งนั้น เกิดจากพระเถระผู้ใหญ่เหล่านั้นมีความเห็นว่า การศึกษาของรัฐบาลได้ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้ทันกับวิทยาการสมัยใหม่อยู่ตลอดมา แต่การศึกษาของคณะสงฆ์ยังไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เพื่อให้ เหมาะกับสังคมที่กำลัง เปลี่ยนแปลง ในขณะนั้นการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี และแผนกธรรมได้รับการยอมรับจากสังคมไทยน้อยลง และรัฐบาลไม่ได้สนับสนุนมากนัก ดังนั้นจึงสมควรจะได้ปรับปรุงการศึกษาของคณะสงฆ์ เพื่อให้พระภิกษุสามเณรได้ศึกษาพระปริยัติธรรมควบคู่กันกับวิชาสามัญทางโลก จะได้มีความรู้ ควานสามารถ รู้เท่าทันกับเหตุการณ์ในสังคมปัจจุบัน และเพื่อสนองพระราชประสงค์เดิมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระราชทานเป็นสถานที่ศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูง 3. หลักสูตรการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งเป็นระบบเบ็ดเสร็จ ได้จัดตั้งหลักสูตร การศึกษาระดับต่ำกว่าอุดมศึกษาและระดับอุดมศึกษาไว้ในสถาบันเดียวกัน สภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัย ได้จัดหลักสูตรการศึกษาเป็น 2 ระดับคือ ระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา ได้แก่หลักสูตรบุรพศึกษา หลักสูตรบาลีสามัญศึกษา และหลักสูตรเตรียมศาสนศาสตร์ และระดับอุดมศึกษา ได้แก่ หลักสูตรปริญญาศาสนศาสตร์บัณฑิต ส่วนมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยฯ ได้จัดหลักสูตรการศึกษาไว้ 2 ระดับ คือ ระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา ได้แก่ หลักสูตรบาลีสาธิตศึกษา หลักสูตรบาลีอบรมศึกษา และหลักสูตรบาลีเตรียมอุดมศึกษา และระดับอุดมศึกษาได้แก่ หลักสูตรประกาศนียบัตรครูศาสนศึกษาและหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตร์บัณฑิต พัฒนาการของหลักสูตรการศึกษาในมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งนั้นจะปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการและทบวงมหาวิทยาลัยอยู่เสมอ ทั้งนี้เพื่อให้พระภิกษุสามเณรมีความรู้เท่าทันสังคมทางโลก 4. การบริหารงานของมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง ตั้งแต่เริ่มดำเนินการในรูปมหาวิทยาลัยสงฆ์จนถึงวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 เป็นหน่วยงานเอกเทศ การบริหารงานใช้ระบบคณะกรรมการ ครั้นถึงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง ได้ขึ้นสังกัดกับมหาเถรสมาคม เป็นต้นมา การบริหารงานภายในใช้ระบบสภามหาวิทยาลัย ประกอบด้วย กรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการโดยตำแหน่งจะมีเฉพาะฝ่ายบรรพชิตเท่านั้น กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะมีทั้งฝ่ายบรรพชิตและฝ่ายคฤหัสถ์โดยกรรมการฝ่ายบรรพชิตจะมีบทบาทมากในการตัดสินใจของการบริหารงานในมหาวิทยาลัยสงฆ์ ส่วนกรรมการฝ่ายคฤหัสถ์จะเป็นเพียงที่ปรึกษาเท่านั้น โครงสร้างในการบริหารงานเช่นนี้อาจจะมีแนวโน้มว่าการตัดสินใจใด ๆในการบริหารงานก็ย่อมเน้นไปในทางพระพุทธศาสนาค่อนข้างสูง 5. บทบาทของมหาวิทยาสงฆ์ทั้งสองแห่งที่มีต่อสังคมไทย ได้แก่ การผลิตบัณฑิตส่วนใหญ่เป็นพระภิกษุสามเณร มีภูมิลำเนาเดิมมาจากต่างจังหวัด ผู้ซึ่งมีโอกาสน้อยในอันที่จะได้รับการศึกษาในระดับสูงกว่าการศึกษาภาคบังคับ มหาวิทยาลัยสงฆ์จึงเป็นช่องทางเอื้ออำนวยประโยชน์ทางศาสนศึกษาแก่ผู้มีโอกาสน้อยเหล่านี้เป็นอย่างยิ่งในสังคมไทย นอกจากนี้มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งยังมีบทบาทในการให้บริการทางวิชาการพระพุทธศาสนา แก่สังคมไทยนานาประการ เช่น การเผยแผ่ธรรม การจัดทำนิตยสารธรรมจักษุและพุทธจักร และจัดตั้งโรงเรียนพุทธศาสนา วันอาทิตย์ เป็นต้น 6. มหาเถระสมาคมได้รับรองวิทยฐานะ มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งแล้ว เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 แต่รัฐบาลไทยยังไม่ได้รับรองวิทยฐานะขั้นปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งจนถึงปัจจุบันนี้ (พ.ศ. 2526) 7. คาดคะเนแนวโน้มที่สำคัญของมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งในระยะหลัง พ.ศ. 2526 ก็คือ รัฐบาลไทยอาจจะรับรองวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง แสะมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยฯอาจจะเพิ่มสาขาสถานศึกษา หรือวิทยาเขตในต่างจังหวัดมากขึ้น 8. หลังจากที่ได้วิเคราะห์พัฒนาการของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทยแล้ว จะพบว่า อิทธิพลที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการของมหาวิทยาลัยสงฆ์นั้นครอบคลุมอิทธิพลทางด้าน วิทยาการสมัยใหม่ ทำให้พระภิกษุสามเณรต้องศึกษาหาความรู้ เพื่อให้เท่าทันเหตุการณ์ของโลก อิทธิพลทางด้านการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ที่เป็นแรงจูงใจให้พระเถระผู้ใหญ่หลายรูปในพระพุทธศาสนาที่จะจัดตั้งมหาวิทยาลัยสงฆ์ เพื่อศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนาอย่างเป็นระบบ อิทธิพลทางด้านระบบอุดมศึกษาของรัฐ ที่เห็นว่าระบบอุดมศึกษาของรัฐได้จัดขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่คนนิยมศึกษากันจึงได้ จัดตั้งมหาวิทยาลัยสงฆ์ขึ้น เพื่อพระภิกษุสามเณรจะได้ศึกษาในระดับอุดมศึกษาและมีความรู้ทันสมัยขึ้น รวมทั้งกลไกทางการเมือง ในแต่ละยุคแต่ละสมัยที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยสงฆ์ ในด้านใดด้านหนึ่งด้วยเสมอ 9. การจัดการศึกษาในรูปมหาวิทยาลัยสงฆ์จะเกิดผลดีหลายอย่าง คือ พระภิกษุสามเณร มีโอกาสในการศึกษาเพิ่มมากขึ้น เพราะมหาวิทยาลัยสงฆ์เป็นการศึกษาของมวลชนอย่างแท้จริง อันเป็นการศึกษาแบบให้เปล่า นอกจากนั้น มหาวิทยาลัยสงฆ์ช่วยปรับปรุงการปฏิบัติตามพระธรรมวินัยของพระภิกษุสามเณรให้ดีขึ้น เพราะพระภิกษุสามเณรที่ได้รับการศึกษาย่อมจะมีความรู้ในการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย ซึ่งเป็นผลดีต่อพระพุทธศาสนาและประเทศชาติรวมทั้งมหาวิทยาลัยสงฆ์ มีบทบาทในการสร้างพระภิกษุสามเณรให้เป็นผู้นำชุมชนและให้บริการด้านต่าง ๆ แก่สังคม
Abstract: The purpose of thi3 research was to study' and analyze the development of Buddhist Universities in Thailand in three aspects} curriculum and teaching, administration and social services. In addition, the trend of Buddhist Universities was also predicted. Research method employed in this study was historical research. It included studying and analyzing the acts, theses, books, periodicals and printed matters concerning with Buddhist Universities. Interviewing those who concerned with Buddhist Universities was also adopted. The major findings of this research were as follow: 1. Ecclesiastical education in Thailand was first developed in the Sukhothai period and functioned to Ratanakosin. The former curriculum of ecclesiastical education was divided into three grades: Barian Tri, Barian Tho and Barian Ek. In B.E. 2359, King Rama II had changed the three grades barian system into the nine grades or nine prayoke system, which is a prototype of the current one. The Council of Elders and the Department of Religious Affairs, the Ministry of Education control all ecclesiastical schools at the present time. 2. Mahamakut Rajavidyalaya Educational Council under Royal Patronage was founded as a collegiate institution on October 1, B.E. 2436, by the Royal Decree of His Majesty King Chulalongkorn. It was called Mahamakut Rajavidyalaya at Bovomivetl Monastery, On December 30, B.E. 2488 Supreme Patriarch Prince Vajirayanavongsa proclaimed the founding of Buddhist University and it has been called " Mahamakut Rajavidyalaya Educational Council, Buddhist University under Royal Patronage." The courses of study ware developed on July 11, B.E. 2489, to monks and novices, Mahachulalongkorn rajavidyalaya under Royal Patronage was an ecclesiastical institution founded by His Majesty King Chulalongkorn for the education of Buddhist monks and novices on November 8, B.E, 2432, at Mahadhatu Monastery It was oalled Mahadhatu Vidyalaya, On September 13, B,E, 2439, by a Royal Decree, the name was changed to Mahachulalongkornraja vidyalaya to perpetuate the memory and honor of His Majesty King Chulalongkorn. On January 9, B.E, 2490, with consent of the assemble of Elders presided over by Phra Bimaladharma (Choi Thanadatta Thera), the status of the institution was raised to that of a Buddhist University, retaining however, the name of Mahachulalongkomrajavidyalaya. The new classes started on July 18, B.E. 2490. Since then it has been functioning as a Buddhist University for monks and novices. The reason for the founding of Buddhist Universities was that the secular education was improved and changed dramatically, but the ecclesiastical education was not changed enough to serve society. At the same time, the ecclesiastical education of Pali and Hmrrna sections were decree singly, and the government had not much supported them. It was quite dear, at that time that the monks and novices should study the modern subjects to cope with the growth of modernization. In addition, to follow the aim of His Majesty King Chulalongkorn which provided institutions studying Tripitaka and higher education, was also the major motivation. 3. The curricula of two Buddhist Universities were divided into two levels: lower higher education and higher education. Two levels of education were operated in the same institution. The curricula of Mahamakut Rajavidyalaya Educational Council in the level of lower higher education consisted of the Elementary Class, Pali General Education and the Pre- University; and in the level of higher education was the Undergraduate Class, The curricula of Mahachulalongkornrajavidyalaya in the level of lower higher education consisted of Pali Demonstration School, Pali Introductory School and Pali Pre-University School; and in the level of higher education was Ecclesiastical Teaching Training College and Undergraduate Studies: o The development of curricula of the two Buddhist Universities had increasingly improved following the regulations of the Ministry of Education and the Ministry of University Affairs, It has been improved for expanding the modern knowledge of the monks and novices, 4. From the founding to May 15, B.E, 2512, the administrations of the two Buddhist Universities were functioned as the autonomous institutions. They were administered by the special committee. On May 16, B.E. 2512, the Council of Elders was founded at the two Buddhist Universities, The Universities were administered by the University Councils, consisted of ex officio members and qualified members. The ex officio members were only the monks. The qualified members were both the monks and the laymen. In action, the monks took active roles in administration of the two Buddhist Universities. The Laymen members .were only the counselors. It is obvious that the affairs of the Universities gear to the sole benefit of Buddhism. 5. The basic role of two Buddhist Universities in Thai society was the instructional programed. The most of monks and novices had the permanent domicile from the country side who obtain only primary education. Buddhist Universities served them for the ecclesiastical education. Besides, two Buddhist Universities had the roles of academic services on Buddhism, such 83 propagation of Dharma, publications of Dharroacakshu and Buddhacakra, and Buddhist Sunday School, 6. The Council of Elders approved the status of two Buddhist Universities on May 16, B.E. 2512; but Thai government has not accredited the bachelor’s degrees till B.E. 2526. 7. To predict the trends of two Buddhist Universities after B.E. 2526, It seems that soon Thai government will accredit two Buddhist Universities Mahachulalongkomrajavidyalaya will increasingly found the branches or campuses at the country side. 8. After analysis of the development of Buddhist Universities in Thailand, it was found that the influences which changed the Buddhist Universities was the modern knowledge and technology. The monks and novices should study modern subjects to apply in the present world. Propagation of Christian religion was also the another influence which motivated the Buddhist Elders to raise the status of the ecclesiastical institution as Buddhist Universities. The secular higher education was the another influence in the founding of Buddhist Universities for the monks and novices to study in the higher education. Political situation in each period effected some aspects in the operation of Buddhist Universities. 9. Buddhist Universities have some valuable results: the monks and novices had the educational opportunity to study at the higher level. Buddhist Universities were Indeed the education for masses which have been offered free of charge. Besides, Buddhist Universities improved increasingly the disciples of monks and novices which led to the best results of Buddhism and the nation. In addition, Buddhist Universities could produce the graduates which later would be leadership in the community.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักงานวิทยทรัพยากร
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: cuir@car.chula.ac.th
Role: ที่ปรึกษา
Created: 2527
Modified: 2561-03-16
Issued: 2561-03-10
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
URL: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29855
ISBN: 9745638374
tha
Spatial: ไทย
©copyrights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
RightsAccess:
ลำดับที่.ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูลจำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด
1 Manas_ke_front.pdf 8.37 MB12 2024-07-13 18:08:56
2 Manas_ke_ch1.pdf 12.35 MB9 2024-02-06 11:35:10
3 Manas_ke_ch2.pdf 33.92 MB9 2024-02-06 11:34:57
4 Manas_ke_ch3.pdf 28.39 MB8 2024-02-06 11:34:39
5 Manas_ke_ch4.pdf 46.68 MB8 2024-02-06 11:34:28
6 Manas_ke_ch5.pdf 35.3 MB11 2024-02-06 11:34:13
7 Manas_ke_ch6.pdf 12.83 MB9 2024-02-06 11:33:57
8 Manas_ke_back.pdf 11.85 MB7 2024-02-06 11:35:23
ใช้เวลา
0.029889 วินาที

มนัส เกิดปรางค์
Title Contributor Type
พัฒนาการของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มนัส เกิดปรางค์
ไพฑูรย์ สินลารัตน์
วิทยานิพนธ์/Thesis
ไพฑูรย์ สินลารัตน์
Title Creator Type and Date Create
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดอุบัติเหตุของพนักงานที่ปฏิบัติงานด้านระบบจำหน่ายไฟฟ้าแรงสูง ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค : กรณีศึกษาด้านการเรียนการสอน และการปฏิบัติงาน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ไพฑูรย์ สินลารัตน์;มานิตย์ สิทธิชัย
ม.ร.ว.วัลย์วาณี สวัสดิวัตน์
วิทยานิพนธ์/Thesis
แนวคิดเชิงธุรกิจกับการเปลี่ยนแปลงมหาวิทยาลัยไทย : บทวิเคราะห์การจัดหลักสูตรโครงการภาคพิเศษ
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
สุชาติ ศรียารัณย;ไพฑูรย์ สินลารัตน์;กฤษณา ไวสำรวจ
ดรุณศักดิ์ ตติยะลาภะ
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้แผนผังทางปัญญา เพื่อเพิ่มพูนความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาพยาบาล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ไพฑูรย์ สินลารัตน์;พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์
ประภาวัลย์ แพร่วาณิชย์
วิทยานิพนธ์/Thesis
รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุ ขององค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อภาวะความเป็นผู้นำของคณบดี สถาบันอุดมศึกษาขของรัฐ ในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ไพฑูรย์ สินลารัตน์;สุชาดา บวรกิติวงศ์
เกียรติกำจร กุศล
วิทยานิพนธ์/Thesis
การวางแผนกลยุทธ์ สำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏในทศวรรษหน้า (2544-2553)
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พรชุลี อาชวอำรุง;ไพฑูรย์ สินลารัตน์
นันทา วิทวุฒิศักดิ์
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวรรณคดีไทยตามทฤษฎีการตอบสนองของผู้อ่านเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการตอบสนองต่อวรรณคดี การอ่านเพื่อความเข้าใจและการคิดไตร่ตรองของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ไพฑูรย์ สินลารัตน์;จันทร์เพ็ญ เชื้อพานิช
พรทิพย์ ศิริสมบูรณ์เวช
วิทยานิพนธ์/Thesis
การนำเสนอรูปแบบกฎหมายมหาวิทยาลัยราชภัฎในกำกับของรัฐ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ไพฑูรย์ สินลารัตน์;วราภรณ์ บวรศิริ
เจริญ แสนภักดี
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบเน้นวิจัยทางการศึกษาพยาบาล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปทีป เมธาคุณวุฒิ;ไพฑูรย์ สินลารัตน์
เสาวนีย์ กานต์เดชารักษ์
วิทยานิพนธ์/Thesis
การนำเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาไทยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ไพฑูรย์ สินลารัตน์;วราภรณ์ บวรศิริ
คำเพชร ภูริปริญญา
วิทยานิพนธ์/Thesis
การศึกษาวิวัฒนาการภารกิจทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของสถาบันอุดมศึกษาไทย (พุทธศักราช 2459-2549)
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ไพฑูรย์ สินลารัตน์;พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์
ธัญรัด จันทร์ปลั่ง
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนารูปแบบหลักสูตรและการเรียนการสอนแบบบูรณาการ สำหรับวิชาศึกษาทั่วไปในมหาวิทยาลัยราชภัฏ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ไพฑูรย์ สินลารัตน์; พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์
จุมพจน์ วนิชกุล
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนารูปแบบความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับโรงเรียนในการเปลี่ยนผ่านด้านการเรียนการสอนในโรงเรียน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ไพฑูรย์ สินลารัตน์;พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์
พรชัย ทองเจือ
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดคุณลักษณศึกษาของลิคโคนา เพื่อเสริมสร้างจรรยาบรรณวิชาชีพด้านความรับผิดชอบของนักศึกษาสายอาชีพและเทคโนโลยี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ไพฑูรย์ สินลารัตน์;สร้อยสน สกลรักษ์
วรนารถ โมลีเอรี
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมสำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิตด้วยกิจกรรมศิลปะเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และทักษะการผลิตผลงาน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ไพฑูรย์ สินลารัตน์;อำไพ ตีรณสาร
ศิริพงษ์ เพียศิริ
วิทยานิพนธ์/Thesis
การศึกษาวิวัฒนาการความร่วมมือทางการอุดมศึกษาระหว่างสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีกับราชอาณาจักรไทย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วราภรณ์ บวรศิริ;ไพฑูรย์ สินลารัตน์
สุรภี สังขพิชัย
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนารูปแบบการจัดการโรงเรียนเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพในประเทศไทย
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ไพฑูรย์ สินลารัตน์
ชมแข พงษ์เจริญ
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏโดยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบโครงสร้างเชิงเส้น
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ไพฑูรย์ สินลารัตน์;ปรีชา คัมภีรปกรณ์
วิชิต แสงสว่าง
วิทยานิพนธ์/Thesis
ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้นำของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้โรงเรียนเตรียมอุมดมศึกษาพัฒนาการ ลำลูกกา
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ไพฑูรย์ สินลารัตน์
วรลักษณ์ วุฒิปราณี
วิทยานิพนธ์/Thesis
การจัดการการสอนภาษาไทยของโรงเรียนสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ ในกรุงเทพมหานคร
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ไพฑูรย์ สินลารัตน์;ทัศนีย์ ชาติไทย
น้องรัก แซ่แต้
วิทยานิพนธ์/Thesis
การจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในวิทยาลัยการอาชีพไกลกังวล
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ไพฑูรย์ สินลารัตน์
กัญญา ศรีติ้ง
วิทยานิพนธ์/Thesis
เปรียบเทียบพฤติกรรมการสอนของอาจารย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลากับวิทยาลัยครูสงขลา ตามการรับรู้ของอาจารย์และนักศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ไพฑูรย์ สินลารัตน์
วงศ์ชัย ภูมิระวิ
วิทยานิพนธ์/Thesis
ความพึงพอใจในงานของอาจารย์ในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า : การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างวิทยาเขต
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ทองอินทร์ วงศ์โสธร; ไพฑูรย์ สินลารัตน์
ณรงค์ เพียรเกิดสุข
วิทยานิพนธ์/Thesis
การเสริมสร้างพลังอำนาจให้กับคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์;ไพฑูรย์ สินลารัตน์
คณิต เขียววิชัย
วิทยานิพนธ์/Thesis
พัฒนาการของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ไพฑูรย์ สินลารัตน์;สมหวัง พิธิยานุวัฒน์
ปรีชา แม้นมินทร์
วิทยานิพนธ์/Thesis
รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเลิศตามมาตรฐานสากลในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ไพฑูรย์ สินลารัตน์;สรชัย พิศาลบุตร
สุรศักดิ์ ศุภเมธีวรกุล
วิทยานิพนธ์/Thesis
กลยุทธ์การบริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพการสอนภาษาไทยในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ไพฑูรย์ สินลารัตน์;วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์
กรรณานุช ณ ถลาง
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของสภาคณาจารย์และข้าราชการในการบริหารงานมหาวิทยาลัยราชภัฎ
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ไพฑูรย์ สินลารัตน์;ปรีชา คัมภีรปกรณ์
ประสิทธิ์ ไชยศรี
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนายุทธศาสตร์การพัฒนาคุณธรรมสำหรับนักเรียนนายร้อยตำรวจ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
;นันทรัตน์ เจริญกุล;ไพฑูรย์ สินลารัตน์
วราภรณ์ เตชะสุวรรณา
วิทยานิพนธ์/Thesis
กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนกวดวิชาเพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
;ปิยพงษ์ สุเมตติกุล;ไพฑูรย์ สินลารัตน์
เอกอมร เอี่ยมศิริรักษ์
วิทยานิพนธ์/Thesis
กลยุทธ์การพัฒนาคุณลักษณะผู้นำแบบไทยของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
;ปองสิน วิเศษศิริ;ไพฑูรย์ สินลารัตน์
พิมพ์ฐดา วัจนวงศ์ปัญญา
วิทยานิพนธ์/Thesis
โลกาภิวัตน์และหลังโลกาภิวัตน์กับการเปลี่ยนแปลงมหาวิทยาลัยไทยในศตวรรษที่ 21
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
กฤษณา ไวสำรวจ;ไพฑูรย์ สินลารัตน์;ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร
ดรุณศักดิ์ ตติยะลาภะ
วิทยานิพนธ์/Thesis
แนวความคิดและพัฒนาการเกี่ยวกับความเป็นอิสระของมหาวิทยาลัยไทย : การวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิจิตร ศรีสอ้าน;ไพฑูรย์ สินลารัตน์
พรทิพย์ ดีสมโชค
วิทยานิพนธ์/Thesis
การมีส่วนร่วมในการบริหารมหาวิทยาลัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยไทย : การศึกษาเชิงประวัติศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ไพฑูรย์ สินลารัตน์;ทองอินทร์ วงศ์โสธร
อนงค์ อนันตริยเวช
วิทยานิพนธ์/Thesis
การชุบโครเมียมแบบแต้มด้วยไฟฟ้าบนเหล็กกล้าละมุน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ไพฑูรย์ สินลารัตน์;สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม
จรวยพร สิทธิชัยมณี
วิทยานิพนธ์/Thesis
รูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาของประเทศไทยเพื่อสร้างความเป็นผู้นำด้านการศึกษาในกลุ่มประเทศอาเซียน
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ไพฑูรย์ สินลารัตน์;พิณสุดา สิริธรังศรี
มาโนช หวังตระกูล
วิทยานิพนธ์/Thesis
การศึกษากระบวนการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยเอกชน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ไพฑูรย์ สินลารัตน์;เรณู ผลสวัสดิ์
กฤติมา มังคลาภรณ์
วิทยานิพนธ์/Thesis
อิทธิพลตะวันตกต่อหลักสูตรและการสอนเศรษฐศาสตร์ ในสถาบันอุดมศึกษาไทย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ไพฑูรย์ สินลารัตน์
สมศักดิ์ ตันติแพทยางกูร
วิทยานิพนธ์/Thesis
ยุทธศาสตร์การบริหารกิจการนักเรียนเพื่อประสิทธิผลการพัฒนาผู้เรียนในยุคสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ไพฑูรย์ สินลารัตน์
เสาวภาคย์ แหลมเพ็ชร
วิทยานิพนธ์/Thesis
พัฒนาการของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ไพฑูรย์ สินลารัตน์
มนัส เกิดปรางค์
วิทยานิพนธ์/Thesis
พัฒนาการของการศึกษาวิชาชีพนาฏศิลป์ไทยในประเทศไทย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
;ไพฑูรย์ สินลารัตน์;ประทิน พวงสำลี
ชมนาด โศภน
วิทยานิพนธ์/Thesis
งานของคณะบดีในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ไพฑูรย์ สินลารัตน์
กิตติพล ทองเกตุ
วิทยานิพนธ์/Thesis
ความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดทางปรัชญาการศึกษากับแบบการเรียน ของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ไพฑูรย์ สินลารัตน์
จินดา ยัญทิพย์
วิทยานิพนธ์/Thesis
พัฒนาการของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ไพฑูรย์ สินลารัตน์;อมรชัย ตันติเมธ
อรทัย โพธิสุข
วิทยานิพนธ์/Thesis
ผลกระทบของการสาธารณสุขมูลฐานต่อการศึกษาพยาบาลในอนาคต
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
;ไพฑูรย์ สินลารัตน์
วัฒนา วินิตวัฒนคุณ
วิทยานิพนธ์/Thesis
การวิเคราะห์จุดมุ่งหมายของการประถมศึกษาของไทย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
;สำลี ทองธิว;ไพฑูรย์ สินลารัตน์
สุภา อักษรดิษฐ์
วิทยานิพนธ์/Thesis
การวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ด้านวิชาชีพครูของนักศึกษาครูในวิทยาลัยครู
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ไพฑูรย์ สินลารัตน์;ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์
นิศารัตน์ ศิลปเดช
วิทยานิพนธ์/Thesis
แนวโน้มของหลักสูตรการและการสอนของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในทศวรรษหน้า
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ไพฑูรย์ สินลารัตน์;สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม
จรวย กลางณรงค์
วิทยานิพนธ์/Thesis
แบบการเรียนของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ไพฑูรย์ สินลารัตน์
ประโยชน์ คุปต์กาญจนากุล
วิทยานิพนธ์/Thesis
กลยุทธ์การบริหารความร่วมมือทางสังคมออนไลน์เชิงสร้างสรรค์ในการศึกษาสำหรับโรงเรียนเอกชนระดับอนุบาลในเขตกรุงเทพมหานคร
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ไพฑูรย์ สินลารัตน์;ปองสิน วิเศษศิริ
รุ่งรุจน์ธนัน บุญยรักษ์
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนาหนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง Big and Small book เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านของเด็กปฐมวัยตามแนวทาง Brain-based learning
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ไพฑูรย์ สินลารัตน์;สุภัทรา คงเรือง
นาถศจี สงค์อินทร์
วิทยานิพนธ์/Thesis
กลยุทธ์การบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฎเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ไพฑูรย์ สินลารัตน์;กวี ศิริโภคาภิรมย์
ปนิดา เนื่องพะนอม
วิทยานิพนธ์/Thesis
บทบาทของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ในการส่งเสริมการปฏิบัติ ตามจรรยาบรรณวิชาชีพของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ไพฑูรย์ สินลารัตน์; สินธะวา คามดิษฐ์
รัชนี พุทธาสมศรี
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนาหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะการเป็นพลเมืองในศตวรรษที่ 21
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ไพฑูรย์ สินลารัตน์
นันทน์ธร บรรจงปรุ
วิทยานิพนธ์/Thesis
การศึกษาความเป็นไปได้ของการจัดตั้งโรงเรียนนานาชาติ ตามหลักปรัชญา อไจล์ในประเทศไทย
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ไพฑูรย์ สินลารัตน์
นิ่มนวล โคตะรักษ์
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบเน้นประสบการณ์ ตามสภาพจริง เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะการเรียนด้วยการนำตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ; ไสว ฟักขาว
กันตาภา สุทธิอาจ
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการสอนศีลธรรมของมหาวิทยาลัยสงฆ์ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ;ศศิธร เขียวกอ
ปราณี พงษ์สุพรรณ
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการสอนศีลธรรมของมหาวิทยาลัยสงฆ์ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ไพฑูรย์ สินลารัตน์;ศศิธร เขียวกอ
พระครูปลัดกวีวัฒน์ (ธีรวิทย์ ฉนฺทวิชฺโช)
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนารูปแบบและกลไกการกำกับดูแลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
;วราภรณ์ บวรศิริ;ไพฑูรย์ สินลารัตน์
สุชาติ เมืองแก้ว
วิทยานิพนธ์/Thesis
รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในกำกับ ในการบริหารการศึกษาระดับอุดมศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
;ไพฑูรย์ สินลารัตน์;สุกัญญา โฆวิไลกูล
สุทธศรี วงษ์สมาน
วิทยานิพนธ์/Thesis
รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในองค์การที่มีประสิทธิผลระดับคณะ ของสถาบันอุดมศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
;สุกัญญา โฆวิไลกูล;ไพฑูรย์ สินลารัตน์
อภิญญา กังสนารักษ์
วิทยานิพนธ์/Thesis
บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ ตามการรับรู้ของผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ไพฑูรย์ สินลารัตน์
พุทธิพงษ์ ทองเขียว
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความผูกพันของผู้เรียนและความสามารถทางการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษของ นักศึกษาระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ไพฑูรย์ สินลารัตน์
อุทุมพร ภักดีวงศ์
วิทยานิพนธ์/Thesis
พัฒนาการในการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาของไทยในระบอบประชาธิปไตย พ.ศ. 2475-2526
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ไพฑูรย์ สินลารัตน์;อมรชัย ตันติเมธ
วิทยา นิยมกูล
วิทยานิพนธ์/Thesis
การศึกษาการเปิดรับสารสนเทศเพื่อการศึกษาจากสื่อมวลชนไทย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วชิราพร อัจฉริยโกศล;ไพฑูรย์ สินลารัตน์
เฉลิมพร อุ่นแก้ว
วิทยานิพนธ์/Thesis
กลยุทธ์การบริหารจัดการวิทยาลัยชุมชนที่ตอบสนองนโยบายประเทศไทย 4.0
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
พิณสุดา สิริธรังศรี; ไพฑูรย์ สินลารัตน์
สมยศ เผือดจันทึก
วิทยานิพนธ์/Thesis
ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ทีมเป็นฐานของคณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
พิณสุดา สิริธรังสี; ไพฑูรย์ สินลารัตน์
อรุณี สุวรรณะชฏ
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรด้านการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ กับสมรรถภาพด้านการสอนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ในวิทยาลัยครู
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ไพฑูรย์ สินลารัตน์;ปทีป เมธาคุณวุฒิ
บัญญัติ ชำนาญกิจ
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนาหลักสูตรการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารธุรกิจ ตามหลักการจัดการศึกษาแบบเน้นผลการเรียน สำหรับนักศึกษาสาขาบริหารธุรกิจ วิชาเอกภาษาอังกฤษธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
;สุมิตรา อังควัฒนกุล;ไพฑูรย์ สินลารัตน์
วรพร สุนทรวัฒนศิริ
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์วิชาชีพครู ของสหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ไพฑูรย์ สินลารัตน์
สมบัติ คชสิทธิ์
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามแนวการเรียนรู้ จากสถานการณ์เสมือนจริงเพื่อเสริมสร้างความสามารถทางภาษาอังกฤษ และการรับรู้ความสามารถของตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ;ไสว ฟักขาว
สุดคนึง นฤพนธ์จิรกุล
วิทยานิพนธ์/Thesis
การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสาเหตุของประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์ ในวิทยาลัยครู
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์;ไพฑูรย์ สินลารัตน์
ประโยชน์ คุปต์กาญจนากุล
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขาสำหรับพระภิกษุนวกะ
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ไพฑูรย์ สินลารัตน์; ไสว ฟักขาว
สุจินตนินท หนูชูสีห์สกุล
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดทางพระพุทธศาสนาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ไพฑูรย์ สินลารัตน์;ไสว ฟักขาว
พระปลัดราชันย์ ขวัญเมือง
วิทยานิพนธ์/Thesis
การศึกษาวิวัฒนาการของบทบาทสตรีในการศึกษาระดับอุดมศึกษาไทย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
;พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์;ไพฑูรย์ สินลารัตน์
เรวดีทรรศน์ รอบคอบ
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนารูปแบบความร่วมมือระหว่างโรงเรียนมัธยมศึกษา กับสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ไพฑูรย์ สินลารัตน์;พจน์ สะเพียรชัย
พยุงศักดิ์ จันทรสุรินทร์
วิทยานิพนธ์/Thesis
การบูรณาการเนื้อหาหลักสูตรในกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพในระดับอุดมศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ไพฑูรย์ สินลารัตน์;สุจริต เพียรชอบ;ประนอม โอทกานนท์
เรณุมาศ วิจิตรรัตนะ
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบภาคสนาม สำหรับวิชาหลักการสอน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ไพฑูรย์ สินลารัตน์;นิพนธ์ ไทยพานิช;วรรณา ปูรณโชติ
สมพงษ์ สิงหะพล
วิทยานิพนธ์/Thesis
พัฒนาการของการศึกษาวิชาชีพดนตรีไทยในสมัยรัตนโกสินทร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ไพฑูรย์ สินลารัตน์;สุกรี เจริญสุข
มาศสุภา สีสุกทอง
วิทยานิพนธ์/Thesis
แนวคิดของอาจารย์พยาบาลเกี่ยวกับปรัชญาการศึกษาพยาบาล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จินตนา ยูนิพันธุ์;ไพฑูรย์ สินลารัตน์
ลดาวัลย์ ภูมิวิชชุเวช
วิทยานิพนธ์/Thesis
กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนของ โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในประเทศไทย
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
บุญเสริม วีสกุล; ไพฑูรย์ สินลารัตน์
สุคนธา อรุณภู่
วิทยานิพนธ์/Thesis
Copyright 2000 - 2025 ThaiLIS Digital Collection Working Group. All rights reserved.
ThaiLIS is Thailand Library Integrated System
สนับสนุนโดย สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
328 ถ.ศรีอยุธยา แขวง ทุ่งพญาไท เขต ราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร. โทร. 02-232-4000
กำลัง ออน์ไลน์
ภายในเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 6
ภายนอกเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 2,648
รวม 2,654 คน

More info..
นอก ThaiLIS = 243,355 ครั้ง
มหาวิทยาลัยสังกัดทบวงเดิม = 620 ครั้ง
มหาวิทยาลัยราชภัฏ = 488 ครั้ง
มหาวิทยาลัยเอกชน = 73 ครั้ง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล = 56 ครั้ง
หน่วยงานอื่น = 9 ครั้ง
มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ = 5 ครั้ง
มหาวิทยาลัยสงฆ์ = 2 ครั้ง
สถาบันพระบรมราชชนก = 1 ครั้ง
รวม 244,609 ครั้ง
Database server :
Version 2.5 Last update 1-06-2018
Power By SUSE PHP MySQL IndexData Mambo Bootstrap
มีปัญหาในการใช้งานติดต่อผ่านระบบ UniNetHelp


Server : 8.199.132
Client : Not ThaiLIS Member
From IP : 216.73.216.48