แจ้งเอกสารไม่ครบถ้วน, ไม่ตรงกับชื่อเรื่อง หรือมีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับเอกสาร ติดต่อที่นี่ ==>
หากไม่มีอีเมลผู้รับให้กรอก thailis-noc@uni.net.th ติดต่อเจ้าหน้าที่เจ้าของเอกสาร กรณีเอกสารไม่ครบหรือไม่ตรง

การศึกษาเปรียบเทียบการใช้กล้ามเนื้อหลักบริเวณแกนกลางลำตัวในการเต้นลีลาศประเภทละตินอเมริกันของนักกีฬาลีลาศสมัครเล่น
A COMPARATIVE STUDY OF THE CORE MUSCLE GROUP PERFORMANCE FOR LATIN AMERICAN DANCE IN THE AMATEUR SPORT DANCERS

ThaSH: กล้ามเนื้อ
ThaSH: นักลีลาศ
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการใช้กล้ามเนื้อหลักบริเวณแกนกลางลำตัวในการเต้นลีลาศประเภทละตินอเมริกัน 5 จังหวะพื้นฐานในนักกีฬาลีลาศมือสมัครเล่น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาลีลาศชายจำนวน 6 คน จากชมรมลีลาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2 คน สมาคมกีฬาลีลาศแห่งประเทศไทย 2 คน และเอื้อพันธ์แดนซ์สตูดิโอ 2 คน โดยทุกคนจะต้องมีความหนาของชั้นไขมันหน้าท้องไม่เกิน 20 มิลลิเมตร มีค่า BMI ระหว่าง 18-20 Kg/m2 และมีอายุระหว่าง 15-30 ปี นักกีฬาทุกคนจะติดขั้วอิเล็คโตรดที่ กล้ามเนื้อทั้ง 5 มัด (Transversus Abdominis , External Oblique , Internal Oblique , Rectus Abdominis , Erector Spinae) โดยนักกีฬาทุกคนจะต้องเต้นท่าที่เป็นพื้นฐานขั้นต้นในจังหวะ ชะช่า (Cha-cha) , แซมบ้า (Samba) , คิวบัน รัมบ้า (Cuban Rumba) , พาโซ โดเบล้ (Paso Doble) และ ไจว์ฟ (Jive) เรียงลำดับตามกฎและกติกาการแข่งขันจริง ของสมาคมกีฬาลีลาศประเทศไทย โดยมีระยะเวลาและเพลงที่ใช้ประกอบการเต้น เป็นเพลงที่มีความเร็วบีทของเพลงที่เท่ากันตามกฎของสมาคมฯเช่นกัน นำผลที่ได้จากนักกีฬาทั้ง 6 คนมาวิเคราะห์โดยใช้วิธีการทางสถิติแบบทดสอบฟรีดแมน (The Friedman Test) และเปรียบเทียบรายคู่แบบวิธีทดสอบแมนวิทนีย์ยู (The Mann-Whitney U Test) ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า มีความแตกต่างในการทำงานของกล้ามเนื้อ Rectus Abdominis กับกล้ามเนื้อ External Oblique ในจังหวะ Jive และแตกต่างกับกล้ามเนื้อ Internal Oblique , Transversus Abdominis และ Erector Spinae ในจังหวะ Rumba และ Jive อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปได้ว่า เนื่องจากการเต้นลีลาศในจังหวะ Rumba นักเต้นต้องให้ความสำคัญกับการเคลื่อนไหวของสะโพกเป็นหลัก ซึ่งเป็นผลมาจากการบิดลำตัวของกล้ามเนื้อ External Oblique และจากงานวิจัยยังพบว่า การเต้นลีลาศในจังหวะ Jive ให้ความสำคัญกับกล้ามเนื้อ Internal Oblique เป็นหลัก ดังนั้นกล้ามเนื้อ Rectus Abdominis จึงมีการทำงานที่แตกต่างกับกล้ามเนื้อมัดอื่นใน 2 จังหวะนี้ และในจังหวะอื่นกล้ามเนื้อทุกมัดมีการทำงานที่ไม่แตกต่างกัน
Abstract: The objective of this study was to compare the performance among core muscle group for Latin American dances in the amateur sport dancers. A population of dancers were six males, two subjects from Chulalongkorn University Dancesport Club , two subjects from Thailand Dance Sport Association and two subjects from Uapan Dance Studio. They were measured a skinfold thickness in the abdominal area and would not over 20 mm. Body Mass Index was between 18-20 Kg/m2 and also age between 15-30 years old. All subjects were placed the electrodes on his muscles ( i.e. Rectus Abdominis; RA , External Oblique; EO , Internal Oblique; IO , Transversus Abdominis; TA and Erector Spinae; ES ). In addition, they danced with the basically primary figures in Cha-cha , Samba , Cuban Rumba , Paso Doble and Jive which were sequenced from the rules of Thailand Dace Sport Association. Moreover, the period of time and the music of dancing were required as the rules of Thailand Dance Sport Association as well. The obtained data were analyzed and compared by The Friedman Test and The Mann-Whitney U Test by using test with a significant difference at 0.05 levels. The results of this study were as followed, there were significant difference among Rectus Abdominis and External Oblique in Jive. Furthermore, there was also difference from Internal Oblique , Transversus Abdominis and Erector Spinae in Rumba and Jive. The EMG values of these muscles were significant difference at 0.05 levels. Conclusion, due to Latin dance in Rumba, dancers have to concentrate with the movement of hips that caused by twisting core of body (External Oblique). These findings indicated that dancing in Jive have to concentrate with Internal Oblique. Therefore, the performance of Rectus Abdominis had a significant difference from the other muscle in these two rhythms. Eventually, there was no significant difference among muscles in the other rhythms.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักงานวิทยทรัพยากร
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: cuir@car.chula.ac.th
Role: ที่ปรึกษา
Role: ที่ปรึกษา
Created: 2557
Modified: 2559-04-20
Issued: 2559-04-20
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
tha
©copyrights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
RightsAccess:
ลำดับที่.ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูลจำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด
1 5478306839.pdf 3.38 MB193 2024-09-23 14:12:35
ใช้เวลา
0.02467 วินาที

เฉลิม ชัยวัชราภรณ์
Title Creator Type and Date Create
การพัฒนาแบบทดสอบการก้าวขึ้นลง เพื่อทำนายสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุดในนักกีฬาบาสเกตบอลชาย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เฉลิม ชัยวัชราภรณ์ ;อรอนงค์ กุละพัฒน์
วรรณวิสา บุญมาก
วิทยานิพนธ์/Thesis
การศึกษาเปรียบเทียบการใช้กล้ามเนื้อหลักบริเวณแกนกลางลำตัวในการเต้นลีลาศประเภทละตินอเมริกันของนักกีฬาลีลาศสมัครเล่น
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เฉลิม ชัยวัชราภรณ์ ;จิตอนงค์ ก้าวกสิกรรม
เฉลิมพล น้อยอิ่ม
วิทยานิพนธ์/Thesis
การศึกษาโมเดลตำแหน่งจุดกระทบบนเอ็นหน้าไม้เทนนิสที่ทำให้เกิดความเร็วสูงสุดในการเสิร์ฟลูกแฟล็ทของนักกีฬาเยาวชนชายทีมชาติ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เฉลิม ชัยวัชราภรณ์ ;ศิลปชัย สุวรรณธาดา
ชัยสิทธิ์ ภาวิลาส
วิทยานิพนธ์/Thesis
การเปรียบเทียบสัมฤทธิผลทางการเรียนวิชาพลศึกษาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่มีบุคลิกภาพแบบเก็บตัวและแบบแสดงตัว
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เฉลิม ชัยวัชราภรณ์ ;พรรณราย ทรัพยะประภา
บุญทัน ม่วงชื่น
วิทยานิพนธ์/Thesis
จิตอนงค์ ก้าวกสิกรรม
Title Creator Type and Date Create
การวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อของการฝึกคอนเซ็นตริกควบคู่กับการฝึกเอ็คเซ็นตริกและการฝึกเอ็คเซ็นตริก โดยใช้ระยะเวลาพักที่แตกต่างกัน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชนินทร์ชัย อินทิราภรณ์;จิตอนงค์ ก้าวกสิกรรม
ภูเบศร์ นภัทรพิทยาธร
วิทยานิพนธ์/Thesis
การศึกษาเปรียบเทียบการใช้กล้ามเนื้อหลักบริเวณแกนกลางลำตัวในการเต้นลีลาศประเภทละตินอเมริกันของนักกีฬาลีลาศสมัครเล่น
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เฉลิม ชัยวัชราภรณ์ ;จิตอนงค์ ก้าวกสิกรรม
เฉลิมพล น้อยอิ่ม
วิทยานิพนธ์/Thesis
การเปลี่ยนแปลงของมุมควอดไดร์เซ็ปส์ใน 1 รอบการเดินของคนปกติ โดยใช้ภาพถ่ายวิดีทัศน์ผ่านวิดีโอบลาสเตอร์ ร่วมกับโปรแกรมโฟโต้สไตล์เลอร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
;วิไล ชินธเนศ;จิตอนงค์ ก้าวกสิกรรม
มนฤดี ยันต์ตระกูล
วิทยานิพนธ์/Thesis
Copyright 2000 - 2025 ThaiLIS Digital Collection Working Group. All rights reserved.
ThaiLIS is Thailand Library Integrated System
สนับสนุนโดย สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
328 ถ.ศรีอยุธยา แขวง ทุ่งพญาไท เขต ราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร. โทร. 02-232-4000
กำลัง ออน์ไลน์
ภายในเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 7
ภายนอกเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 2,797
รวม 2,804 คน

More info..
นอก ThaiLIS = 206,534 ครั้ง
มหาวิทยาลัยราชภัฏ = 677 ครั้ง
มหาวิทยาลัยสังกัดทบวงเดิม = 537 ครั้ง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล = 49 ครั้ง
มหาวิทยาลัยเอกชน = 43 ครั้ง
สถาบันพระบรมราชชนก = 24 ครั้ง
หน่วยงานอื่น = 4 ครั้ง
มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ = 4 ครั้ง
มหาวิทยาลัยสงฆ์ = 1 ครั้ง
รวม 207,873 ครั้ง
Database server :
Version 2.5 Last update 1-06-2018
Power By SUSE PHP MySQL IndexData Mambo Bootstrap
มีปัญหาในการใช้งานติดต่อผ่านระบบ UniNetHelp


Server : 8.199.133
Client : Not ThaiLIS Member
From IP : 216.73.216.48