Management Plan of Logistics for Promoting Thai Kitchens into ASEAN Markets: A Case Study of Thailand, Lao Peoples Democratic Republic and Socialist Kingdom of Cambodia
Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการ
ที่ผลิต/จำหน่ายเครื่องปรุงอาหารไทย (2) ศึกษาทัศนคติของผู้บริโภคต่อการซื้อเครื่องปรุงอาหาร
ไทย (3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจและความภักดีของผู้บริโภคต่อการซื้อเครื่องปรุง
อาหารไทย (4) พัฒนาแผนการจัดการโลจิสติกส์เพื่อส่งเสริมครัวไทยสู่ตลาดอาเซียน ในเส้นทาง
ท่องเที่ยวไทย-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และไทย-ราชอาณาจักรกัมพูชา ผลการ
วิจัยพบว่า
1. ผู้ประกอบการที่จำหน่ายเครื่องปรุงอาหารไทยทั้ง 3 ประเทศ มีการดำเนินงาน
กิจกรรมโลจิสติกส์ ด้านการพยากรณ์อุปสงค์ ด้านการจัดซื้อ ด้านการบริหารสินค้าคงคลัง ด้าน
บรรจุภัณฑ์ ด้านการเคลื่อนย้ายสินค้า ด้านการขนส่ง ด้านการให้บริการลูกค้าและกิจกรรม
สนับสนุน และด้านโลจิสติกส์ย้อนกลับ โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการบริหารคลังสินค้า
โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับค่อนข้างมาก และด้านการติดต่อสื่อสารทางด้านโลจิสติกส์ โดยเฉลี่ยอยู่ใน
ระดับปานกลาง
2. ผู้บริโภคในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีทัศนคติต่อการซื้อเครื่องปรุง
อาหารไทยในระดับดีทุกด้าน ยกเว้นด้านคุณภาพของข้อมูลที่ผู้บริโภคมีทัศนคติอยู่ในระดับ
ค่อนข้างดี ส่วนผู้บริโภคในราชอาณาจักรกัมพูชามีทัศนคติต่อการซื้อเครื่องปรุงอาหารไทยอยู่ใน
ระดับค่อนข้างดีทุกด้าน
3. ปัจจัยด้านคุณภาพของพนักงานให้บริการ ขั้นตอนในการสั่งซื้อ คุณภาพของสินค้าที่
สั่งซื้อ การดูแลสินค้าที่ไม่ตรงกับคำสั่งซื้อ และความตรงต่อเวลา มีผลต่อความพึงพอใจของ
ผู้บริโภคในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวต่อการซื้อเครื่องปรุงอาหารไทย
ปัจจัยด้านด้านคุณภาพของพนักงานให้บริการ ขั้นตอนในการสั่งซื้อ ความถูกต้อง
ของสินค้าที่สั่งซื้อ สภาพของสินค้าที่สั่งซื้อ คุณภาพของสินค้าที่สั่งซื้อ และความตรงต่อเวลา มี
ผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคในราชอาณาจักรกัมพูชาต่อการซื้อเครื่องปรุงอาหารไทย
4. ปัจจัยด้านคุณภาพของข้อมูล ขั้นตอนในการสั่งซื้อ ความตรงต่อเวลา และความพึง
พอใจ มีผลต่อความภักดีของผู้บริโภคในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวต่อการซื้อ
เครื่องปรุงอาหารไทย
ปัจจัยด้านคุณภาพของข้อมูล ความถูกต้องของสินค้าที่สั่งซื้อ คุณภาพของสินค้าที่
สั่งซื้อการดูแลสินค้าที่ไม่ตรงกับคำสั่งซื้อ และความพึงพอใจ มีผลต่อความภักดีของผู้บริโภคใน
ราชอาณาจักรกัมพูชาต่อการซื้อเครื่องปรุงอาหารไทย
5. แผนการจัดการโลจิสติกส์เพื่อส่งเสริมครัวไทยสู่ตลาดอาเซียน ในเส้นทางท่องเที่ยว
ไทย-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และไทย-ราชอาณาจักรกัมพูชา ประกอบด้วย
5.1 แผนกิจกรรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน มีดังนี้
(1) จัดตั้งเครือข่ายในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ทั้งภายในและระหว่างประเทศ
(2) ผลักดันให้เกิดการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการขนส่งภายใต้การ
ร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชน
(3) ส่งเสริมให้มีการพัฒนาเครือข่ายการคมนาคม และสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน
ให้ได้มาตรฐาน
(4) พัฒนาขีดความสามารถด้านทักษะความรู้ และความพร้อมในการจัดการ
โลจิสติกส์ให้กับผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง
5.2 แผนกิจกรรมส่งเสริมการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ มีดังนี้
(1) ส่งเสริมการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเชื่อมโยงทั้งระบบ
เพื่อการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ และเพิ่มขีดความสามารถของการจัดการโลจิสติกส์
(2) ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมเว็บไซต์ของสินค้าแต่ละชนิดให้ผู้บริโภคและคู่ค้า
ที่เกี่ยวข้องรับทราบ
(3) สนับสนุนการใช้ระบบการแสดงถึงสถานภาพสินค้าระหว่างทาง และระบบ
ติดตามสินค้าแบบกำหนดตำแหน่งผ่านระบบดาวเทียม
(4) ส่งเสริมให้มีการพัฒนาระบบ E-Logistics ร่วมกับภาครัฐ เพื่อส่งเสริมและ
ลดขั้นตอนการค้าระหว่างประเทศโดยใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์
5.3 แผนกิจกรรมส่งเสริมการกระจายผลิตภัณฑ์ มีดังนี้
(1) ผลักดันให้เกิดศูนย์กระจายสินค้าในจังหวัดที่มีจุดผ่านแดนระหว่างประเทศ
ไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และราชอาณาจักรกัมพูชา
(2) ส่งเสริมมีการพัฒนาฉลากของบรรจุภัณฑ์ให้มีคำแนะนำเป็นภาษาพื้นเมือง
หรือภาษาอังกฤษ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารกับผู้บริโภค
(3) ส่งเสริมการสร้างภาพลักษณ์ของตราสินค้าภายใต้ Made in Thailand
ผ่านการประชาสัมพันธ์ทางรายการโทรทัศน์
The objectives of this research were (1) to study the logistics management of the
entrepreneurs who manufacture/sell Thai condiments (2) to examine consumers attitudes
towards the purchase of Thai condiments (3) to examine the factors influencing consumers
satisfaction and loyalty towards the purchase of Thai condiments and (4) to develop the
logistics management plan for promoting Thai kitchens into ASEAN markets along the
tourism route between Thailand and Lao Peoples Democratic Republic and between
Thailand and Socialist Kingdom of Cambodia. The research findings were shown as
follows:
1. The logistics performance of the entrepreneurs who sell Thai condiments in
these three countries were as follows: (1) the performances of demand forecasting,
purchasing, inventory management, packaging, material handling, transportation, service
and support and reverse logistics were rated as high (2) the performance of warehousing
and storage was rated as slightly high (3) the performance of logistics communication
was rated as medium.
2. The Laotian consumers attitudes towards the logistic service quality regarding
the purchase of Thai condiments were high in all aspects besides information quality which
was viewed as slightly high. The Cambodian consumers attitudes towards the logistic
service quality regarding the purchase of Thai condiments were slightly high in all aspects.
3. Personnel contact quality, ordering procedures, order quality, order discrepancy
handling and timeliness influenced Laotian consumers satisfaction towards the purchase
of Thai condiments.
Personnel contact quality, ordering procedures, order accuracy, order condition,
order quality and timeliness influenced Cambodian consumers satisfaction towards the
purchase of Thai condiments.
4. Information quality, ordering procedures, timeliness and satisfaction influenced
Laotian consumers loyalty towards the purchase of Thai condiments.
Information quality, order accuracy, order quality, order discrepancy handling
and satisfaction influenced Cambodian consumers loyalty towards the purchase of Thai
condiments.
5. The logistics management plan for promoting Thai kitchen into ASEAN markets
along the route between Thailand, Lao Peoples Democratic Republic and Socialist Kingdom
of Cambodia consisted of the following action plans:
5.1 Action plans for promoting the participation from all concerned sectors
(1) Establish the network to develop the logistics system both locally and
internationally.
(2) Enhance the facilitation for trade and transportation under the
collaboration between governmental and private sectors.
(3) Promote the development of transportation network and infrastructure
up to the standard level.
(4) Improve the knowledge and management competency of logistics for
the concerned entrepreneurs.
5.2 Action plans for promoting the utilization of management information system
(1) Promote the utilization of management information system to connect
the whole system for international trade and elevate the competency of logistics management.
(2) Communicate and promote the companys website to consumers and
concerned partners.
(3) Support the application of Transportation Management System and
Global Positioning System (GPS).
(4) Develop the E-Logistics system under the cooperation of governmental
sector to promote and lessen the international trade procedure by using the electronic
system
5.3 Action plans for promoting the distribution of products
(1) Develop the distribution centers in the border provinces between
Thailand and Lao Peoples Democratic Republic and Socialist Kingdom of Cambodia
(2) Promote the development of packaging with the instruction in local
and English languages to elevate the communication efficiency.
(3) Promote the building of brand image under the slogan of Made in
Thailand through the television promotion.