แจ้งเอกสารไม่ครบถ้วน, ไม่ตรงกับชื่อเรื่อง หรือมีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับเอกสาร ติดต่อที่นี่ ==>
หากไม่มีอีเมลผู้รับให้กรอก thailis-noc@uni.net.th ติดต่อเจ้าหน้าที่เจ้าของเอกสาร กรณีเอกสารไม่ครบหรือไม่ตรง

องค์ประกอบชนิดและการใช้ถิ่นที่อยู่ของกุ้งเคยสกุล Acetes บริเวณอ่าว เตล็ดใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช และผลของผู้ล่า (Secutor insidiator) ต่อการเลือกถิ่นที่อยู่ของกุ้งเคยชนิด Acetes japonicus
Species Composition, Habitat Uses of Acetes Shrimps at Talet Yai Bay, Nakhon Si Thammarat and the Influence of Predator (Secutor insidiator) on Habitat Selection of Acetes japonicus

keyword: Shrimp culture Nakhon Si Thammarat
; Shrimps Nakhon Si Thammarat
Abstract: ศึกษาองค์ประกอบชนิด ถิ่นที่อยู่อาศัยของกุ้งเคยสกุล Acetes บริเวณอ่าวเตล็ดใหญ่ อำเภอ ขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช บริเวณที่ทำการศึกษาประกอบด้วย 5 ถิ่นที่อยู่ ได้แก่ หญ้าทะเล พื้นที่ เป็นทราย พื้นที่เป็นทรายหยาบ ป่าชายเลนและบริเวณกลางอ่าว ทำการเก็บตัวอย่างช่วงเวลาน้ำขึ้น ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน โดยใช้ Acetes net ในแต่ละถิ่นที่อยู่จะทำการลากเครื่องมือด้วยเรือ ความเร็วเฉลี่ย 2.5 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นระยะทาง 100 เมตร ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ.2553 ถึง เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2554 ผลการศึกษาพบกุ้งเคยสกุล Acetes ทั้งหมด 4 ชนิด คือ A. japonicus, A. vulgaris, A. erythraeus และ A. indicus ช่วงเวลากลางวันพบกุ้งเคยน้อยกว่า ช่วงเวลากลางคืน ในช่วงเวลากลางคืนพบกุ้งเคยทั้ง 4 ชนิดในแต่ละถิ่นที่อยู่ โดยพบบริเวณพื้นที่เป็น ทรายหยาบมากที่สุด รองลงมาคือบริเวณป่าชายเลน กลางอ่าว พื้นที่เป็นทราย และหญ้าทะเล ตามลำดับ กุ้งเคยชนิด A. japonicus พบเป็นชนิดเด่นในทุกถิ่นที่อยู่ ปริมาณความชุกชุมของกุ้งเคย ระหว่างถิ่นที่อยู่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (x^2 = 48.579, p < 0.01) แต่ปริมาณ ความชุกชุมของกุ้งเคยระหว่างช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และช่วง เปลี่ยนแปลงลมมรสุม พบว่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ (x^2 = 48.579, p > 0.05) และพบกุ้งเคย หนาแน่นในช่วงเปลี่ยนแปลงลมมรสุมคือช่วงเดือนเมษายน จากการศึกษาอิทธิพลของปัจจัยแวดล้อม ที่มีอิทธิพลต่อกุ้งเคยแต่ละชนิดโดยวิธี Co-inertia Analysis พบว่าคลอโรฟิลด์ เอ ซึ่งเป็นอาหารของ กุ้งเคยและความเค็ม มีความสัมพันธ์กับกุ้งเคยชนิด A. japonicus และA. vulgaris ในทางกลับกัน พบว่า A. erythraeus และ A. indicus กลับไม่แสดงความสัมพันธ์กับปัจจัยแวดล้อมใดเลย การทดลองการเลือกถิ่นที่อยู่และผลของผู้ล่าต่อการเลือกถิ่นที่อยู่ของกุ้งเคยสกุล A. japonicus ทำการทดลองในบ่อซีเมนต์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร โดยทำการทดลอง ทั้งหมด 2 การทดลอง โดยทำการทดลองทั้งช่วงเวลากลางวันและกลางคืน การทดลองแรก แบ่ง ออกเป็น 2 การทดลองย่อย คือ การทดลองการเลือกถิ่นที่อยู่ซึ่งโครงสร้างของถิ่นที่อยู่มีความซับซ้อน ในแนวดิ่ง โดยจำลองถิ่นที่อยู่ 3 แบบ คือป่าชายเลน หญ้าทะเล และหิน โดยมีถิ่นที่อยู่ที่เป็นชุด ควบคุมคือพื้นที่เป็นทราย พบว่าช่วงเวลากลางวันจำนวนตัวเฉลี่ยในแต่ละถิ่นที่อยู่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ ( x^2 = 15.70, df = 3, p < 0.01) โดยกุ้งเคยเลือกถิ่นที่อยู่ที่เป็นพื้น ทรายมากที่สุด ส่วนช่วงเวลากลางคืนจำนวนตัวเฉลี่ยในแต่ละถิ่นที่อยู่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ( x^2 = 4.28, df = 3, p = 0.2332) ในการทดลองการเลือกถิ่นที่อยู่ซึ่งโครงสร้างของถิ่นที่อยู่มี ความซับซ้อนในแนวราบ จำลองถิ่นที่อยู่ 2 แบบ คือ พื้นที่เป็นโคลน พื้นที่เป็นทราย โดยมีพื้นที่ปูด้วย แผ่นยิปซัมเรียบเป็นชุดควบคุม พบว่าช่วงเวลากลางวันจำนวนตัวเฉลี่ยในแต่ละถิ่นที่อยู่มีความ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ ( x^2 = 20.35, df = 5, p < 0.01) กุ้งเคยเลือกถิ่นที่อยู่ที่ เป็นพื้นโคลนมากที่สุด แต่ในช่วงเวลากลางคืนกลับพบว่าจำนวนตัวเฉลี่ยในแต่ละถิ่นที่อยู่ไม่มีความ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( x^2 = 13.65, df = 5, p < 0.05) การทดลองตอนที่สอง คือ ผลของผู้ล่าต่อการเลือกถิ่นที่อยู่ของกุ้งเคยสกุล A. japonicus แบ่งออกเป็น 2 การทดลองย่อย โดยการทดลองแรกศึกษาผลของผู้ล่าต่อการเลือกถิ่นที่อยู่ของกุ้งเคย โดยกุ้งเคยตรวจสอบผู้ล่าโดยการสัมผัสทางเคมี (chemoreception) โดยใช้เมือกของปลาแป้น (Seggutor insidiator) ใส่ในบ่อทดลองเพื่อเป็นตัวแทนของผู้ล่า จำลองถิ่นที่อยู่ 5 แบบ คือ ป่าชาย เลน หญ้าทะเล หิน พื้นที่เป็นทราย และพื้นที่เป็นโคลน โดยมีพื้นทปีู่โดยยิปซัมแผ่นเรียบเป็นชุด ควบคุม พบว่าช่วงเวลากลางวันกุ้งเคยมีการเลือกถิ่นที่อยู่แตกต่างกันอย่างมีนัยยิ่งสำคัญทางสถิติ ( x^2= 20.35, df = 5, p < 0.01) โดยกุ้งเคยเลือกถิ่นที่อยู่ที่เป็นชุดควบคุมมากที่สุด รองลงมาคือหญ้า ทะเล พื้นที่เป็นโคลน พื้นที่เป็นทราย พื้นที่เป็นหิน และเลือกถิ่นที่อยู่ที่เป็นป่าชายเลนน้อยที่สุด ส่วน ช่วงเวลากลางคืนพบว่ากุ้งเคยเลือกถิ่นที่อยู่ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ( x^2= 13.65, df = 5, p < 0.05) แต่กลับเลือกถิ่นที่อยู่ที่เป็นป่าชายเลนมากที่สุดในช่วงเวลากลางคืน ส่วนพื้นที่เป็นทราย พื้นที่ปูด้วยยิปซัม พื้นที่เป็นโคลน หิน หญ้าทะเล พบว่าจำนวนตัวเฉลี่ยของกุ้งเคยไม่แตกต่างกัน ส่วน อีกการทดลองหนึ่งคือ ผลของผู้ล่าต่อการเลือกถิ่นที่อยู่ของกุ้งเคย โดยกุ้งเคยตรวจสอบผู้ล่าโดยการ มองเห็น โดยการใส่ปลาแป้นในกล่องพลาสติกใสไว้กลางบ่อทดลอง ซึ่งออกแบบบ่อทดลองแบบ เดียวกับการทดลองข้างต้น พบว่าทั้งช่วงเวลากลางวัน ( x^2 = 9.86, df = 5, p = 0.0794) และ กลางคืน ( x^2 = 3.70, df = 5, p = 0.5937) การเลือกถิ่นที่อยู่ของกุ้งเคยไม่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ
Abstract: Species composition and habitat use was studied from June 2010 to May 2011 at Talet Yai Bay, Khanom District, Nakhon Si Thammarat Province. Samplings were conducted in five habitats: Seagrass beds, Muddy flats, Coarse-sand flats, Mangroves and Open water. Acetes shrimps were collected by the Acetes net. The collections were done both in the daytime and at nighttime during high tide. Four species of Acetes were found: A. japonicus, A. erythraeus, A. vulgaris and A. indicus. The results indicated that more Acetes shrimps were collected at night than in the daytime. At night Acetes shrimps had their abundance was highest in coarse-sand flats, followed by mangroves, open water, muddy flats and seagrass beds respectively. A. japonicus was the predominant species in all habitats. Mean abundance of Acetes spp. showed highly significant differences between habitats (p < 0.01). In terms of temporal scale, the analysis of the mean abundance of Acetes spp. shows that they did not differ among monsoon seasons, northeast, inter-monsoon and southwest Z (p > 0.05). However, the mean abundance of Acetes was found highest during inter-monsoon season. According to the co-inertia analysis, the abundance of A. japonicus and A. vulgaris was found positive related to salinity and chlorophyll-a. On the other hand, A. erythraeus and A. indicus did not show relation to any of these environmental factors. Experiments on the habitat selection of A. japonicus were conducted in a concrete tank (1 meter diameter). Habitat selection of A. japonicus was studied at different levels of vertical in habitats and light intensities. The experimental tank was divided into four equal sections and one type of artificial habitats in each. These were: bare sand substratum, mangrove habitat (mangrove roots), seagrass habitat, and rocky habitat. The resulted showed that numbers of A. japonicus differed significantly among habitats in daylight (x^2 = 15.70, df = 3, p < 0.01). In contrast, there was no difference in selection between habitats by A. japonicus at night (x^2 = 4.28, df = 3, p = 0.2332). Habitat selection of A. japonicus on horizontal habitats and light intensities were conducted in the experimental tank divided into three equal sections, each provided with one of the following substratum: bare substratum (Yibsum sheet), sand habitat, muddy habitat. The numbers of A. japonicas were found significantly different among habitat types in daylight (x^2 = 9.57, df = 2, p < 0.01). At night there was no significant difference for selection between habitats by A. japonicus (x^2 = 3.26, df = 2, p = 0.1964). The effects of a predator on habitat selection of A. japonicas was tested by using mucus of Secutorr insidiator. This experiment was carried out in an experimental tank that was divided into 6 equal habitat sections. Artificial habitats were randomly assigned: bare substratum, mangrove habitat (mangrove root), seagrass habitat, rock habitat, sand habitat and muddy habitat. In daylight the presence of fish mucus affected significantly the habitat selection by A. japonicus (x^2 = 20.35, df = 5, p < 0.01). The result showed that shrimps significantly preferred bare substratum to vertically structured habitats. Fish mucus also significantly influenced the habitat selection of A. japonicus at night (x^2 = 13.65, df = 5, p < 0.05). A. japonicus showed highly significant preference for mangrove habitat over other habitats. In addition, the effect of predator detection by means of vision was demonstrated A. japonicus showed no preferential selection of habitats either by day or by night (day: x^2 = 9.86, df = 5, p = 0.0794), (night: x^2 = 3.70, df = 5, p = 0.5937) in response to the visual presence of a predator.
WALAILAK UNIVERSITY. CENTER FOR LIBRARY RESOURCES AND EDUCATIONAL MEDIA
Address: NAKON SI THAMMARAT
Email: clm@wu.ac.th
Role: Advisory Committee Chairman
Created: 2559
Modified: 2559-07-05
Issued: 2559-07-05
CallNumber: QL614.A1 U84 2012
tha
©copyrights
RightsAccess:
ลำดับที่.ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูลจำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด
1 Front page.pdf 62.13 KB15 2024-01-09 12:16:55
2 Abstract.pdf 81.93 KB13 2025-06-01 18:35:03
3 Chapter I.pdf 90.04 KB13 2023-06-27 15:34:18
4 Chapter II.pdf 274.98 KB27 2023-07-01 14:27:27
5 Chapter III.pdf 886.51 KB12 2025-06-07 14:30:51
6 Chapter IV.pdf 345.97 KB11 2022-05-17 13:54:20
7 Chapter V.pdf 19.89 KB7 2021-01-22 15:50:10
8 Chapter VI.pdf 14 KB7 2021-01-22 15:50:23
9 Bibliography.pdf 90.62 KB7 2021-01-22 15:50:36
10 CV.pdf 10.13 KB6 2021-01-22 15:50:51
ใช้เวลา
0.04069 วินาที

Copyright 2000 - 2025 ThaiLIS Digital Collection Working Group. All rights reserved.
ThaiLIS is Thailand Library Integrated System
สนับสนุนโดย สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
328 ถ.ศรีอยุธยา แขวง ทุ่งพญาไท เขต ราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร. โทร. 02-232-4000
กำลัง ออน์ไลน์
ภายในเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 0
ภายนอกเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 3,187
รวม 3,187 คน

More info..
Database server :
Version 2.5 Last update 1-06-2018
Power By SUSE PHP MySQL IndexData Mambo Bootstrap
มีปัญหาในการใช้งานติดต่อผ่านระบบ UniNetHelp


Server : 8.199.136
Client : Not ThaiLIS Member
From IP : 216.73.216.10