แจ้งเอกสารไม่ครบถ้วน, ไม่ตรงกับชื่อเรื่อง หรือมีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับเอกสาร ติดต่อที่นี่ ==>
หากไม่มีอีเมลผู้รับให้กรอก thailis-noc@uni.net.th ติดต่อเจ้าหน้าที่เจ้าของเอกสาร กรณีเอกสารไม่ครบหรือไม่ตรง

รูปแบบการดาเนินชีวิตของนักท่องเที่ยวในภาคใต้
Lifestyles of Tourists in the Southern Thailand

keyword: นักท่องเที่ยว ไทย (ภาคใต้) การดำเนินชีวิต
Classification :.LCCS: G155.T5 ว4ร 2556
; รูปแบบการดำเนินชีวิต
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการดาเนินชีวิตของนักท่องเที่ยวในภาคใต้ในมุมมองด้านกิจกรรม ด้านความสนใจ และด้านความคิดเห็น และ 2) จาแนกกลุ่มนักท่องเที่ยวในภาคใต้ที่มีรูปแบบการดาเนินชีวิตที่แตกต่างกัน โดยปรับใช้แนวทางการวัดรูปแบบการดาเนินชีวิตแบบ AIOs มาเป็นแนวทางของกรอบแนวคิดในการศึกษาครั้งนี้ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมจากข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติใน 2 จังหวัดที่เป็นตัวแทนด้านการท่องเที่ยวจากทั้ง 2 ฝั่งสมุทร โดยให้จังหวัดภูเก็ตเป็นตัวแทนของทางฝั่งทะเลอันดามัน และให้จังหวัดสุราษฎร์ธานี (เกาะ สมุย) เป็นตัวแทนของทางฝั่งทะเลอ่าวไทย โดยมีจานวนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาจานวน 400 คน แบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างจากจังหวัดภูเก็ต จานวน 288 คน เป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย จานวน 52 คน และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จานวน 236 คน และเป็นกลุ่มตัวอย่างจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี (เกาะ สมุย) จานวน 112 คน เป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย จานวน 60 คน และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จานวน 52 คน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) และการวิเคราะห์จัดกลุ่ม (Cluster Analysis) มาใช้เป็นวิธีการหลักในการวิเคราะห์จัดกลุ่มนักท่องเที่ยวในภาคใต้ ผลการวิจัยพบว่า สามารถจัดกลุ่มนักท่องเที่ยวในภาคใต้ตามรูปแบบการดาเนินชีวิตได้ทั้งสิ้น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มหัวสมัยใหม่ นิยมเข้าสังคมและการสังสรรค์เฮฮา (Modern & Sociability) ส่วนใหญ่เป็นเพศชายและเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมาจากกลุ่มประเทศยุโรป อายุ 21-30 ปี มีรายได้ต่อเดือนค่อนข้างสูง คือ 100,001-300,000 บาทมากที่สุด รูปแบบการดาเนินชีวิตที่สาคัญของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ คือ เป็นกลุ่มที่ให้ความสาคัญกับความสนุกสนานและความสัมพันธ์ทางสังคม เน้นการเข้าสังคมและการสังสรรค์ปาร์ตี้กับเพื่อนฝูง ชอบการเที่ยวกลางคืน ให้ความสาคัญกับความสะดวกสบายและเทคโนโลยีที่ทันสมัย แต่ไม่สนใจวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ไม่ให้ความสาคัญกับวิถีชีวิตแบบเรียบง่ายและดั้งเดิม ไม่สนใจกิจกรรมแนวผจญภัยโลดโผนและการเที่ยวชมท้องถิ่น รวมถึงไม่สนใจกิจกรรมเชิงการศึกษาและการเรียนรู้ 2) กลุ่มนักอนุรักษ์นิยม (Conservative) กลุ่มนี้มีทั้งเพศชายและเพศหญิงในสัดส่วนเท่าๆกัน ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยในภาคใต้ อายุ 21-30 ปี มีรายได้ต่อเดือนน้อยที่สุดในบรรดาทั้งสี่กลุ่ม คือ 10,001-30,000 บาท รูปแบบการดาเนินชีวิตที่สาคัญของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ คือ ให้ความสาคัญกับวิถีชีวิตแบบเรียบง่ายและดั้งเดิม เน้นความเรียบง่ายและประหยัด ไม่เน้นความหรูหราใดๆ ไม่สนใจการท่องเที่ยวต่างประเทศ ไม่ชอบเที่ยวในตัวเมือง ไม่สนใจการสังสรรค์ปาร์ตี้และการเที่ยวกลางคืน ไม่ตามกระแสนิยม ไม่ให้ความสาคัญกับสถานภาพและภาพลักษณ์ภายนอก ไม่ชอบการผจญภัย แต่มีความสนใจกิจกรรมเชิงการศึกษาและการเรียนรู้และการเที่ยวชมท้องถิ่น 3) กลุ่มนักผจญภัย (Adventurer) เป็นกลุ่มที่มีจานวนมากที่สุดในบรรดาสี่กลุ่ม ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมาจากกลุ่มประเทศยุโรป และเป็นเพศชาย อายุ 21-30 ปี มีรายได้ต่อเดือน 100,001-300,000 บาทมากที่สุด รูปแบบการดาเนินชีวิตที่สาคัญของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ คือ ชอบการท่องเที่ยวควบคู่การทาภารกิจต่างๆ สนใจการผจญภัย ความตื่นเต้นท้าทายและการเรียนรู้ ชอบกิจกรรมที่มีความเสี่ยง และได้ใช้ความสามารถของร่างกายและจิตใจ ให้ความสาคัญกับสถานภาพและภาพลักษณ์ภายนอก และมีแรงจูงใจด้านความสาเร็จและทะเยอทะยาน 4) กลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม (Culture & Environment) เป็นกลุ่มที่มีทั้งเพศชายและเพศหญิงในสัดส่วนเท่าๆกัน โดยเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติทั้งหมด และส่วนใหญ่เดินทางมาจากกลุ่มประเทศยุโรป อายุ 21-30 ปี มีรายได้ต่อเดือน 70,001-100,000 บาทมากที่สุด รูปแบบการดาเนินชีวิตที่สาคัญของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ คือ สนใจวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการเที่ยวชมท้องถิ่น เน้นความเรียบง่ายและประหยัด แต่ไม่สนใจกิจกรรมเชิงการศึกษาและการเรียนรู้ ให้ความสาคัญกับความสนุกสนาน ความสัมพันธ์ทางสังคม และการสังสรรค์ปาร์ตี้ยามค่าคืน ตามกระแสนิยมของคนส่วนใหญ่ แต่ไม่สนใจกิจกรรมเชิงการศึกษาและการเรียนรู้ คาสาคัญ: รูปแบบการดาเนินชีวิต, AIOs, นักท่องเที่ยวในภาคใต้, พฤติกรรมนักท่องเที่ยว, จังหวัดภูเก็ต, จังหวัดสุราษฎร์ธานี (เกาะสมุย)
Abstract: This research aims to 1) study lifestyles of tourists in the Southern Thailand on their tourism activities, tourism interests, and opinions on tourism consumption, and 2) classify tourists in the Southern Thailand according to their different lifestyle. A conceptual framework of this research was adapted from a measure of lifestyle called “AIOs”, and applied a quantitative research method with questionnaires as a data collection instrument from both Thai and Foreign tourists in Phuket (Andaman Sea) and Ko Samui, Surattani (Gulf of Thailand). Participants or samples were 400 tourists; 288 persons from Phuket (52 for Thai and 236 for Foreigner), and 112 persons from Ko Samui, Surattani (60 for Thai and 52 for Foreigner). Factor analysis and Cluster analysis were used as the main technique methods in analysis and classifying tourists in the South of Thailand. Findings showed that lifestyles of tourists in the Southern Thailand were segmented into 4 groups; 1) Modern & Sociability; most tourists in this group are male foreign tourists that came from the European countries, and are at the age between 21-30 years old with quite high income per month between 100,001-300,000 THB mostly. Their significant lifestyles features are they give an important to enjoyment, pleasure, and social relation, love to socialize and party including nightlife activities, give an important to convenience, comfort, and modern technology. On the other hands, they don’t pay their interest in culture and environment, simply and classic lifestyles, including they don’t pay their interest in adventure activities, local visiting, and learning activities. 2) Conservative; this group consists of male and female equally and mostly are Thai tourists in the South of Thailand, at the age between 21-30 years old, with (3) least income per month among four groups between 10,001-30,000 THB mostly. Their significant lifestyles features are they give an important to simply and classic lifestyles, concentrate on simplicity and economy. They don’t concentrate on luxury, don’t pay an interest to abroad and city traveling, including party and nightlife activities. They don’t follow the trend, don’t give an important to status and appearance, don’t like adventure, but pay their interest in learning activities and local visiting. 3) Adventurer; this group consists of highest number among all four groups. They mostly are male foreign tourists that came from the European countries at the age between 21-30 years old with an income per month between 100,001-300,000 THB mostly. Their significant lifestyles features are they like traveling with missions, pay their interest in adventure, exciting, challenging, and learning, like to do risk activities that can use their body and mind ability, give an important to status and appearance, including they have motivation on achievement and ambition. 4) Culture & Environment; this group consists of male and female equally, and are foreign tourists totally. They mostly came from the European countries with the age between 21-30 years old with an income per month among four groups between 70,001-100,000 THB mostly. Their significant lifestyles features are they pay an interest in culture and environment, including ecotourism and local visiting. Moreover, they concentrate on simplicity and economy, give an important to enjoyment, pleasure, and social relation, love to party and do nightlife activities, including follow the trend, but don’t pay their interest in learning activities. Keyword: Lifestyles, AIOs, Tourists in the Southern Thailand, Tourism Behavior, Phuket Province, Surat Thani Province
WALAILAK UNIVERSITY. CENTER FOR LIBRARY RESOURCES AND EDUCATIONAL MEDIA
Address: NAKON SI THAMMARAT
Email: clm@wu.ac.th
Role: ประธานกรรมการที่ปรึกษา
Created: 2559
Modified: 2559-07-15
Issued: 2559-07-15
CallNumber: G155.T5 ว4ร 2556
tha
Descipline: Management
©copyrights
RightsAccess:
ลำดับที่.ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูลจำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด
1 Front page.pdf 173.09 KB45 2024-07-01 14:39:28
2 Abstract.pdf 206.8 KB32 2023-12-27 15:18:32
3 Chapter 1.pdf 231.27 KB41 2024-07-01 14:39:35
4 Chapter 2.pdf 1.15 MB50 2021-12-17 13:27:53
5 Chapter 3.pdf 413.79 KB29 2021-12-17 13:27:59
6 Chapter 4.pdf 1.51 MB36 2021-12-17 13:28:08
7 Chapter 5.pdf 403.41 KB28 2021-12-17 13:28:14
8 Bibliography.pdf 324.52 KB25 2021-12-17 13:28:21
9 Appendix.pdf 923.95 KB38 2024-12-04 13:39:27
10 CV.pdf 162.04 KB15 2021-12-17 13:28:35
ใช้เวลา
0.063653 วินาที

วรรณรดา ศรีมหาวโร
Title Contributor Type
รูปแบบการดาเนินชีวิตของนักท่องเที่ยวในภาคใต้
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
วรรณรดา ศรีมหาวโร
ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์
วิทยานิพนธ์/Thesis
ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์
Title Creator Type and Date Create
กลยุทธ์การตลาดสำหรับสินค้าเครื่องถม จังหวัดนครศรีธรรมราช
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์
ทิพวรรณ บัวแก้ว
วิทยานิพนธ์/Thesis
พฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศในจังหวัดสงขลา
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์
ชฎามาศ แก้วสุกใส
วิทยานิพนธ์/Thesis
พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในพื้นที่สามจังวหัดชายแดนภาคใต้
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์
ญาลดา พรประเสริฐ
วิทยานิพนธ์/Thesis
ศึกษาการเลี้ยงและการจัดทำแผนธุรกิจนกกระจอกเทศในประเทศไทย
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์
วิทัศน์ ศรีสุวรรณเกศ
วิทยานิพนธ์/Thesis
กลยุทธ์ทางการตลาดของผลิตภัณฑ์กลุ่มกาแฟในเขตภาคใต้
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์
สมหมาย หมื่นศรี
วิทยานิพนธ์/Thesis
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการออมของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูสุราษฎร์ธานี จำกัด
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์
ชฎาวัลย์ ชุมวรฐายี
วิทยานิพนธ์/Thesis
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการซื้อรถยนต์มือสองของผู้บริโภคในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์
สลักจินต์ เจริญสุข
วิทยานิพนธ์/Thesis
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเลือกใช้บริการธนาคารพาณิชย์ของประชาชน ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์
ปิยนันท์ ประยงค์
วิทยานิพนธ์/Thesis
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้ออาหารเสริมเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์
กนกรัตน์ พิชญานุพงศ์
วิทยานิพนธ์/Thesis
ปัจจัยที่ความสัมพันธ์กับการซื้อประกันรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ในอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์
ศุภกิจ เอื้อกฤดาธิการ
วิทยานิพนธ์/Thesis
การปรับปรุงกระบวนการให้บริการของศูนย์มะเร็งสุราษฏร์ธานี
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์
อนันต์ พงศ์ปรีชา
วิทยานิพนธ์/Thesis
แนวทางการรวมกลุ่มของผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ย่านลิเพาในจังหวัดนครศรีธรรมราช
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์
เอกพล สุดวิไล
วิทยานิพนธ์/Thesis
ความเชื่อเรื่องฮวงจุ้ยของผู้บริโภคในจังหวัดนครศรีธรรมราช
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์
ภานุวัตร ไวทยานุวัตติ
วิทยานิพนธ์/Thesis
พฤติกรรมการบริโภคความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของผู้บริโภค กรณีศึกษา นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์
ปิยะภา เชี่ยวสกุล
วิทยานิพนธ์/Thesis
พฤติกรรมการบริโภคสินค้าเกาหลีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดกระบี่
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์
อรวรรณ ชูประสิทธิ์
วิทยานิพนธ์/Thesis
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการซื้อบ้านเดี่ยวของผู้บริโภค ในเขตอาเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์
ปัทมาพร นาคฉายา
วิทยานิพนธ์/Thesis
รูปแบบการดาเนินชีวิตของนักท่องเที่ยวในภาคใต้
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์
วรรณรดา ศรีมหาวโร
วิทยานิพนธ์/Thesis
รูปแบบการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมของผู้บริโภค Generation Y ในภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์
พัฐชญาณ์ แซ่โง้ว
วิทยานิพนธ์/Thesis
การวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยแห่งความสำเร็จของโครงการก่อสร้างในพื้นที่ภาคใต้
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์
พชรพงศ์ ศรีรัตนพันธ์
Pacharapong Sreerattanapan
วิทยานิพนธ์/Thesis
รูปแบบการดำเนินชีวิตของนักท่องเที่ยวกลุ่ม Millennials ในประเทศไทย
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์
ลลิดา นวกิจไพฑูรย์
Lalida Navakijpatioon
วิทยานิพนธ์/Thesis
การสร้างอัตลักษณ์แบรนด์การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดพัทลุงอย่างยั่งยืน
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์
ณัฐธิดา สังข์ศรีสังข์
Nattida Sangsrisang
วิทยานิพนธ์/Thesis
กระบวนการสร้างวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่นนครศรีธรรมราชภายใต้แนวคิดการสร้างคุณค่าร่วมกัน
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์
ปาริฉัตร ศรีหะรัญ
Parichat Sriharan
วิทยานิพนธ์/Thesis
ภาพถ่ายสุราบายาในอดีต : การนำเสนอประวัติศาสตร์อาณานิคมในบริบทการท่องเที่ยว
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์
วิภาภรณ์ หุ้ยเวชศาสตร์.
วิทยานิพนธ์/Thesis
Copyright 2000 - 2025 ThaiLIS Digital Collection Working Group. All rights reserved.
ThaiLIS is Thailand Library Integrated System
สนับสนุนโดย สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
328 ถ.ศรีอยุธยา แขวง ทุ่งพญาไท เขต ราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร. โทร. 02-232-4000
กำลัง ออน์ไลน์
ภายในเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 0
ภายนอกเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 2,192
รวม 2,192 คน

More info..
Database server :
Version 2.5 Last update 1-06-2018
Power By SUSE PHP MySQL IndexData Mambo Bootstrap
มีปัญหาในการใช้งานติดต่อผ่านระบบ UniNetHelp


Server : 8.199.133
Client : Not ThaiLIS Member
From IP : 216.73.216.149