แจ้งเอกสารไม่ครบถ้วน, ไม่ตรงกับชื่อเรื่อง หรือมีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับเอกสาร ติดต่อที่นี่ ==>
หากไม่มีอีเมลผู้รับให้กรอก thailis-noc@uni.net.th ติดต่อเจ้าหน้าที่เจ้าของเอกสาร กรณีเอกสารไม่ครบหรือไม่ตรง

พัฒนาการสุญญตา(ความว่าง) ในพุทธศาสนา

keyword: พุทธศาสนา
Abstract: บทคัดย่อ วัตถุประสงค์ของสารนิพนธ์นี้ เพื่อศึกษาความหมายและพัฒนาการของสุญญตา (ความว่าง)ในพุทธศาสนายุคต้น นิกายสารวาสติวาท และนิกายมาธยามิกะ ผลการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่า คำสอนเรื่องสุญญตามีปรากฏในพุทธศาสนายุคต้น ความหมายของสุญญตาพบได้ในจุฬสุญญตาสูตร และ มหาสุญญตาสูตรในมัชฌิมนิกายในสามบริบท คือ สุญญตวิหาร (การเป็นอยู่ด้วยความว่าง) อนัตตา (ว่างจากตัวตน) และ ความรู้ตัวปล่อยวางบริบททั้งสามนี้ นำไปสู่ความไม่มีตัวตนและความว่างจากตัวตน หรือปุคคลสุญญตา พูดอีกนัยหนึ่ง ปุคคลสุญญตาตรงกับคำสอนเรื่องอนัตตา หรือความไม่มีตัวตน ในพุทธศาสนายุคต้น นิกายสารวาสติวาทเป็นสำนักที่มีหลักการคำสอนเรื่อง “ทุกสิ่งทุกอย่างดำรงอยู่”เพื่อว่าจะสามารถอธิบายและเข้าใจถึงหลักคำสอนเรื่องกรรมและการเกิดใหม่ได้กระจ่างขึ้น หลักคำสอนนี้ไม่ได้ยอมรับเพียงแต่การดำรงอยู่ของสิ่งต่างๆในช่วง ๓ กาลเวลา คือ อดีต ปัจจุบันและอนาคต แต่ยังเน้นย้ำคำสอนเรื่องความไม่มีตัวตนหรืออาตมัน โดยปฏิเสธความมีตัวตนของบุคคล นั่นก็หมายถึงปุคคลสุญญตา นิกายมาธยะมิกะ ความตั้งใจของสำนักนี้ ดูเหมือนว่าจะต้องการปฏิเสธแนวความคิดของนิกายสารวาสติวาทในเรื่อง เรื่อง “ทุกสิ่งทุกอย่างดำรงอยู่” สำนักมาธยะมิกะไม่เพียงแต่จะสอนความไม่มีตัวตนของบุคคล (ปุคคลสุญญตา) แต่ยังสอนความไม่มีสาระแก่นสารและความว่างของสภาวธรรมทั้งหลาย (สภาวะธรรมสุญญตา)ด้วยการปฏิเสธแนวความคิดที่เป็นไปได้ทุกอย่าง บนหลักการในการปฏิเสธ ๘ ประการ แต่การปฏิเสธน่าจะมีมากกว่านั้นอย่างไม่มีข้อจำกัด สุญญตา (ความว่างในนิกายมาธยะมิกะได้พัฒนามาจากหลักปฏิจจสมุปบาทในพุทธศาสนายุคต้น ด้วยการตระหนักรู้ถึงความจริง ๒ ประการ กล่าวคือความจริงโดยสมมติ และความจริงแท้โดยปรมัต, ดังนั้น สุญญตา (ความว่าง) จึงกล่าวได้ว่าเป็นทางสายกลาง
Abstract: Abstract The aim of this thematic paper is to studythe concept of Śūnyatā (emptiness) and its development in Early Buddhism, Sarvāstivāda and Mādhayamika. The result of study has shown that the teaching of Śūnyatā (Emptiness)exists in early Buddhism.The concept of Śūnyatā (Pali :Suññatā)is found in Cūḷa-SuññatāSutta and Mahā-SuññatāSuttaof Majjhima-Nikāyain three contexts asSuññata-vihāra (the abiding in Voidness), anattā (the lack of self) and awareness-release.And all the three contexts lead to the non-existence of self or the emptiness of self or Pudgala-Śūnyatā. In other words, Pudgala-Śūnyatā is relevant to the teaching of ‘anattā’ or ‘not-self’ in Early Buddhism. For Sarvāstivāda, the schoolstood for the principle of “sarvamasti,” i.e., “All exists,” so that the concept of karma and rebirth could be more clearly explained and understood. Its doctrine did not thereby profess merely the real existence of things in the three phases of time, ie. past, present and future, but rather insisted quite vigorously the non-existence of the self or àtman by denying individuality, thus referring to Pudgala-Śūnyatā. ForMādhayamika, the school, its intentionseeming to refute the Sarvāstivādin’ concept of ‘All exists’, taught not only the egolessness of the individual (Pudgala-Śūnyatā) but also the unsubstantiality and emptiness of all phenomena (sarvadharmaśūnyatā) by eightfold negation, but rather infinite negations of every possible concept.Mādhayamika’sŚūnyatā(emptiness) has been developed from the Theory of Dependent Origination (paticcasamuppāda)in Early Buddhism through the realization of the Two Truths, ie. Conventional Truth and Absolute Truth, Śūnyatā (emptiness) is thus regarded as the “Middle Way”.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. สำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: library@mcu.ac.th
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Issued: 2556-10-11
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
tha
©copyrights มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
RightsAccess:
ใช้เวลา
0.012847 วินาที

พระปรียงค์ เมธิโน (อาภรณ์สุวรรณ)
Title Contributor Type
พัฒนาการสุญญตา(ความว่าง) ในพุทธศาสนา
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระปรียงค์ เมธิโน (อาภรณ์สุวรรณ)
ดร.พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร (พรรณา)
วิทยานิพนธ์/Thesis
การประยุกต์ใช้ความว่าง (สุญญตา) ในชีวิตประจำวัน
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระปรียงค์ เมธิโน (อาภรณ์สุวรรณ)
อาจารย์ ดร.ทรงวิทย์ แก้วศรี ป.ธ.๗,พ.ม., พธ.บ., ศศ.บ.,M.Lib. Sc., PGDLS, พธ.ด.(พระพุทธศาสนา)
วิทยานิพนธ์/Thesis
ดร.พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร (พรรณา)
Title Creator Type and Date Create
พัฒนาการสุญญตา(ความว่าง) ในพุทธศาสนา
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ดร.พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร (พรรณา)
พระปรียงค์ เมธิโน (อาภรณ์สุวรรณ)
วิทยานิพนธ์/Thesis
Copyright 2000 - 2025 ThaiLIS Digital Collection Working Group. All rights reserved.
ThaiLIS is Thailand Library Integrated System
สนับสนุนโดย สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
328 ถ.ศรีอยุธยา แขวง ทุ่งพญาไท เขต ราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร. โทร. 02-232-4000
กำลัง ออน์ไลน์
ภายในเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 3
ภายนอกเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 2,422
รวม 2,425 คน

More info..
นอก ThaiLIS = 2,080 ครั้ง
มหาวิทยาลัยสังกัดทบวงเดิม = 1 ครั้ง
มหาวิทยาลัยราชภัฏ = 1 ครั้ง
รวม 2,082 ครั้ง
Database server :
Version 2.5 Last update 1-06-2018
Power By SUSE PHP MySQL IndexData Mambo Bootstrap
มีปัญหาในการใช้งานติดต่อผ่านระบบ UniNetHelp


Server : 8.199.133
Client : Not ThaiLIS Member
From IP : 216.73.216.48