แจ้งเอกสารไม่ครบถ้วน, ไม่ตรงกับชื่อเรื่อง หรือมีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับเอกสาร ติดต่อที่นี่ ==>
หากไม่มีอีเมลผู้รับให้กรอก thailis-noc@uni.net.th ติดต่อเจ้าหน้าที่เจ้าของเอกสาร กรณีเอกสารไม่ครบหรือไม่ตรง

การแสดงออกของ แอนเน็กซิน เอ-วัน และ ยูซีเอช-แอลวัน ในเนื้องอก ระบบประสาทส่วนกลางที่มีต้นกำเนิดมาจากนิวโรเอพิธีเลี่ยม
Expression of annexin a1 and uch-l1 in central nervous system neuroepithelial tumors

ThaSH: ระบบประสาทส่วนกลาง -- เนื้องอก
ThaSH: ระบบประสาท
ThaSH: เนื้องอก -- การวินิจฉัย
Abstract: ที่มาและปัญหา: ในการวินิจฉัยโรคทางพยาธิวิทยาของเนื้องอกกลุ่ม neuroepithelial tumorนั้น อาจจะเกิดปัญหาได้เนื่องจากลักษณะ histology ที่คล้ายคลึงกัน และเนื้องอกหลายชนิดที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันก็มักจะให้ผลต่อการย้อม immunohistochemistry เหมือนกัน ดังนั้นการค้นหา marker ใหม่ๆจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากในการวินิจฉัยแยกโรคของเนื้องอกในกลุ่มนี้ วัตถุประสงค์: ศึกษาการแสดงออกของโปรตีน Annexin A1 และ UCH-L1 ใน neuroeithelial tumor เพื่อพิจรณาสำหรับการนำไปใช้เป็น marker ในการช่วยวินิจฉัยแยกโรคของเนื้องอกในกลุ่มนี้ วิธีการทดลอง: ใช้เทคนิค tissue microarray และ immunohistochemistry ในการศึกษาการแสดงออกของโปรตีน Annexin A1 และ UCH-L1 ใน neuroepithelial 16 ชนิด จำนวน 223 ตัวอย่าง ผลการทดลอง: โปรตีน Annexin A1 มีการแสดงออกในเนื้องอกชนิด ependymoma ส่วนใหญ่ (92%) แต่ใน central neurocytoma (P=0.0000002) และ medulloblastoma (p<10-8) กลับไม่พบการแสดงออกของโปรตีนชนิดนี้ โปรตีน UCH-L1 มีการแสดงออกในเนื้องอกชนิด glioblastoma สูงกว่าใน pilocytic astrocytoma อย่างมีนัยสำคัญ (P=0.001) และจากการพิจารณาการแสดงออกของ Annexin A1 และ UCH-L1 ร่วมกันพบว่า โปรตีนทั้งสองชนิดมีการแสดงออกในเนื้องอกชนิด low-grade diffuse astrocytoma น้อยกว่าใน ependymoma อย่างมีนัยสำคัญ (P=0.0000009) นอกจากนี้ยังพบว่า Annexin A1 และ UCH-L1 มีการแสดงออกที่แปรผันตรงตามเกรดของ astrocytoma ที่เพิ่มสูงขึ้น สรุปผลการทดลอง: Annexin A1, UCH-L1 และ combined marker ระหว่างโปรตีนทั้งสองชนิด น่าจะเป็น marker ที่มีประโยชน์ในการช่วยวินิจฉัยแยกโรคของเนื้องอกกลุ่ม neuroepithelial tumor ได้ และการแสดงออกที่แปรผันตรงตามเกรดของ astrocytoma ที่สูงขึ้นนั้นก็อาจบ่งชี้ได้ว่าโปรตีนทั้งสองชนิดน่าจะมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาของเซลล์จาก low-grade ไปเป็น high-grade astrocytoma
Abstract: Background: Pathological diagnosis of CNS neuroepithelial tumors can be problematic due morphological similarity, and many tumors in the group also share immunohistochemical profile as they have common cellular origin. New immunohistochemical marker is needed to enhance diagnosis. Objective: To study Annexin A1 and UCH-L1 expression in CNS neuroepithelial tumors, with regard to a possible application of these markers for practical usage. Methods: Expression of Annexin A1 and UCH-L1 was evaluated in 223 various neuroepithelial tumors by immunohistochemistry using tissue microarray. Results: Annexin A1 was expressed by the majority of ependymoma (92%) but none of central neurocytoma (p = 0.0000002) and medulloblastoma (p < 10-8). UCH-L1 expression level was significantly higher in glioblastoma than in pilocytic astrocytoma (p=0.001). Absence of Annexin A1 and/or UCH-L1 was associated with low-grade astrocytoma rather than ependymoma (p = 0.0000009). Percentage of positive Annexin A1 and UCH-L1 paralleled increasing histologic grades in diffuse astrocytomas. Conclusion: Annexin A1, UCH-L1 and combined Annexin A1/UCH-L1 may be the additional markers that useful in the differential diagnosis of neuroepithelial tumors. Upregulation of Annexin A1 and UCH-L1 in increasing histologic grade of diffuse astrocytomas suggests their roles in the malignant transformation.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักงานวิทยทรัพยากร
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: cuir@car.chula.ac.th
Role: ที่ปรึกษา
Created: 2554
Modified: 2559-03-13
Issued: 2559-03-13
tha
©copyrights
RightsAccess:
ใช้เวลา
0.017975 วินาที

ชนพ ช่วงโชติ
Title Creator Type and Date Create
Copyright 2000 - 2025 ThaiLIS Digital Collection Working Group. All rights reserved.
ThaiLIS is Thailand Library Integrated System
สนับสนุนโดย สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
328 ถ.ศรีอยุธยา แขวง ทุ่งพญาไท เขต ราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร. โทร. 02-232-4000
กำลัง ออน์ไลน์
ภายในเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 0
ภายนอกเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 3,563
รวม 3,563 คน

More info..
Database server :
Version 2.5 Last update 1-06-2018
Power By SUSE PHP MySQL IndexData Mambo Bootstrap
มีปัญหาในการใช้งานติดต่อผ่านระบบ UniNetHelp


Server : 8.199.134
Client : Not ThaiLIS Member
From IP : 216.73.216.10