แจ้งเอกสารไม่ครบถ้วน, ไม่ตรงกับชื่อเรื่อง หรือมีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับเอกสาร ติดต่อที่นี่ ==>
หากไม่มีอีเมลผู้รับให้กรอก thailis-noc@uni.net.th ติดต่อเจ้าหน้าที่เจ้าของเอกสาร กรณีเอกสารไม่ครบหรือไม่ตรง

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดกระบี่
Factors affecting the performance of the Board Committee of the preschool centers under the Supervision of the sub-district administrative organizations (SAO) in Krabi province

Organization : มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, บัณฑิตศึกษา
keyword: ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ThaSH: ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก -- การบริหาร -- วิจัย
Classification :.DDC: 377.21
ThaSH: ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก -- วิจัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติงานของคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดกระบี่ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดกระบี่และเพื่อรวบรวมปัญหาและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดกระบี่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ คณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดกระบี่ 50 แห่ง จำนวน 174 คน ผู้วิจัยใช้วิธีสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบเลือกตอบ เติมคำและมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า การปฏิบัติงานของคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดกระบี่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาในรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก 4 ด้าน ระดับปานกลาง 4 ด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชนและสังคม รองลงมาคือด้านการดำเนินงานของศูนย์ ด้านแผนงานโครงการและงบประมาณ ด้านการพัฒนาคุณภาพของศูนย์ ด้านการพัฒนาเด็กเล็ก ด้านการบริหารงานบุคลากร ด้านการปฏิบัติหน้าที่อื่น และด้านการจัดตั้ง ยุบเลิก ย้ายหรือรวมศูนย์ ตามลำดับ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดกระบี่ พบว่า ปัจจัยด้านการมีจิตสาธารณะและปัจจัยด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของคณะกรรมการศูนย์สามารถร่วมกันพยากรณ์การปฏิบัติงานของคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดกระบี่ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ 0.67 ร่วมกันพยากรณ์การปฏิบัติงานของคณะกรรมการศูนย์ได้ร้อยละ 45.00 ส่วนปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการยอมรับนับถือและปัจจัยด้านความสัมพันธ์กับผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา ไม่สามารถพยากรณ์การปฏิบัติงานของคณะกรรมการศูนย์ได้ ปัญหาการปฏิบัติงานของคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดกระบี่ ได้แก่ การดำเนินงานของคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กยังไม่เป็นระบบ ไม่มีความเป็นเอกภาพ คณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขาดขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานเนื่องจากองค์การบริหารส่วนตำบลไม่ให้ความสำคัญ คณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไม่ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนในการพัฒนาศักยภาพจากองค์การบริหารส่วนตำบล บทบาทอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกำหนดดำเนินการได้เพียงบางส่วนเท่านั้น คณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไม่มีเครือข่ายกับหน่วยงานอื่นๆในการที่จะระดมทรัพยากรต่างๆมาพัฒนางานให้กับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้คณะกรรมการศูนย์ทราบยังไม่ครอบคลุมทุกด้าน ข้อเสนอแนะการปฏิบัติงานของคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลควรกระจายอำนาจให้คณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้แสดงบทบาทหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ตามระเบียบที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกำหนด องค์การบริหารส่วนตำบลต้องส่งเสริมสนับสนุนให้คณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการพัฒนาศักยภาพเพื่อประโยชน์ในการยกระดับคุณภาพให้กับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก คณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กควรมีส่วนร่วมในการสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานองค์กรภายนอกต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อระดมทรัพยากรมาพัฒนางานให้กับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้องเปิดเผยข้อมูลทุกด้านให้คณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับทราบ และคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กควรมีส่วนในการส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชนและสังคมสำหรับการเตรียมความพร้อมให้กับเด็กนักเรียนโดยเฉพาะการเรียนรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น
Abstract: The objectives of the research were to study the level of performance of the board members of the Preschool Centers, to study the factors affecting their performances, and to identify problems and propose suggestions to improve the performance of the board members of the Preschool Centers. The sample group consisted of 174 members of the board from 50 preschools in Krabi. Questionnaires with a level of reliability of 0.96 were used to collect the data. The statistics employed to analyse the collected data included frequency, means, S.D., and stepwise multiple regression analysis. The results of the study revealed that: The level of the performance of the members of the Board of the Preschool Centers was found to be high. The area of performance which was found to be the highest was collaboration with the students’ parent, and community, followed by center implementation. The areas of performance which were found to be moderate included budget, quality development, students’ development, personnel administration, and center establishment. In terms of the factors affecting the members’ performance, it was found that the member’s interest in the public goal and information perception were related to the members’ performance at the level of 0.01. These factors could predict the effective performance of the board (45%). However, the members’ personal information, being trustful, and the relationship with involved people could not predict the effective performance of the members. Problems occurring in the Centers were that the Sub- District Administrative Organizations in Krabi did not support the members in doing their jobs and provided insufficient information about the preschools. Therefore, the members could not effectively contribute to the Preschool Centers. The members of the Preschool board lacked connections with other Preschool networks, leading to limited use of shared resources. Suggestions were that the Sub- District Administrative Organizations in Krabi should provide opportunities for the board members to perform their roles more effectively. The Krabi SAO should also provide training about the preschools for all members and share the information about the centers. The members should also be encouraged to form their network with public and private organizations. The Krabi SAO should realize the roles of the board members regarding fostering relations with parents and community to bring in local resources to the Centers, especially the local wisdom.
Rajabhat Phuket University
Address: PHUKET
Email: library@pkru.ac.th
Role: ประธานกรรมการที่ปรึกษา
Created: 2557
Modified: 2558-11-23
Issued: 2558
Issued: 2558-11-23
CallNumber: TH 377.21 ว37ป
tha
Spatial: ไทย (ภาคใต้)
Spatial: กระบี่
©copyrights
RightsAccess:
ใช้เวลา
0.019407 วินาที

วิรศักดิ์ เดชทวี
Title Contributor Type
ปราโมทย์ เงียบประเสริฐ
Title Creator Type and Date Create
Copyright 2000 - 2025 ThaiLIS Digital Collection Working Group. All rights reserved.
ThaiLIS is Thailand Library Integrated System
สนับสนุนโดย สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
328 ถ.ศรีอยุธยา แขวง ทุ่งพญาไท เขต ราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร. โทร. 02-232-4000
กำลัง ออน์ไลน์
ภายในเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 0
ภายนอกเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 1,968
รวม 1,968 คน

More info..
Database server :
Version 2.5 Last update 1-06-2018
Power By SUSE PHP MySQL IndexData Mambo Bootstrap
มีปัญหาในการใช้งานติดต่อผ่านระบบ UniNetHelp


Server : 8.199.134
Client : Not ThaiLIS Member
From IP : 216.73.216.149