แจ้งเอกสารไม่ครบถ้วน, ไม่ตรงกับชื่อเรื่อง หรือมีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับเอกสาร ติดต่อที่นี่ ==>
หากไม่มีอีเมลผู้รับให้กรอก thailis-noc@uni.net.th ติดต่อเจ้าหน้าที่เจ้าของเอกสาร กรณีเอกสารไม่ครบหรือไม่ตรง

การจัดการชุมชนแออัดประเภทบุกรุก กรณีชุมชนเชื้อเพลิงพัฒนา เขตยานนาวา
The management of a squatter community on encroached land : a case study of Chuerplerng Pattana Community in Yannawa District

ThaSH: ชุมชนแออัด -- ไทย -- กรุงเทพฯ
ThaSH: การมีส่วนร่วมทางสังคม
ThaSH: ชุมชนเชื้อเพลิงพัฒนา
ThaSH: ยานนาวา (กรุงเทพฯ)
Abstract: ชุมชนแออัดเป็นปัญหาสำคัญของกรุงเทพมหานคร ในปีพ.ศ.2542 พบว่ามีชุมชนแออัดถึง 770 ชุมชนและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เขตยานนาวาเป็นเขตที่รองรับการขยายตัวมาจากเขตเมืองเก่าสู่เขตบางคอแหลม สาทร และยานนาวาตามลำดับ เขตยานนาวาเป็นเขตที่มีชุมชนแออัดมากที่สุดคือ 35 ชุมชน เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2500 ปัจจุบันทั้ง 3 เขตนี้ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจที่สำคัญแห่งใหม่ของกรุงเทพมหานคร จากนโยบายดังกล่าวทำให้น่าศึกษาถึงกระบวนการจัดการของชุมชนแออัดในพื้นที่ โดยมีวิทยานิพนธ์ที่ทำการศึกษาพร้อมกันใน 3 ประเภทของชุมชนได้แก่ ชุมชนแออัดที่อยู่อาศัยในที่ดินวัด ชุมชนแออัดเช่าที่ดินเอกชนและงานวิจัยนี้ที่ทำการศึกษาชุมชนแออัดบุกรุกที่ดินรัฐ โดยใช้กรณีศึกษาชุมชนเชื้อเพลิงพัฒนาซึ่งเป็นชุมชนบุกรุกที่ดินของกรมธนารักษ์ที่อยู่มานานและมีขนาดใหญ่ที่สุดในเขตยานนาวา วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาพัฒนาการ กระบวนการ ปัญหาและข้อจำกัดของการจัดการชุมชนเชื้อเพลิงพัฒนาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยผู้วิจัยได้ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสาร บทความที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ข้อมูลปฐมภูมิจากการสำรวจภาคสนาม การสังเกตการณ์และการสัมภาษณ์ประธานชุมชน กรรมการชุมชน ผู้อยู่อาศัยในชุมชนเชื้อเพลิงพัฒนา เจ้าของที่ดิน ตลอดจนเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการจากการศึกษา สามารถแบ่งกระบวนการและพัฒนาการของการจัดการชุมชนเชื้อเพลิงพัฒนาได้เป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่1 ก่อนมีกรรมการชุมชน (ปีพ.ศ.2500-2522) มีการจัดการที่อยู่อาศัยเฉพาะในระดับครัวเรือน สภาพของชุมชนมีน้ำท่วมขัง ไม่มีทางเดินที่แข็งแรง ไม่มีสาธารณูปโภคพื้นฐานของรัฐได้แก่ ไฟฟ้า ประปา และโทรศัพท์ เนื่องจากที่ไม่มีการรวมกลุ่มของชาวชุมชน ทำให้ขาดแคลนทรัพยากรในการจัดการทั้งด้านเงิน วัสดุ และวิธีการ ระยะที่ 2 มีกรรมการชุมชนแบบไม่เป็นทางการ (ปีพ.ศ.2523-2527) มีการจัดการที่สำคัญเพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มของชาวชุมชนเพื่อเป็นตัวแทนชุมชนโดยองค์กรอนุเคราะห์เด็ก (เรด บาน่า) ทำให้มีเลขที่บ้าน ส่งผลให้เกิดการจัดการในด้านสภาพแวดล้อมและสาธารณูปโภคของชุมชนดีขึ้นได้แก่ มีทางเดินไม้ที่แข็งแรง มีไฟฟ้า มีโทรศัพท์ มีการระบายน้ำ โดยชาวชุมชนเป็นผู้มีส่วนร่วมในการจัดการชุมชนเกือบทุกเรื่อง นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ของชุมชนขึ้น แต่ยังคงมีปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรในการจัดการด้านวัสดุอุปกรณ์และเนื่องจากเป็นชุมชนบุกรุกทำให้แต่ละครัวเรือนขอรับบริการไฟฟ้า น้ำประปาจากรัฐได้ยาก ระยะที่ 3 มีกรรมการชุมชนแบบเป็นทางการ (ปีพ.ศ. 2528-2543) โดยได้รับการรับรองจากสำนักงานเขตยานนาวา ส่งผลให้มีการจัดการพัฒนาด้านกายภาพและสภาพแวดล้อมของชุมชนขึ้นกว่าเดิมได้แก่ การมีทางเดินคอนกรีต การมีน้ำประปาใช้ในแต่ละครัวเรือน มีการระบายน้ำที่ดีขึ้น การมีแสงสว่างในชุมชน การจัดตั้งศูนย์ดับเพลิง เนื่องจากกรรมการชุมชนซึ่งเป็นผู้มีส่วนร่วมในการจัดการชุมชนมากในระยะนี้มีประสบการณ์มากขึ้นสามารถติดต่อกับหน่วยงานต่างๆ ได้สะดวกขึ้นแต่ปรากฏว่าชาวชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการน้อยลง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการพัฒนาชุมชนเชื้อเพลิงพัฒนาคือ การรวมกลุ่ม การมีส่วนร่วม และความเข้มแข็งของชุมชนรวมถึงการจัดตั้งคณะกรรมการชุมชน โดยความช่วยเหลือขององค์กรอนุเคราะห์เด็ก (เรด บานา) ที่เป็นผู้กระตุ้นให้ชาวชุมชนรวมตัวกันในปีพ.ศ. 2523 โดยใช้วิธีพบปะพูดคุย ให้ความรู้กับชาวชุมชน ให้ชาวชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการพัฒนาชุมชนของตนเอง ทำให้เห็นว่าชาวชุมชนจัดการตนเองได้ เมื่อองค์กรของรัฐและเอกชนให้การสนับสนุนแม้เพียงบางส่วน โดยเฉพาะเจ้าของที่ดินที่ต้องการมีมาตรการที่ชัดเจนในการจัดการกับชุมชนที่บุกรุกเข้ามาอยู่อาศัยในที่ดินของตน
Abstract: Squatter communities are among major problems of the Bangkok Metropolitan area. In fact, there are as many as 770 such communities with a steadily increasing trend. Yannawa, an inner city district, has had the largest number of these communities spring up, 35 since 1957. Currently, Yannawa is one of the three districts that have been defined as new major central business districts of BMA. Based on the policy, the Department of Housing approved three theses study on the management of 3 types of the slum community in Yannawa this year; (1) slum communities established on temple land, (2) slum communities on private land under rental agreement and (3) this research, to study squatter communities on encroached government land. Chuerplerng Pattana Community, an oldest squatter community residing on Treasury Department land, and Yannawa District's largest community of this type, was selected as the case study. The research objectives, are to study the development, problems and restrictions in the management and development process of the Chuerplerng Pattana Community from its beginning until the present. The method of research was to gather secondary data from relevant documents while primary data was collected through a site survey, observations and interviews with the community president, board members and residents as well as officials from relevant government and non-government organizations. The research found that the management and development of Chuerplerng Pattana Community can be divided into three periods. First period was prior the establishment of a community board (1967-1980) Housing management was only within the housing unit level by each of its resident, not in the community level. As a result, there were regular floods, no permanent walkways, no utilities-such as electricity, water system and telephones. Furthermore, arising from being without community organization, management resources were difficult to acquire. Those are money, materials and management. Second period (1981-1984) was establishment of informal community board. Involvement of Redd Barna, a children's assistance organization, led to the registration of housing unit and the improvement of community conditions and environment, construction of permanent wooden walkways, installation of electricity and public water system. Community members were able to participate in most community actions. At the same time; community savings cooperative was founded. Problems existed was that the community was still a squatter. Therefore, acquisition of public utilities was difficult. Moreover, management resources were insufficient. Third period was after the formation of a community board (1985-2000), recognized by the Yannawa Municipality. This allowed further development of community conditions and environment. For example, permanent concrete walkways, water system in each housing unit, well-maintained drainage and lighting system, and accessible fire fighting center. The community board was highly active in Chuerplerng Pattana community management. It well connected with public and private agencies. However, community member's actions declined. After analyzing the management and development process, It can be concluded that the key factor of the management and development process of Chuerplerng Pattana community is the cooperation, participation, and strength of community member, as well as establishment of community board. With the involvement of Redd Barna, the community was stimulated to unite in 1980. It is obviously clear that self-community management can be motivated and directed within community itself when they have a little assistance from either government organization or private.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักงานวิทยทรัพยากร
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: cuir@car.chula.ac.th
Role: ที่ปรึกษา
Role: ที่ปรึกษา
Created: 2544
Modified: 2560-03-07
Issued: 2560-03-06
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
tha
Descipline: เคหการ
©copyrights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
RightsAccess:
ลำดับที่.ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูลจำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด
1 sakonsuk.pdf 3.86 MB19 2022-08-24 16:34:00
ใช้เวลา
0.023315 วินาที

สกนธ์ศุข มงคลสมัย
กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์
Title Creator Type and Date Create
รูปแบบที่อยู่อาศัยและการอยู่อาศัยในชุมชนคลองบางน้อยนอก ตำบลกระดังงา อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์ ;ชวลิต นิตยะ
จาราภิวันท์ ทวีสิทธิ์
วิทยานิพนธ์/Thesis
ทางเลือกในการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยในชุมชนบางน้อยนอก อ. บางคนที จ.สมุทรสงคราม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์ ;ชวลิต นิตยะ
สมปอง จึงสุทธิวงค์
วิทยานิพนธ์/Thesis
การจัดการชุมชนแออัดประเภทเช่า กรณีชุมชนวัดช่องลม เขตยานนาวา / พงษ์ศักดิ์ บุญกล่อมจิตร
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์ ;ปรีดิ์ บุรณศิริ
พงษ์ศักดิ์ บุญกล่อมจิตร
วิทยานิพนธ์/Thesis
การจัดการชุมชนแออัดประเภทบุกรุก กรณีชุมชนเชื้อเพลิงพัฒนา เขตยานนาวา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์ ;ปรีดิ์ บุรณศิริ
สกนธ์ศุข มงคลสมัย
วิทยานิพนธ์/Thesis
รูปแบบการอยู่อาศัยชุมชนไทยเชื้อสายมอญบางกระดี่ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์ ;อมรา พงศาพิชญ์
นพดล ฐิติพงษ์พานิช
วิทยานิพนธ์/Thesis
ปรีดิ์ บุรณศิริ
Title Creator Type and Date Create
การใช้พื้นที่และองค์ประกอบของหน่วยที่อยู่อาศัย ในชุมชนแออัด เขตเมืองชั้นใน กรุงเทพมหานค
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปรีดิ์ บุรณศิริ;กุณฑลทิพย์ พานิชภักดิ์
เอกชัย ชูสังข์
วิทยานิพนธ์/Thesis
รูปแบบที่อยู่อาศัยและการเงินเคหการระดับครัวเรือนของผู้อยู่อาศัย ในกำแพงนครเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชวลิต นิตยะ;ปรีดิ์ บุรณศิริ
พิสิฐ สีหราช
วิทยานิพนธ์/Thesis
การใช้องค์ประกอบชุมชนของชุมชนแออัด เขตเมืองชั้นใน กรุงเทพมหานคร
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์;ปรีดิ์ บุรณศิริ
สุพินดา ตั้งรุ่งเรืองอยู่
วิทยานิพนธ์/Thesis
การเปรียบเทียบวินัยในการผ่อนชำระหนี้เพื่อที่อยู่อาศัย ระหว่างลูกค้าธนาคารอาคารสงเคราะห์ที่ซื้อบ้านของการเคหะแห่งชาติกับโครงการเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปรีดิ์ บุรณศิริ;กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์
ธัญญพงศ์ พลชำนิ
วิทยานิพนธ์/Thesis
การเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยในเมืองใหม่บางพลี ในวาระที่ 1 จังหวัดสมุทรปราการ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์;ปรีดิ์ บุรณศิริ
วินิตย์ แก้วหนูนวล
วิทยานิพนธ์/Thesis
แนวทางการประเมินมูลค่าที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยสำหรับการจัดรูปแปลงที่ดินใหม่ : กรณีศึกษาโครงการนำร่องในเขตกรุงเทพมหานคร
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์;ปรีดิ์ บุรณศิริ
อภิชาติ โมฬีชาติ
วิทยานิพนธ์/Thesis
การใช้พื้นที่ในหน่วยพักอาศัย ในเคหะชุมชนดินแดง กรุงเทพมหานคร
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์;ปรีดิ์ บุรณศิริ
มูฮำมัดรอโซ มาหิเละ
วิทยานิพนธ์/Thesis
การจัดให้มีที่จอดรถและการใช้พื้นที่จอดรถในโครงการบ้านเอื้ออาทร บึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์;ปรีดิ์ บุรณศิริ
คำแหง ทองอินทร์
วิทยานิพนธ์/Thesis
พัฒนาการรูปแบบอาคารที่อยู่อาศัยตามแนวราบในเคหะชุมชนของการเคหะแห่งชาติระหว่างปี 2516-2549 : กรณีศึกษาที่อยู่อาศัยสำหรับกลุ่มระดับรายได้ ก. เช่า-ซื้อ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สุปรีชา หิรัญโร;ปรีดิ์ บุรณศิริ
สรวุฒิ อัครวัชรางกูร
วิทยานิพนธ์/Thesis
แนวทางการแก้ไขปัญหาอาคารคงเหลือที่ก่อสร้างแล้วเสร็จในโครงการบ้านเอื้ออาทร : กรณีศึกษาโครงการบ้านเอื้ออาทรสมุทรปราการ 1
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์;ปรีดิ์ บุรณศิริ
กิตติมา รุ่งกระจ่าง
วิทยานิพนธ์/Thesis
การศึกษาและวิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการผังเมือง การควบคุมการใช้ที่ดินและอาคารสำหรับพัฒนาชุมชนแออัดในกรุงเทพมหานคร
มหาวิทยาลัยมหิดล
ธนากร อ้วนอ่อน;ปรีดิ์ บุรณศิริ;โสภณ ชัยสุวรรณ;พิสิฐ ศุกรียพงศ์
ศิริโรจน์ ชาวปากน้ำ
วิทยานิพนธ์/Thesis
การติดตามการดำเนินการแก้ปัญหาบ้านเอื้ออาทรของการเคหะแห่งชาติ ระหว่างปี 2546-2552: กรณีศึกษาบ้านเอื้ออาทร มิตรไมตรี (หนองจอก)
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์; ปรีดิ์ บุรณศิริ
พรทิพย์ ดวงวัง
วิทยานิพนธ์/Thesis
การอุดหนุนที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย : กรณีศึกษาการอุดหนุนผ่านการเคหะแห่งชาติ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์;ปรีดิ์ บุรณศิริ
เสรี รณรงค์
วิทยานิพนธ์/Thesis
ผลของการวางผังอาคารพักอาศัยในโครงการอาคารชุดบ้านเอื้ออาทรแบบกลุ่มอาคารและแบบเรียงขนานที่มีต่อผู้อยู่อาศัย : กรณีศึกษา โครงการบ้านเอื้ออาทรรามอินทรา(คู้บอน) และโครงการบ้านเอื้ออาทรสมุทรปราการ 1
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์;ปรีดิ์ บุรณศิริ
อังคาร ศักรานุกิจ
วิทยานิพนธ์/Thesis
การจัดให้มีที่จอดรถและการใช้พื้นที่จอดรถในโครงการบ้านเอื้ออาทรบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์;ปรีดิ์ บุรณศิริ
คำแหง ทองอินทร์
วิทยานิพนธ์/Thesis
แนวทางการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการจัดทำแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : กรณีศึกษาเทศบาลนครสมุทรสาคร
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์;ปรีดิ์ บุรณศิริ
อภิรุณ ไกรวงศ์
วิทยานิพนธ์/Thesis
ผู้อยู่อาศัยกับทางเลือกในการพัฒนาที่อยู่อาศัยบนที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ : กรณีศีกษาชุมชนสุโขทัย ซอย 9 เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์;ปรีดิ์ บุรณศิริ
อิทธิกร อรุโณรัตน์
วิทยานิพนธ์/Thesis
การติดตามผลการดำเนินงานโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง กรุงเทพมหานคร
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
;กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์;ปรีดิ์ บุรณศิริ
สงกรานต์ อนันตภักดิ์
วิทยานิพนธ์/Thesis
ความเชื่อมโยงระหว่างอาชีพกับแหล่งที่อยู่อาศัยในชุมชนบนพื้นที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ : กรณีศึกษา ชุมชนรุ่งมณีพัฒนา เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
;กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์;ปรีดิ์ บุรณศิริ
อัญชลี เงินโพธิ์
วิทยานิพนธ์/Thesis
ศักยภาพของชุมชนในการฟื้นฟูชุมชนที่อยู่อาศัย : กรณีศึกษา ชุมชนซอยวัดหลังบ้าน เทศบาลเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
;กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์;ปรีดิ์ บุรณศิริ
ธีระ แก่งทองหลาง
วิทยานิพนธ์/Thesis
ผลของการวางผังและออกแบบโครงการบ้านจัดสรรที่มีต่อผู้อยู่อาศัย : กรณีศึกษา โครงการบ้านสวนริมคลองบางมด และโครงการบ้านสวนริมคลองกรุงเทพกรีฑา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์; ปรีดิ์ บุรณศิริ
นฤมล สกุลสอน
วิทยานิพนธ์/Thesis
การจัดการความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ในการควบคุมงานก่อสร้างอาคารพักอาศัยของการเคหะแห่งชาติ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
;กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์;ปรีดิ์ บุรณศิริ
ปฏิภาน จิตรฐาน
วิทยานิพนธ์/Thesis
การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานบริหารจัดการชุมชนในโครงการบ้านเอื้ออาทร : กรณีศึกษาโครงการบ้านเอื้ออาทรพุทธมณฑล สาย 4 โครงการบ้านเอื้ออาทรพุทธมณฑล สาย 5 และโครงการบ้านเอื้ออาทรพุทธมณฑล สาย 5 (อ้อมน้อย) จังหวัดนครปฐม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
;กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์;ปรีดิ์ บุรณศิริ
โสภาพร ร่มพูลทอง
วิทยานิพนธ์/Thesis
กระบวนการการประสานประโยชน์ทางที่ดิน : กรณีศึกษาชุมชนเซ่งกี่
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์;ปรีดิ์ บุรณศิริ
ปริญญา มรรคสิริสุข
วิทยานิพนธ์/Thesis
ผลกระทบที่เกิดกับผู้อยู่อาศัยที่มีรายได้น้อยเมื่อภาษีทรัพย์สินมีผลบังคับใช้ : กรณีศึกษาโครงการเมืองใหม่บางพลี ในเขตเทศบาลตำบลบางเสาธง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บัณฑิต จุลาสัย;ปรีดิ์ บุรณศิริ
ทศพร ช่วยเจริญ
วิทยานิพนธ์/Thesis
พัฒนาการของนโยบายการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยในชุมนนแออัดคลองเตย กรุงเทพมหานคร
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์;ปรีดิ์ บุรณศิริ
วัชรพล ตั้งกอบลาภ
วิทยานิพนธ์/Thesis
การจัดการชุมชนแออัดประเภทเช่า กรณีชุมชนวัดช่องลม เขตยานนาวา / พงษ์ศักดิ์ บุญกล่อมจิตร
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์ ;ปรีดิ์ บุรณศิริ
พงษ์ศักดิ์ บุญกล่อมจิตร
วิทยานิพนธ์/Thesis
การจัดการชุมชนแออัดประเภทบุกรุก กรณีชุมชนเชื้อเพลิงพัฒนา เขตยานนาวา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์ ;ปรีดิ์ บุรณศิริ
สกนธ์ศุข มงคลสมัย
วิทยานิพนธ์/Thesis
การจัดการชุมชนที่อยู่อาศัยย่านวัดอนงคาราม ในที่ธรณีสงฆ์วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปรีดิ์ บุรณศิริ;กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์
ปิยวิทย์ วิภูศิริ
วิทยานิพนธ์/Thesis
การติดตามการดำเนินงานโครงการเคหะชุมชนของรัฐ : กรณีศึกษาโครงการฟื้นนครฉลองกรุง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
;บัณฑิต จุลาสัย;ปรีดิ์ บุรณศิริ
วิทยา อริยะสุนทร
วิทยานิพนธ์/Thesis
การจัดการชุมชนที่อยู่อาศัยในที่ดินของวัดช่องนนทรี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์;ปรีดิ์ บุรณศิริ
สภาว์ รอดเรือง
วิทยานิพนธ์/Thesis
เกณฑ์การคัดเลือกผู้ได้รับสิทธิโครงการบ้านเอื้ออาทรกับความสามารถในการผ่อนชำระหนี้เพื่อที่อยู่อาศัย : กรณีศึกษา ลูกค้าโครงการบ้านเอื้ออาทร บางโฉลง 1 จังหวัดสมุทรปราการ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์;ปรีดิ์ บุรณศิริ
วิสุทธิดา นครชัย
วิทยานิพนธ์/Thesis
สถาบันเงินออมและเงินกู้เพื่อการเคหสงเคราะห์ในประเทศไทย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Anchalee Yossundara;ปรีดิ์ บุรณศิริ
อัญชลี ยศสุนทร
วิทยานิพนธ์/Thesis
พัฒนาการการก่อสร้างที่อยู่อาศัยด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปของการเคหะแห่งชาติ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์;ปรีดิ์ บุรณศิริ
วิวัฒน์ เชาวน์เรศ
วิทยานิพนธ์/Thesis
มาตรฐานเนื้อที่ทำงานของสำนักงานราชการ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เฉลิม สุจริต;ปรีดิ์ บุรณศิริ
ตวงพร วัฒนวงษ์ศรี
วิทยานิพนธ์/Thesis
การศึกษาระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปเฟอร์โรซีเมนต์สำหรับอาคาร ที่พักอาศัยแนวราบ : กรณีศึกษาแบบอาคารที่พักอาศัยแนวราบ ของการเคหะแห่งชาติ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
;ฐานิศวร์ เจริญพงศ์;ปรีดิ์ บุรณศิริ
สัมภาษณ์ ชนานิยม
วิทยานิพนธ์/Thesis
Copyright 2000 - 2025 ThaiLIS Digital Collection Working Group. All rights reserved.
ThaiLIS is Thailand Library Integrated System
สนับสนุนโดย สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
328 ถ.ศรีอยุธยา แขวง ทุ่งพญาไท เขต ราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร. โทร. 02-232-4000
กำลัง ออน์ไลน์
ภายในเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 47
ภายนอกเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 3,601
รวม 3,648 คน

More info..
นอก ThaiLIS = 94,183 ครั้ง
มหาวิทยาลัยสังกัดทบวงเดิม = 96 ครั้ง
มหาวิทยาลัยราชภัฏ = 54 ครั้ง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล = 15 ครั้ง
มหาวิทยาลัยเอกชน = 15 ครั้ง
สถาบันพระบรมราชชนก = 12 ครั้ง
มหาวิทยาลัยสงฆ์ = 1 ครั้ง
หน่วยงานอื่น = 1 ครั้ง
รวม 94,377 ครั้ง
Database server :
Version 2.5 Last update 1-06-2018
Power By SUSE PHP MySQL IndexData Mambo Bootstrap
มีปัญหาในการใช้งานติดต่อผ่านระบบ UniNetHelp


Server : 8.199.136
Client : Not ThaiLIS Member
From IP : 216.73.216.180