แจ้งเอกสารไม่ครบถ้วน, ไม่ตรงกับชื่อเรื่อง หรือมีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับเอกสาร ติดต่อที่นี่ ==>
หากไม่มีอีเมลผู้รับให้กรอก thailis-noc@uni.net.th ติดต่อเจ้าหน้าที่เจ้าของเอกสาร กรณีเอกสารไม่ครบหรือไม่ตรง

การเปรียบเทียบพฤติกรรมและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างกลุ่มเรียนโดยการประเมินผลระหว่างเรียนและประเมินผลสรุปรวม.
The comparison of behaviors and learning achievement between study group by formative evaluation and summative evaluation.

Organization : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. คณะเศรษฐศาสตร์.
ThaSH: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน -- วิจัย.
Classification :.DDC: 378.1793
ThaSH: พฤติกรรมการเรียน -- การศึกษาเฉพาะกรณี.
Abstract: การวิจัยในชั้นเรียนครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ (1) เพื่อแจกแจงพฤติกรรมการทำการบ้านวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจของผู้เรียน (2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางเศรษฐศาสตร์ (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง พฤติกรรมการทำการบ้าน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางเศรษฐศาสตร์ (4) เพื่อวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมระหว่างพฤติกรรมการทำการบ้าน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางเศรษฐศาสตร์ โดยพฤติกรรมการทำการบ้านประกอบด้วย การส่งการบ้านตรงเวลา ความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการทำงานและความถูกต้องในการตอบคำถาม สำหรับทักษะกระบวนการทางเศรษฐศาสตร์ ประกอบด้วยทักษะการปฏิบัติงาน ทักษะการจัดการและกระบวนการทำงานกลุ่ม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 กลุ่มเรียน 005 และกลุ่มเรียน 009 สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบฝึกหัดวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจตั้งแต่บทที่ 1 ถึงบทที่ 11 ข้อสอบกลางภาคและข้อสอบปลายภาค แบบประเมินพฤติกรรมการทำการบ้านด้านการส่งตรงเวลา ความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการทำงานและความถูกต้องในการทำการบ้าน และแบบวัดเจตคติที่มีต่อวิชาเศรษฐศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ANCOVA) ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งมีพฤติกรรมการทำการบ้านอยู่ในระดับดีขึ้นไป ส่วนพฤติกรรมย่อยที่ต้องปรับปรุงแก้ไขคือ การส่งการบ้านตรงเวลา 2. ผลการวิเคราะห์พฤติกรรมในการส่งการบ้านตรงเวลาทั้ง 2 กลุ่ม มีพฤติกรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยกลุ่ม 005 มีพฤติกรรมที่ส่งการบ้านตรงเวลามากกว่า ส่วนพฤติกรรมด้านความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการทำงานและความถูกต้องในการตอบคำถามทั้งสองกลุ่มมีพฤติกรรมไม่แตกต่างกัน ในส่วนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางการเรียนทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการทำการบ้าน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางเศรษฐศาสตร์ มีความสัมพันธ์กันที่ระดับนัยสำคัญ .01 ทุกคู่ของความสัมพันธ์ 4. ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมระหว่างตัวแปรพฤติกรรมการทำการบ้าน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและกระบวนการทางเศรษฐศาสตร์ ผลการวิเคราะห์พบว่าทั้งกลุ่ม 005 และกลุ่ม 009 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางเศรษฐศาสตร์ขึ้นอยู่กับการทำการบ้านถูกต้อง เมื่อได้ขจัดตัวแปรเจตคติที่มีต่อวิชาเศรษฐศาสตร์ออกไป ส่วนการส่งการบ้านตรงเวลาและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการทำงานไม่มีผลต่อคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางเศรษฐศาสตร์ เมื่อขจัดตัวแปรเจตคติที่มีต่อวิชาเศรษฐศาสตร์ออกไป 5. ผลการวิเคราะห์เจตคติที่มีต่อวิชาเศรษฐศาสตร์ ส่วนใหญ่เห็นด้วยในประเด็นการหาความรู้เศรษฐศาสตร์เพิ่มเติม เรียนเศรษฐศาสตร์แล้วสนุก เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ท้าทายมีประโยชน์ ในส่วนที่ไม่แน่ใจ ได้แก่ ติดตามผลงานคนเก่งเศรษฐศาสตร์ ชอบทำโจทย์เศรษฐศาสตร์ ใช้เวลาว่างซักถามเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ ในภาพรวมมีความเห็นด้วย เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของทั้ง 2 กลุ่ม ก็มีเจตคติที่มีต่อวิชาเศรษฐศาสตร์ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. ศูนย์สนเทศและหอสมุด.
Address: กรุงเทพมหานคร.
Email: library@dpu.ac.th
Role: ผู้ให้ทุนวิจัย.
Created: 2555
Modified: 2559-09-19
Issued: 2559-09-19
งานวิจัย/Research report
application/pdf
CallNumber: 378.1793 ช761ก
tha
©copyrights มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
RightsAccess:
ลำดับที่.ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูลจำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด
1 Cover.pdf 847.95 KB43 2025-06-30 15:42:30
2 ABS.pdf 726.38 KB34 2025-06-30 15:45:12
3 Chap_1.pdf 781.24 KB25 2025-06-30 15:40:08
4 Chap_2.pdf 1.17 MB49 2024-08-06 23:21:59
5 Chap_3.pdf 699.67 KB29 2024-08-06 23:33:37
6 Chap_4.pdf 959.31 KB26 2024-08-06 23:34:09
7 Chap_5.pdf 681.14 KB20 2023-07-19 16:24:32
8 App-bip.pdf 731.22 KB26 2025-06-30 15:42:19
9 App.pdf 834.5 KB15 2023-07-19 16:25:09
10 Vita.pdf 700.36 KB21 2023-07-19 16:25:26
ใช้เวลา
0.305491 วินาที

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
Title Creator Type and Date Create
การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเรียนในระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ธันยากร ช่วยทุกข์เพื่อน
งานวิจัย/Research report
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
นิสรา ใจซื่อ
งานวิจัย/Research report
ข้อดีและข้อเสียของความร่วมมือทางกฎหมายภาษีของประเทศไทยกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย : ศึกษากรณีการลดภาษีศุลกากรตามข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนต่อการค้าสินค้า
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
จิรศักดิ์ รอดจันทร์
งานวิจัย/Research report
การหาความสัมพันธ์ระหว่างปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาจากเอกสารภาษาไทยบนเว็บบอร์ด.
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ฉวีวรรณ เพ็ชรศิริ
อรอุมา มูลวัตร
งานวิจัย/Research report
การศึกษาปัจจัยด้านจิตพิสัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ในรายวิชาคณิตศาสตร์และสถิติในชีวิตประจำวัน สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
เฉลิมสิน สิงห์สนอง.
งานวิจัย/Research report
ความสามารถของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในการปฏิบัติตามมาตรฐานการควบคุมคุณภาพ.
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
เพ็ญธิดา พงษ์ธานี.
งานวิจัย/Research report
การเปรียบเทียบพฤติกรรมและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างกลุ่มเรียนโดยการประเมินผลระหว่างเรียนและประเมินผลสรุปรวม.
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
เชียง เภาชิต.
งานวิจัย/Research report
Beauty Surgery by Johnny (แผนธุรกิจ)
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ
Wang Zhenghong
วิทยานิพนธ์/Thesis
Copyright 2000 - 2025 ThaiLIS Digital Collection Working Group. All rights reserved.
ThaiLIS is Thailand Library Integrated System
สนับสนุนโดย สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
328 ถ.ศรีอยุธยา แขวง ทุ่งพญาไท เขต ราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร. โทร. 02-232-4000
กำลัง ออน์ไลน์
ภายในเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 2
ภายนอกเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 1,070
รวม 1,072 คน

More info..
นอก ThaiLIS = 76,787 ครั้ง
มหาวิทยาลัยสังกัดทบวงเดิม = 45 ครั้ง
มหาวิทยาลัยราชภัฏ = 1 ครั้ง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล = 1 ครั้ง
รวม 76,834 ครั้ง
Database server :
Version 2.5 Last update 1-06-2018
Power By SUSE PHP MySQL IndexData Mambo Bootstrap
มีปัญหาในการใช้งานติดต่อผ่านระบบ UniNetHelp


Server : 8.199.134
Client : Not ThaiLIS Member
From IP : 216.73.216.208